เมนู

สัมมาวาจา (วาจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ) สัมมาอาชีวะ
(เลี้ยงชีพชอบ) สัมมาวายามะ (เพียรชอบ) สัมมาสติ (สติชอบ) สัมมาสมาธิ
(สมาธิชอบ) นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.
คำที่เรากล่าวว่า ธรรมที่เราแสดง ฯลฯ ไม่ค้าน คือ อริยสัจ 4
ดังนี้นี่ เราอาศัยความจริง อย่างมีทุกข์เป็นต้นนี้แลกล่าว.
จบติตถสูตรที่ 1

อรรถกถามหาวรรคที่ 2



อรรถกถาติตถายตนสูตร

*

พึงทราบวินิจฉัยในติตถายตนสูตรที่ 1 แห่งมหาวรรคที่2 ดังต่อไปนี้ :-

ผู้ได้ชื่อว่าเป็นเดียรถีย์



บ่อเกิด (อายตนะ) ที่เป็นเหมือนติตถะ (ท่า) หรือ บ่อเกิดของ
เดียรถีย์ทั้งหลาย ชื่อว่า ติตถายตนะ แปลว่า ลัทธิเดียรถีย์.
ในบทว่า ติตฺถายตนานิ นั้น นักศึกษาควรรู้จักติตถะ ควรรู้จัก
ติตถกร (เจ้าลัทธิ) ควรรู้จักเดียรถีย์ (และ) ควรรู้จักสาวกของเดียรถีย์ (ก่อน).
ทิฏฐิ 62 ชื่อว่า ติตถะ (ลัทธิ). บุคคลผู้ให้เกิดทิฏฐิ 62 เหล่านั้น
ชื่อว่า ติตถกร. บุคคลผู้พอใจ ชอบใจ ทิฏฐิ 62 เหล่านั้น ชื่อว่า เดียรถีย์
บุคคลผู้ถวายปัจจัยแก่เดียรถีย์เหล่านั้น ชื่อว่า สาวกของเดียรถีย์.
* พระสูตรเป็น ติตถสูตร

อธิบายศัพท์ว่า อายตนะ


บทว่า อายตนํ ความว่า ถิ่นเกิดชื่อว่า อายตนะ (ดุจดัง) ใน
ประโยคนี้ว่า แคว้นกัมโพชะเป็นถิ่นเกิดของม้าทั้งหลาย ทักขิณาปถชนบท
เป็นถิ่นเกิดของโคทั้งหลาย.
สถานที่สโมสร ชื่อว่า อายตนะ เช่น ในประโยคนี้ว่า
ในอายตนะ (สโมสร) ที่น่าเริงใจ
นกทั้งหลาย ย่อมใช่อายตนะนั้น ฝูงนก
ที่ต้องการร่มเงา ก็พากันไป ฝูงนกที่
ต้องการผลไม้ก็กินผลไม้.

เหตุ ชื่อว่า อายตนะ (เช่น) ในประโยคนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
วิมุตตายตนะ
(เหตุแห่งวิมุตติ) 5 ประการเหล่านี้.
อายตนะทั้งหมดนั้น (มีความหมาย) ใช้ได้ในที่นี้. เพราะว่า มิจฉา-
ทิฏฐิกบุคคลทั้งหมด เมื่อเกิดก็เกิดในฐานะ 3 นี้เท่านั้น แม้เมื่อรวมลง ย่อม
รวมลง คือ ประชุมลง ตกลงในฐานะ 3 นี้เช่นกัน. ก็เมื่อบุคคลเหล่านั้น
เป็นมิจฉาทิฏฐิ เหตุทั้ง 3 เหล่านี้นั่นแล ชื่อว่า อายตนะ เพราะความหมาย
มีอาทิว่า เป็นเสมือนท่าน้ำ คือเป็นถิ่นที่เกิดขึ้น (แห่งลัทธิทั้งหลาย) แม้
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ติตถายตนะ. อนึ่ง ชื่อว่า ติตถายตนะ เพราะ
อรรถว่าเป็นบ่อเกิดของเดียรถีย์ทั้งหลาย ด้วยความหมายนั้นนั่นแล.
บทว่า สมนุยุญฺชิยมานานิ ได้แก่ ถูกบัณฑิตถามอย่างนี้ว่า ทิฏฐิ
เหล่านั้นคืออะไร. บทว่า สมนุคฺคาหิยมานานิ ความว่า ถูกถามด้วยดี