เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นพราหมณ์นั้นทูลอาราธนาอยู่ ทรงรู้ว่า
บัดนี้ เป็นเวลาสมควรที่เราจะกล่าวแก้ปัญหาของพราหมณ์นั้น จึงตรัสคำนี้ว่า
เตนหิ ดังนี้. บทว่า เตนหิ นั้น มีความหมายว่า เพราะเหตุที่ท่านขอร้อง
เราไว้ ฉะนั้น ท่านจงฟัง. บทว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ เป็นต้น ได้อธิบายไว้
อย่างพิสดารในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้วทีเดียว. แต่ในที่นี้ คำว่า วิวิจฺเจว
กาเมหิ
เป็นต้นนี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว เพื่อทรง
แสดงถึงข้อปฏิบัติที่เป็นบุพภาคของวิชชาทั้ง 2. บรรดาวิชชาทั้ง 3 นั้น การ
พรรณนาวิชชาทั้ง 2 ไปตามลำดับบทก็ดี นัยแห่งการเจริญวิชชาทั้ง 2 ก็ดี
ได้ให้พิสดารแล้ว ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเหมือนกัน.

กถาพรรณนาปุพเพนิวาสานุสติญาณ



บทว่า ปฐมา วิชฺชา ความว่า วิชชา ชื่อว่า ปฐมา เพราะเกิดขึ้น
ครั้งแรก. ที่ชื่อว่า วิชชา เพราะอรรถว่า กระทำให้แจ่มแจ้งแล้ว. ถามว่า
กระทำอะไรให้แจ่มแจ้ง. ตอบว่า กระทำขันธ์ที่เคยอาศัยในชาติก่อนให้
แจ่มแจ้ง. โมหะที่ปิดบังปุพเพนิวาสานุสติญาณนั้น เพราะความหมายว่า
ทำปุพเพนิวาสานุสติญาณนั้นนั่นแหละไม่ให้แจ่มชัด ตรัสเรียกว่า อวิชชา.
บทว่า ตโม ความว่า โมหะนั้นแล เรียกว่า ตมะ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุ
ปกปิด. บทว่า อาโลโก ความว่า วิชชานั่นแหละตรัสเรียกว่า อาโลกะ
เพราะหมายความว่า ทำความสว่างไสว. ก็ในพระสูตรนี้มุ่งความว่า ได้บรรลุ
วิชชา 3 แล้ว. คำที่เหลือ เป็นคำกล่าวสรรเสริญ. ก็ในข้อนี้ ประกอบความว่า
เธอได้บรรลุวิชชานี้แล้ว ลำดับนั้น อวิชชาก็เป็นอันเธอผู้บรรลุวิชชาแล้ว
กำจัดแล้ว อธิบายว่า ให้พินาศแล้ว. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะ
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว. ในบททั้ง 2 แม้นอกนี้ ก็มีนัยอย่างนี้แหละ.

บทว่า ยถา ในคำว่า ยถา ตํ นี้ เป็นอุปมา. บทว่า ตํ เป็นเพียง
นิบาต. ชื่อว่าไม่ประมาทแล้ว เพราะไม่ขาดสติ. ชื่อว่า มีความเพียร เพราะ
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส. ชื่อว่า มีตนอันส่งไปแล้ว เพราะไม่อาลัยใยดีใน
ร่างกายและชีวิต. ท่านอธิบายไว้ดังนี้ ผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งใจไปแล้ว
อยู่ อวิชชา จะจางหายไป วิชชา จะเกิดขึ้น ความมืดจะจางหายไป ความ
สว่างจะพึงเกิดขึ้น ฉันใด อวิชชาก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นอันพราหมณ์นี้
ขจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดเป็นอันถูกขจัดแล้ว ความสว่างเกิดขึ้น
แล้ว. พราหมณ์นั้นจึงได้รับผลอันสมควรแก่การประกอบความเพียรนั้นแล้ว
ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาพรรณนาปุพเพนิวาสานุสติญาณ

กถาพรรณนาจุตูปปาตญาณ



พึงทราบวินิจฉัยในกถาพรรณนาจุตูปปาตญาณ ดังต่อไปนี้
วิชชาคือ ทิพจักขุญาณ ชื่อว่า วิชชา. ความไม่รู้ที่ปกปิดจุติและ
ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า อวิชชา. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวมาแล้ว
นั่นแล.
จบกถาพรรณนาจุตูปปาตญาณ

กถาพรรณนาอาสวักขญาณ



พึงทราบวินิจฉัยในวิชชาที่ 3 ดังต่อไปนี้
ในบทว่า โส เอวํ สมาหิเต จิตฺเต พึงทราบว่า ได้แก่จตุตถ-
ฌานจิต อันเป็นบาทแห่งวิปัสสนา. บทว่า อาสวานํ ขยญาณาย ความว่า
เพื่อประโยชน์แก่อรหัตมัคคญาณ เพราะอรหัตมรรค ท่านเรียกว่า ชื่อว่า
ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะยังอาสวะทั้งหลายให้พินาศ. และ