เมนู

อาสวะ ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ดับกิเลส
ได้เพราะไม่ยึดถือแล้ว ย่อมเกิดในชาติ
เหล่านั้นได้ทุกชาติ ทักษิณาทานที่ให้ใน
บุคคลนั้นอันเป็นเนื้อนาที่ปราศจากโทษ
ย่อมมีผลไพบูลย์
ส่วนคนเขลาทรามปัญญา มิได้สดับ
ไม่รู้จัก (บุญเขต) ให้ทานไปภายนอก
(เขต) ไม่เข้าใกล้สัตบุรุษทั้งหลายเลย
ฝ่ายคนเหล่าใดเข้าใกล้สัตบุรุษผู้มี
ปัญญานับว่าเป็นปราชญ์ และศรัทธาของ
เขามีรากฐานมั่นคงในองค์พระสุคต คน
เหล่านั้นย่อมไปเทวโลก มิฉะนั้น เกิดใน
สกุล ณ โลกนี้ ก็จะเป็นบัณฑิตได้บรรลุ
พระนิพพานโดยลำดับ.

จบชัปปสูตรที่ 7

อรรถกถาชัปปสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในชัปปสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า มหปฺผลํ แปลว่า มีผลมาก. ในบทว่า ธมฺมสฺส จ
อนุธมฺมํ พฺยากโรนฺติ
นี้ พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้ ถ้อยคำที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสแล้ว ชื่อว่า พระธรรม. การตรัสทบทวนซึ่งข้อความที่ตรัส
แล้ว ชื่อว่า อนุธรรม.

บทว่า สหธมฺมิโก ได้แก่ พร้อมด้วยการณ์ พร้อมด้วยเหตุ. การ
ถือตาม คือการคล้อยตาม อธิบายว่า การประพฤติตามถ้อยคำ ชื่อว่า
วาทานุปาตะ. บทว่า คารยฺหํ ฐานํ ได้แก่เหตุที่ควรตำหนิ. ท่านกล่าว
อธิบายไว้ว่า การคล้อยตามถ้อยคำที่มีเหตุผล อันพระโคดมผู้เจริญตรัสไว้แล้ว
ไม่น่าจะถึงเหตุที่ควรตำหนิไร ๆ เลย. อีกอย่างหนึ่ง พราหมณ์ถามว่า การ
คล้อยตามพฤติการณ์ของวาทะที่มีเหตุ ซึ่งคนเหล่านั้นกล่าวแล้ว จะถึงเหตุที่
น่าตำหนิอะไร ๆ ไหม.
บทว่า อนฺตรายกโร โหติ ความว่า กระทำอันตราย คือความ
พินาศ คือให้ได้รับความลำบาก ได้แก่ให้เกิดความเดือดร้อน. บทว่า
ปาริปนฺถิโก ได้แก่ โจรที่ดักจี้ปล้นคนเดินทาง. บทว่า ขโต จ โหติ
ได้แก่ถูกขุด โดยขุดคุณความดีทิ้งไป. บทว่า อุปหโต ได้แก่ ถูกขจัด
โดยการทำลายคุณงามความดี. บทว่า จนฺทนิกาย ได้แก่ ในบ่อน้ำโคลน
ที่ไม่สะอาด. บทว่า โอฬิคลฺเล ได้แก่ (ท่อ) ที่ยังไม่ได้ล้างโคลน. บทว่า
โส จ ได้แก่ พระขีณาสพที่ท่านกล่าวไว้ว่า ท่านผู้มีศีลนั้น. บทว่า สีลกฺ-
ขนฺเธน
แปลว่า ด้วยกองศีล. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็
ปัจจเวกขณญาณ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า วิมุตติญาณทัสสนะ ในคำว่า
วิมุตฺติญาณทสฺสกนกฺขนฺเธน นี้. ปัจจเวกขณญาณนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า อเสขะ เพราะเป็นไปแล้วแก่พระอเสขะ. ญาณนอกนี้ แม้ตัวเองก็
เป็นอเสกขะอยู่แล้ว เพราะบรรลุแล้วในที่สุดแห่งสิกขา. อีกทั้งญาณเหล่านั้น
ก็เป็นโลกุตระ ปัจจเวกขณญาณเป็นโลกิยะ.
บทว่า โรหิณึสุ ได้แก่มีสีแดง. บทว่า สรูปาสุ ได้แก่ มีสีเสมอ
ด้วยลูกโคของตน. บทว่า ปเรวตาสุ ได้แก่ มีสีเหมือนนกพิราบ. บทว่า

