เมนู

อรรถกถาติกัณณสูตร



พึงทราบวินิจฉัย ในติกัณณสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้:-
คำว่า ติกณฺโณ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น. บทว่า อุปสงฺกมิ
ความว่า พราหมณ์คิดว่า ได้ข่าวว่า พระสมณโคดมเป็นบัณฑิต เราจักไปยัง
สำนักของท่าน ดังนี้ รับประทานอาหารเช้าแล้ว มีมหาชนห้อมล้อม เข้าไป
เฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า ภควโต สมฺมุขา ความว่า นั่งเบื้องหน้า
พระทศพล.
บทว่า วณฺณํ ภาสติ ความว่า ถามว่า เพราะเหตุไร จึงกล่าว-
สรรเสริญ. ตอบว่า ได้ทราบว่า ก่อนแต่นี้ พราหมณ์นั้นไม่เคยไปสำนัก
ของพระตถาคตเลย พราหมณ์จึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายเข้าเฝ้าได้ยาก เราทูลก่อนแล้ว จักตรัสหรือไม่ตรัสก็ได้ ถ้าพระองค์
จักไม่ตรัสคราวนั้น คนทั้งหลายจักต่อว่า เราผู้พูดในที่สมาคมอย่างนี้ว่า เหตุไร
ท่านจึงพูดในที่นี้ เพราะว่าท่านไปยังสำนักของพระสมณโคดมแล้ว ก็ยังไม่ได้
แม้เพียงการดำรัสด้วย เพราะเหตุนั้น พราหมณ์ เมื่อสำคัญอยู่ว่า เราจักพ้น
ข้อครหาไปได้ด้วยอุบายอย่างนี้ จึงทูลขึ้น พราหมณ์พูดสรรเสริญพราหมณ์
ทั้งหลายก็จริง แต่พูดถึงวิชชาสามด้วยความประสงค์อย่างเดียวว่า เราจักต่อ
(ลองเชิง) พระญาณของพระตถาคต.
บทว่า เอวมฺปิ เตวิชฺชา พฺราหฺมณา ความว่า พราหมณ์ผู้ทรง
วิชชา 3 เป็นบัณฑิตอย่างนี้ คือเป็นนักปราชญ์อย่างนี้ คือเป็นผู้ฉลาดอย่างนี้
คือเป็นพหูสูตอย่างนี้ หมายความว่าเป็นผู้มีปกติกล่าวอย่างนี้ อธิบายว่า เป็นผู้
ได้รับสมมติอย่างนี้. ด้วยบทว่า อิติปิ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการกำหนด

อาการของบัณฑิตเป็นต้น แห่งพราหมณ์เหล่านั้น. ก็ในข้อนี้มีอธิบายอย่างนี้ว่า
เป็นบัณฑิต ด้วยเหตุเท่านี้ ฯลฯ เป็นผู้ได้รับสมมติด้วยเหตุเท่านี้.
บทว่า ยถา นบทว่า ยถา กถํ ปน พฺราหฺมณา นี้ เป็นคำ
แสดงเหตุ. บทว่า กถํ ปน เป็นคำถาม. ข้อนี้สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติพราหมณ์ผู้ได้วิชชา 3
ไว้อย่างไร. ท่านจงบอกเหตุที่จะให้รู้จักพราหมณ์ผู้ได้วิชชา 3 นั้น.
พราหมณ์ครั้นได้ฟังดังนั้นแล้ว ดีใจว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถาม
ในธรรมที่มีฐานะพอรู้ได้ ไม่ใช่มีฐานะที่รู้ไม่ได้ จึงทูลคำเป็นต้นว่า อิธ โภ
โคตม
ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุภโต ได้แก่ทั้งสองฝ่าย. บทว่า
มาติโต จ ปิติโต จ ความว่า ผู้ใดมีมารดาเป็นพราหมณี มียายเป็น
พราหมณี แม้ยายชวดก็เป็นพราหมณี มีบิดาเป็นพราหมณ์ มีปู่เป็นพราหมณ์
แม้ปู่ชวดก็เป็นพราหมณ์ ผู้นั้นชื่อว่าเกิดดีแล้ว ทั้งสองฝ่าย คือทั้งฝ่ายมารดา
และฝ่ายบิดา.
บทว่า สํสุทฺธคหณิโก ความว่า ผู้ใดมีที่ถือกำเนิด คือท้องของ
มารดาบริสุทธิ์แล้ว ผู้นั้นชื่อว่า สังสุทธเคราหณี. แต่ในคำว่า สมเวปากินิยา
คหณิยา นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า การถือเอาเตโชธาตุที่เกิดแต่
กรรม. ในคำว่า ยาว สตฺตมา ปิตามหยุคา นี้ มีความว่า บิดาของ
บิดาชื่อว่า ปิตามหะ. ยุค (ชั้น) แห่งปู่ ชื่อว่า ปิตามหยุค (ชั้นปู่). ประมาณ
แห่งอายุ ท่านเรียกว่า ยุค. ก็คำว่า ยุค นี้ เป็นเพียงคำเรียกกันเท่านั้น.
แต่โดยความหมายแล้วปิตามหะนั่นเอง ชื่อว่า ปิตามหยุค. บรรพบุรุษแม้
ทั้งหมด ต่อจากปิตามหยุคลงไป ก็เป็นอันหมายเอาด้วยศัพท์ว่า ปิตามหะนั่นเอง
เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ที่ชื่อว่า สังสุทธเคราหณี จะมีเพียง 7 ชั่วคน (เป็นอย่างต่ำ).

