เมนู

บทว่า ยถา ในคำว่า ยถา ตํ นี้ เป็นอุปมา. บทว่า ตํ เป็นเพียง
นิบาต. ชื่อว่าไม่ประมาทแล้ว เพราะไม่ขาดสติ. ชื่อว่า มีความเพียร เพราะ
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส. ชื่อว่า มีตนอันส่งไปแล้ว เพราะไม่อาลัยใยดีใน
ร่างกายและชีวิต. ท่านอธิบายไว้ดังนี้ ผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งใจไปแล้ว
อยู่ อวิชชา จะจางหายไป วิชชา จะเกิดขึ้น ความมืดจะจางหายไป ความ
สว่างจะพึงเกิดขึ้น ฉันใด อวิชชาก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นอันพราหมณ์นี้
ขจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดเป็นอันถูกขจัดแล้ว ความสว่างเกิดขึ้น
แล้ว. พราหมณ์นั้นจึงได้รับผลอันสมควรแก่การประกอบความเพียรนั้นแล้ว
ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาพรรณนาปุพเพนิวาสานุสติญาณ

กถาพรรณนาจุตูปปาตญาณ



พึงทราบวินิจฉัยในกถาพรรณนาจุตูปปาตญาณ ดังต่อไปนี้
วิชชาคือ ทิพจักขุญาณ ชื่อว่า วิชชา. ความไม่รู้ที่ปกปิดจุติและ
ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า อวิชชา. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวมาแล้ว
นั่นแล.
จบกถาพรรณนาจุตูปปาตญาณ

กถาพรรณนาอาสวักขญาณ



พึงทราบวินิจฉัยในวิชชาที่ 3 ดังต่อไปนี้
ในบทว่า โส เอวํ สมาหิเต จิตฺเต พึงทราบว่า ได้แก่จตุตถ-
ฌานจิต อันเป็นบาทแห่งวิปัสสนา. บทว่า อาสวานํ ขยญาณาย ความว่า
เพื่อประโยชน์แก่อรหัตมัคคญาณ เพราะอรหัตมรรค ท่านเรียกว่า ชื่อว่า
ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะยังอาสวะทั้งหลายให้พินาศ. และ

อรหัตมัคคญาณ ในบทว่า อาสวานํ ขยญาณาย นั้นเรียกว่า ชื่อว่า ญาณ
เพราะนับเนื่องในพระอรหัตมรรคนั้น. บทว่า จิตฺตํ อภินินฺนาเมติ ความว่า
น้อมจิตไปในวิปัสสนา. ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า โส อิทํ ทุกขํ พึงทราบความ
อย่างนี้ว่า เขาย่อมรู้ คือ ย่อมแทงตลอดทุกขสัจแม้ทั้งหมด ตามเป็นจริง
โดยการแทงตลอดลักษณะพร้อมด้วยกิจ ว่า ทุกข์มีเพียงเท่านี้ ไม่มากไปกว่านี้
และรู้คือแทงตลอดตัณหา. อันให้เกิดทุกข์นั้น ว่า นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์นั้น
ตามความเป็นจริง โดยการแทงตลอดลักษณะพร้อมทั้งกิจ รู้คือแทงตลอด
สถานที่ใดถึงแล้ว ทุกข์และสมุทัยทั้งสองนั้นดับไปที่นั้น คือ นิพพานที่ทุกข์และ
สมุทัยทั้งสองนั้นไม่เป็นไปตามความจริง โดยการแทงตลอดลักษณะพร้อมทั้ง
กิจ ว่า นี้เป็นความดับทุกข์ และรู้คือแทงตลอดอริยมรรค ที่ให้ถึงนิพพานนั้น
ตามความจริง โดยการแทงตลอดลักษณะพร้อมทั้งกิจว่า นี้เป็นข้อปฏิบัติให้
ถึงความดับทุกข์.
จบอรรถกถาพรรณนาอาสวักขยญาณ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสัจจะทั้งหลายโดยสรุปอย่างนี้แล้ว
ต่อนี้ เมื่อจะทรงแสดงสัจจะทั้งหลายโดยอ้อม ด้วยสามารถแห่งกิเลส จึงตรัส
คำมีอาทิว่า อิเม อาสวา ดังนี้.
บทว่า ตสฺส เอวํ ชานโต เอวํ ปสฺสโต ความว่า ของภิกษุ
นั้นผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมรรคอันถึงที่สุด พร้อมด้วย
วิปัสสนาไว้ (ในที่นี้). บทว่า กามาสวา แปลว่า จากกามาสวะ. ด้วย
บทว่า จิตฺตํ วิมุจฺจติ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงถึงมัคคขณะ (ขณะจิต
ที่สัมปยุตด้วยมรรค) อธิบายว่า ในขณะแห่งมรรคจิต จิตกำลังหลุดพ้น. ใน
ขณะแห่งจิตผล จิตเป็นอันหลุดพ้นแล้ว. ด้วยบทว่า วิมตตสมึ วิมตตมิติ

ญาณํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงปัจจเวกขณญาณ. ด้วยคำทั้งหลาย
มีอาทิว่า ขีณา ชาติ ทรงแสดงภูมิของพระขีณาสพนั้น. เพราะว่า พระ-
ขีณาสพนั้น เมื่อพิจารณาด้วยญาณนั้น ย่อมทราบข้อความเป็นต้นว่า ชาติ
สิ้นแล้วดังนี้.
ถามว่า ก็ชาติชนิดไหนของพระขีณาสพนั้นสิ้นไปแล้ว และท่านจะรู้
ว่า ชาตินั้นสิ้นไปได้อย่างไร.
ตอบว่า ก่อนอื่นอดีตชาติของท่านไม่ได้สิ้นไปแล้ว เพราะอดีตชาติ
นั้นสิ้นไปก่อนแล้ว ชาติอนาคตก็ไม่สิ้น เพราะไม่มีการพยายามในอนาคต.
ชาติปัจจุบันก็ยังไม่สิ้น เพราะชาติปัจจุบันนั้นยังมีอยู่ แต่ชาติใดที่แยกประเภท
เป็นขันธ์ 1 ขันธ์ 4 และขันธ์ 5 จะพึงเกิดขึ้น ในเอกโวการภพ จตุโวการภพ
และปัญจโวการภพ เพราะไม่ได้อบรมมรรค ชาตินั้นชื่อว่า สิ้นไปแล้ว โดย
การถึงความไม่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา เพราะได้อบรมมรรคแล้ว. ท่านครั้น
พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว ด้วยมัคคภาวนา เมื่อรู้ว่า กรรมถึงจะมีอยู่ ก็ไม่
แต่งปฏิสนธิต่อไป เพราะไม่มีกิเลสดังนี้ ชื่อว่า รู้ชาตินั้น.
บทว่า วุสิตํ ได้แก่อยู่จบแล้ว คืออยู่เสร็จสิ้นแล้ว อธิบายว่า ทำ
สำเร็จเสร็จสิ้นไปแล้ว. บทว่า พฺรหฺมจริยํ ได้แก่ มัคคพรหมจรรย์ พระเสขะ
7 จำพวก พร้อมด้วยกัลยา ปุถุชนทั้งหลาย ชื่อว่า ยังประพฤติพรหมจรรย์อยู่
(ส่วน) พระขีณาสพ ชื่อว่า อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว เพราะฉะนั้น ท่านเมื่อ
พิจารณาการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ของตน ย่อมรู้ชัดว่า พรหมจรรย์เราอยู่
จบแล้ว. บทว่า กตํ กรณียํ มีอธิบายว่า กิจทั้ง 16 อย่าง ด้วยสามารถ
แห่งการบรรลุ โดยปริญญากิจ ปหานกิจ สัจฉิกิริยากิจ และภาวนากิจ
ด้วยมรรคทั้ง 4 ในสัจจะทั้ง 4 อันท่านให้สำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว. เพราะว่า
กัลยาณปุถุชนเป็นต้น กำลังกระทำกิจนั้นอยู่ ส่วนพระขีณาสพกระทำกิจเสร็จ

แล้ว เพราะฉะนั้น ท่านเมื่อพิจารณากิจที่ตนจะต้องทำ ย่อมรู้ชัดว่า กิจที่
ควรทำเราทำเสร็จแล้ว. บทว่า นาปรํ อิตฺถตฺตาย ความว่า ท่านย่อมรู้
ชัดว่า กิจคือการบำเพ็ญมรรค เพื่อความเป็นอย่างนี้อีก คือเพื่อความเป็นกิจ
16 อย่าง หรือเพื่อความสิ้นกิเลสอย่างนี้ ไม่มีแก่เรา.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อิตฺถตฺตาย ความว่า รู้ชัดว่า การสืบต่อ
แห่งขันธ์ อื่นจากความเป็นอย่างนี้ คือจากการสืบต่อแห่งขันธ์ ที่มีอยู่ใน
ปัจจุบันมีประการอย่างนี้ นี้ไม่มีแก่เรา เบญจขันธ์เหล่านี้ ที่เรากำหนดรู้แล้ว
ยังดำรงอยู่ (แต่เป็น) เหมือนต้นไม้ที่มีรากขาดแล้ว เบญจขันธ์เหล่านั้น
จักดับไปเพราะวิญญาณดวงสุดท้ายดับ เหมือนเปลวไฟที่หมดเชื้อแล้วดับไป
ฉะนั้น. วิชชา คือ อรหัตมัคคญาณ ชื่อว่า วิชชาในที่นี้. อวิชชา ที่
ปิดบังอริยสัจ 4 ไว้ ชื่อว่า อวิชชา. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว.
บทว่า อนุจฺจาวจสีลสฺสํ ความว่า ผู้ที่มีศีล บางเวลาเสื่อม บาง
เวลาเจริญ ชื่อว่า มีศีลลุ่ม ๆ ดอน ๆ. ส่วนพระขีณาสพมีศีลเจริญ โดย
ส่วนเดียวเท่านั้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงชื่อว่า มีศีลไม่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ บทว่า
วสีภูตํ ได้แก่ ถึงความชำนาญ. บทว่า สุสมาหิตํ ได้แก่ตั้งไว้ด้วยดี คือ
ตั้งไว้ดีแล้วในอารมณ์. บทว่า ธีรํ ได้แก่ ผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาที่จำทรง.
บทว่า มจฺจุหายินํ ได้แก่ละทิ้งมัจจุราชแล้วดำรงอยู่. บทว่า สพฺพปฺปหายินํ
ได้แก่ ละบาปธรรมทั้งหมดแล้วดำรงอยู่. บทว่า พุทฺธํ ได้แก่ ตรัสรู้สัจจะ
ทั้ง 4. บทว่า อนฺติมเทหธารํ ความว่า ทรงไว้ซึ่งร่างกายครั้งหลังสุด.
บทว่า ตํ นมสฺสนติ โคตมํ ความว่า สาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
นมัสการพระองค์ผู้โคตมโคตร. อีกอย่างหนึ่ง มีอธิบายว่า แม้สาวกของ
พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า โคตมะ ก็ชื่อว่า โคตมะ เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย นมัสการสาวกผู้ชื่อว่า โคตมะนั้น.

