เมนู

บทว่า ยถา ในคำว่า ยถา ตํ นี้ เป็นอุปมา. บทว่า ตํ เป็นเพียง
นิบาต. ชื่อว่าไม่ประมาทแล้ว เพราะไม่ขาดสติ. ชื่อว่า มีความเพียร เพราะ
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส. ชื่อว่า มีตนอันส่งไปแล้ว เพราะไม่อาลัยใยดีใน
ร่างกายและชีวิต. ท่านอธิบายไว้ดังนี้ ผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งใจไปแล้ว
อยู่ อวิชชา จะจางหายไป วิชชา จะเกิดขึ้น ความมืดจะจางหายไป ความ
สว่างจะพึงเกิดขึ้น ฉันใด อวิชชาก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นอันพราหมณ์นี้
ขจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดเป็นอันถูกขจัดแล้ว ความสว่างเกิดขึ้น
แล้ว. พราหมณ์นั้นจึงได้รับผลอันสมควรแก่การประกอบความเพียรนั้นแล้ว
ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาพรรณนาปุพเพนิวาสานุสติญาณ

กถาพรรณนาจุตูปปาตญาณ



พึงทราบวินิจฉัยในกถาพรรณนาจุตูปปาตญาณ ดังต่อไปนี้
วิชชาคือ ทิพจักขุญาณ ชื่อว่า วิชชา. ความไม่รู้ที่ปกปิดจุติและ
ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า อวิชชา. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวมาแล้ว
นั่นแล.
จบกถาพรรณนาจุตูปปาตญาณ

กถาพรรณนาอาสวักขญาณ



พึงทราบวินิจฉัยในวิชชาที่ 3 ดังต่อไปนี้
ในบทว่า โส เอวํ สมาหิเต จิตฺเต พึงทราบว่า ได้แก่จตุตถ-
ฌานจิต อันเป็นบาทแห่งวิปัสสนา. บทว่า อาสวานํ ขยญาณาย ความว่า
เพื่อประโยชน์แก่อรหัตมัคคญาณ เพราะอรหัตมรรค ท่านเรียกว่า ชื่อว่า
ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะยังอาสวะทั้งหลายให้พินาศ. และ