อีกอย่างหนึ่ง ทรงแสดงว่า พราหมณ์ผู้อุภโตสุชาตนั้น จะไม่ถูก
คัดค้าน ถูกตำหนิ ด้วยการกล่าวอ้างถึงชาติ. บทว่า อกฺขิตฺโต ความว่า
ไม่ถูกตามคัดค้านอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงนำคนผู้นี้ออกไป คนผู้นี้จะมี
ประโยชน์อะไร. บทว่า อนุปกฺกุฏฺโฐ ความว่า จะไม่ถูกติเตียน ไม่เคย
ถูกด่า หรือไม่เคยถูกนินทา. ถามว่า ด้วยเหตุไร. ตอบว่า ด้วยการกล่าว
อ้างถึงชาติ. อธิบายว่า ด้วยการกล่าวเห็นปานนี้ว่า คนนี้ชาติเลว แม้ด้วย
ประการนี้.
บทว่า อชฺฌายโก นี้ พึงทราบความดังต่อไปนี้ คำครหาเกิดขึ้น
แก่พราหมณ์ผู้เว้นจากฌาน1 ในกาลแห่งปฐมกัป อย่างนี้ว่า ดูก่อนวาเสฏฐะ
และภารทวาชะ บัดนี้ชนเหล่านี้ไม่เพ่งอยู่ บัดนี้พวกชนเหล่านี้ ไม่เพ่งอยู่
อย่างนี้แล อักขระว่า อชฺฌายกา อชฺฌายกา (ผู้ไม่เพ่ง หมายถึง ผู้แต่ง
และสอนคัมภีร์) จึงอุบัติขึ้นเป็นครั้งที่ 3.2 แต่ในปัจจุบันนี้ พราหมณ์ชื่อว่า
อชฺฌายโก เพราะศึกษาพระเวทนั้น. คนทั้งหลายกล่าวคำสรรเสริญ ด้วย
อรรถาธิบายนี้ว่า พราหมณ์ร่ายมนต์ (พระเวท). พราหมณ์ชื่อว่า มนฺตธโร
เพราะทรงจำมนต์ (พระเวท) ไว้ได้. บทว่า ติณฺณํ เวทานํ ได้แก่
อิรุพเพท ยชุพเพท และสามเพท. พราหมณ์ ชื่อว่า ปารคู เพราะถึงฝั่ง
ด้วยสามารถแห่งการเลิกท่องบ่น (คือทรงจำได้แล้ว).
(ไตรเพท) พร้อมด้วยนิฆัณฺศาสตร์ และเกฏฺภศาสตร์ ชื่อว่า
สนิฆัณฑุเกฏุภะ. บทว่า นิฆัณฑุ ได้แก่ศาสตร์ที่จำแนกชื่อ (สิ่งของต่าง ๆ)
คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยชื่อของต้นไม้เป็นต้น. บทว่า เกฏุภํ ได้แก่ศาสตร์ที่
กำหนดอากัปกิริยา คือศาสตร์ที่เป็นอุปการะแก่กวี. พระเวท พร้อมด้วย
ประเภทของอักษร ชื่อว่าสากขรปเภท. สิกขา และนิรุตติ ชื่อว่า อักขรัปป-
1. ปาฐะว่า ฐานวิรหิตานํ ฉบับพม่าเป็น ฌานวิรหิตนํ แปลตามฉบับพม่า
2. อักขระที่ 1 ว่า พราหมณาที่ 2 ว่า ฌายิกา ฌายิกา ที่ 3 ว่า อชฺฌายิกา อชฺฌายิกา