ทนฺโต ได้แก่ หมดพยศแล้ว. โคตัวผู้ ชื่อว่า ปุงฺคโว. บทว่า โธรยฺโห
ได้แก่ โคใช้งาน. บทว่า กลฺยาณชวนิกฺกโม ได้แก่ ประกอบด้วยเชาว์ไว
ไหวพริบดี คือซื่อตรง. บทว่า นาสฺส วณฺณํ ปริกฺขเร ความว่า ไม่สนใจ
ถึงสีร่างกายของโคนั้น แต่สนใจเฉพาะงาน คือการประกอบธุระของมันเท่านั้น.
บทว่า ยสฺมึ กิสฺมิญฺจิ ชาติเย ความว่า เกิดแล้วในตระกูลใด ๆ
บทว่า ยาสุ กาสุจิปิ เอตาสุ ได้แก่ ในกำเนิดอย่างใดอย่างหนึ่ง แยก
ประเภทเป็นกษัตริย์เป็นต้นเหล่านี้. บทว่า พฺรหฺมจริยสฺส เกวลี ความว่า
ประกอบด้วยการอยู่จบพรหมจรรย์ อธิบายว่า ประกอบด้วยความเป็นผู้
บริบูรณ์ด้วยพรหมจรรย์. เพราะว่า พระขีณาสพ ชื่อว่า เป็นผู้ประพฤติ
พรหมจรรย์ทั้งสิ้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้.
บทว่า ปนฺนภาโร ได้แก่ วางภาระแล้ว อธิบายว่า วางภาระคือขันธ์
ภาระคือกิเลส และภาระคือกามคุณลงได้แล้ว. บทว่า กตกิจฺโจ คือ กระทำ
กิจด้วยมรรคทั้ง 4 เสร็จแล้ว. บทว่า ปารคู สพฺพธมฺมานํ ความว่า
เบญจขันธ์ อายตนะ 12 ธาตุ 18 ตรัสเรียกว่า สรรพธรรม. ชื่อว่า ปารคู
เพราะถึงฝั่ง. 6 อย่าง คือ ฝั่งคืออภิญญูา 1 ฝั่งคือปหานะ 1 ฝั่งคือ
ฌาน 1 ฝั่งคือภาวนา 1 ฝั่งคือสัจฉิกิริยา 1 ฝั่งคือสมาบัติ 1
แห่ง
สรรพธรรมนั้น. บทว่า อนุปาทาย ได้แก่ไม่ยึดถือ. บทว่า นิพฺพุโต
ได้แก่ เว้นจากความเร่าร้อนเพราะกิเลส. บทว่า วิรเช ได้แก่ เว้นจากธุลี
คือ ราคะ โทสะ และโมหะ.
บทว่า อวิชานนฺตา ได้แก่ ไม่รู้จักบุญเขต. บทว่า ทุมฺเมธา
ได้แก่ไม่มีปัญญา. บทว่า อสฺสุตาวิโน ได้แก่ เว้นจากการได้ยินข้อวินิจฉัย
เกี่ยวกับบุญเขต. บทว่า พหิทฺธา ได้แก่ ภายนอกจากพระศาสนานี้. บทว่า

น หิ สนฺเต อุปาสเร ความว่า ไม่เข้าไปหาพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
และพระขีณาสพทั้งหลาย ผู้เป็นบุรุษสูงสุด. บทว่า ธีรสมฺมเต ได้แก่
บัณฑิตยกย่องแล้ว ชมเชยแล้ว. ด้วยบทว่า มูลชาตา ปติฏฺฐิตา นี้ ทรง
แสดงถึงศรัทธาของพระโสดาบัน. บทว่า กุเล วา อิธ ชายเร ความว่า
หรือเกิดในตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ตระกูลแพศย์ ในมนุษยโลกนี้.
บุคุคลนี้นี่แหละชื่อว่า มีกุลสมบัติ 3 ประการ. บทว่า อนุปุพฺเพน นิพฺพานํ
อธิคจฺฉนฺติ
ความว่า บำเพ็ญคุณธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
ให้สมบูรณ์แล้วบรรลุพระนิพพาน ตามลำดับฉะนี้แล.
จบอรรถกาชัปปสูตรที่ 7

8. ติกัณณสูตร



ว่าด้วยวิชชา 3 ของพราหมณ์และของพุทธ์



[498] ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อติกัณณะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ฯลฯ พราหมณ์ติกัณณะนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้ว กล่าวสรรเสริญ
พวกพราหมณ์ผู้ได้วิชชา 3 เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พราหมณ์
ผู้ได้วิชชา 3 เป็นอย่างนั้นอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนพราหมณ์ พราหมณ์ทั้งหลาย
บัญญัติพราหมณ์ผู้ได้วิชชา 3 อย่างไรกัน.
พราหมณ์ติกัณณะกราบทูลตอบว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
พราหมณ์เป็นผู้ได้กำเนิดดีทั้ง 2 ฝ่าย คือทั้งฝ่ายมารดาทั้งฝ่ายบิดามีครรภ์ที่
ถือปฏิสนธิหมดจดดี ไม่ถูกคัดค้านติเตียนเพราะเรื่องกำเนิดถึง 7 ชั่วปู่