บทว่า ปุพฺเพนิวาสํ ได้แก่ ขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนสืบต่อกันมา
บทว่า โยเวติ ความว่า ผู้ใดไม่เสื่อม คือไม่ตกต่ำ. ปาฐะว่า โยเวทิ ดังนี้
ก็มี อธิบายว่า ผู้ใดได้รู้แล้ว คือทำสิ่งที่รู้แล้วให้ปรากฏดำรงอยู่ บทว่า
สคฺคาปายญฺจ ปสฺสติ ความว่า ผู้นั้นเห็นสวรรค์ชั้นกามาวจร 6 ชั้น
พรหมโลก 9 ชั้น และอบายทั้ง 4. บทว่า ชาติกฺขยํ ปตฺโต ความว่า
บรรลุอรหัตผล. บทว่า อภิญฺญาโวสิโต ความว่า อยู่ด้วยการสิ้นสุดกิจ
เพราะรู้. มุนี คือพระขีณาสพ ผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้รู้ ชื่อว่า มุนี.
บทว่า เอตาหิ ความว่า ด้วยญาณทั้งหลาย มีปุพเพนิวาสานุสติญาณเป็นต้น
ที่ทรงแสดงไว้แล้ว ในหนหลัง. บทว่า นาญฺญํ ลปิตลาปนํ ความว่า
แต่เราตถาคตไม่เรียกคนอื่น ที่เรียกเอาอย่าง ที่คนอื่นเรียกว่า เตวิชฺโช (ผู้มี
วิชชา 3) ว่าเป็น เตวิชฺโช. อธิบายว่า เราตถาคตเรียกผู้รู้ โดยประจักษ์
แก่ตนแล้วบอกวิชชา 3 แก่ผู้อื่นด้วย ว่าเป็นผู้มีวิชชา 3. บทว่า กลํ แปลว่า
ส่วน. บทว่า นาคฺฆติ แปลว่า ไม่ถึง. บัดนี้ พราหมณ์เลื่อมใสพระพุทธพจน์
แล้ว เมื่อจะแสดงอาการของผู้เลื่อมใส จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า อภิกฺกนฺตํ
ดังนี้.
จบอรรถกถาติกัณณสูตรที่ 8.

9. ชานุสโสณีสูตร



ว่าด้วยวิชชา 3 ของพราหมณ์และพุทธะ



[499] ครั้งนั้นแล ชานุสโสณีพราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ผู้ใดมียัญสิ่งที่พึงให้ด้วยศรัทธา อาหารที่จะพึงให้แก่คนอื่น หรือไทยธรรม
ผู้นั้นควรให้ทานในพราหมณ์ผู้ได้วิชชา 3 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า
ดูก่อนพราหมณ์ ก็พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติพราหมณ์ว่าได้วิชชา 3 อย่างไร.
ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พราหมณ์ในโลกนี้ เป็นอุภโตสุชาต
ทั้งข้างฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิ สะอาดดีตลอด 7
ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านติเตียนได้ด้วยอ้างถึงชาติ เป็นผู้เล่าเรียน
ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุ คัมภีร์เกฏุภะ พร้อมทั้ง
ประเภทอักษรมีคัมภีร์อิติหาสเป็นที่ 5 เป็นผู้เข้าใจตัวบท เป็นผู้เข้าใจไวยากรณ์
ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะและตำราทำนายมหาปุริสลักษณะ ข้าแต่พระโคดม-
ผู้เจริญ ก็พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติพราหมณ์ว่าได้วิชชา 3 อย่างนี้แล.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติพราหมณ์ว่าได้
วิชชา 3 อย่างหนึ่ง ก็แหละผู้ได้วิชชา 3 ในอริยวินัยเป็นอย่างหนึ่ง.
ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ผู้ได้วิชชา 3 ในอริยวินัย ย่อมมี
อย่างไร ขอประทานพระวโรกาส ขอพระองค์โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้า
พระองค์ตามที่ผู้ได้วิชชา 3 มีในอริยวินัย.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ ถ้ากระนั้นจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ชานุสโสณีพราหมณ์ทูลรับพนระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้