เภทะ. บทว่า อิติหาสปญฺจมานํ ความว่า พระเวท ชื่อว่ามีอิติหาส
เป็นที่ 5 เพราะมีอิติหาสที่ประกอบด้วยคำเช่นนี้ ว่า อิติ-ห-อาส, อิติ-ห-
อาส กล่าวคือ คัมภีร์ปุราณะ หรือกล่าวคือ คัมภีร์ว่าด้วยวิชาของกษัตริย์
(นักรบ) เป็นที่ 5. โดยนับเอาอาถัพพนเวทเป็นที่ 4 แห่งพระเวทเหล่านั้น
ซึ่งมีอิติหาสเป็นที่ 5. ชื่อว่า รู้บท รู้ไวยากรณ์ เพราะจำทรง คือ รู้ทั้งตัวบท
ทั้งพยากรณ์ (คำอธิบาย) ตัวบทที่เหลือนั้น.
วิตัณฑวาทศาสตร์ (พูดกันเล่นสนุกๆ) ท่านเรียกว่า โลกายตะ
บทว่า มหาปิริสลกฺขณํ ได้แก่ศาสตร์ที่มีบทร้อยกรองประมาณ 12,000
คัมภีร์ ที่แสดงลักษณะของมหาบุรุษ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ชื่อว่า พุทธมนต์
ประมาณ 16,000 บทคาถา มีความสามารถเป็นเหตุให้รู้ความแตกต่างกัน
ดังนี้ว่า ผู้ประกอบด้วยลักษณะนี้ ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า ด้วยลักษณะนี้
ชื่อว่าเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ด้วยลักษณะนี้ชื่อว่าเป็นพระอัครสาวกทั้งสอง
ด้วยลักษณะนี้ชื่อว่า เป็นพระอสีติมหาสาวก ด้วยลักษณะนี้ชื่อว่า เป็นพระ-
พุทธมารดา ด้วยลักษณะนี้ ชื่อว่าเป็นพระพุทธบิดา ด้วยลักษณะนี้ชื่อว่า
เป็นอรรคอุปัฏฐาก ด้วยลักษณะนี้ ชื่อว่าเป็นอรรคอุปัฏฐายิกา และด้วย
ลักษณะนี้ ชื่อว่าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ.
บทว่า อนวโย ได้แก่ เป็นผู้ไม่บกพร่อง คือเป็นผู้บริบูรณ์ใน
คัมภีร์โลกายตะ และคัมภีร์มหาปุริสลักษณะเหล่านี้ มีคำอธิบายว่า ไม่ใช่เป็น
ผู้ย่อหย่อน. คนผู้ไม่สามารถจะจำทรงศาสตร์เหล่านั้นไว้ได้ ทั้งโดยอรรถาธิบาย
และโดยคัมภีร์ ผู้นั้น ชื่อว่า ย่อหย่อน. อย่างหนึ่ง บทว่า อนวโย ตัดบท
เป็น อนุ อวโย ด้วยอำนาจสนธิ ลบอุอักษรออก (ฉะนั้น) อนุ - อวโย
จึงเป็นอนวโย อธิบายว่า มีศิลปบริบูรณ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นพราหมณ์นั้นทูลอาราธนาอยู่ ทรงรู้ว่า
บัดนี้ เป็นเวลาสมควรที่เราจะกล่าวแก้ปัญหาของพราหมณ์นั้น จึงตรัสคำนี้ว่า
เตนหิ ดังนี้. บทว่า เตนหิ นั้น มีความหมายว่า เพราะเหตุที่ท่านขอร้อง
เราไว้ ฉะนั้น ท่านจงฟัง. บทว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ เป็นต้น ได้อธิบายไว้
อย่างพิสดารในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้วทีเดียว. แต่ในที่นี้ คำว่า วิวิจฺเจว
กาเมหิ
เป็นต้นนี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว เพื่อทรง
แสดงถึงข้อปฏิบัติที่เป็นบุพภาคของวิชชาทั้ง 2. บรรดาวิชชาทั้ง 3 นั้น การ
พรรณนาวิชชาทั้ง 2 ไปตามลำดับบทก็ดี นัยแห่งการเจริญวิชชาทั้ง 2 ก็ดี
ได้ให้พิสดารแล้ว ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเหมือนกัน.

กถาพรรณนาปุพเพนิวาสานุสติญาณ



บทว่า ปฐมา วิชฺชา ความว่า วิชชา ชื่อว่า ปฐมา เพราะเกิดขึ้น
ครั้งแรก. ที่ชื่อว่า วิชชา เพราะอรรถว่า กระทำให้แจ่มแจ้งแล้ว. ถามว่า
กระทำอะไรให้แจ่มแจ้ง. ตอบว่า กระทำขันธ์ที่เคยอาศัยในชาติก่อนให้
แจ่มแจ้ง. โมหะที่ปิดบังปุพเพนิวาสานุสติญาณนั้น เพราะความหมายว่า
ทำปุพเพนิวาสานุสติญาณนั้นนั่นแหละไม่ให้แจ่มชัด ตรัสเรียกว่า อวิชชา.
บทว่า ตโม ความว่า โมหะนั้นแล เรียกว่า ตมะ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุ
ปกปิด. บทว่า อาโลโก ความว่า วิชชานั่นแหละตรัสเรียกว่า อาโลกะ
เพราะหมายความว่า ทำความสว่างไสว. ก็ในพระสูตรนี้มุ่งความว่า ได้บรรลุ
วิชชา 3 แล้ว. คำที่เหลือ เป็นคำกล่าวสรรเสริญ. ก็ในข้อนี้ ประกอบความว่า
เธอได้บรรลุวิชชานี้แล้ว ลำดับนั้น อวิชชาก็เป็นอันเธอผู้บรรลุวิชชาแล้ว
กำจัดแล้ว อธิบายว่า ให้พินาศแล้ว. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะ
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว. ในบททั้ง 2 แม้นอกนี้ ก็มีนัยอย่างนี้แหละ.