เมนู

พระเถระชาวทักษิณวิหาร


เล่ากันมาว่า บุตรขุนนางคนหนึ่งเข้าไปหาพระเถระนั้นแล้วถามว่า
บุคคลเมื่อจะเจริญเมตตา ควรเจริญเมตตาในบุคคลเช่นไรก่อน. พระเถระไม่
ยอมบอกถึงบุคคลผู้เป็นสภาคและวิสภาคกัน แต่กลับบอกว่าในบุคคลผู้เป็น
ที่รัก. บุตรขุนนางนั้น มีภรรยาเป็นที่รักใคร่. เขาจึงแผ่เมตตาไปหานาง
พลางถึงความคลุ้มคลั่ง.
ถามว่า ก็ภิกษุ ผู้บอกกัมมัฏฐาน นี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อมิใช่ประโยชน์
เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมากอย่างไร.
ตอบว่า ก็เพราะ บริวารชนของภิกษุเห็นปานนี้มีสัทธิวิหาริกเป็น
ต้น และมีอุปัฏฐากเป็นต้น รวมทั้งเทวดาที่เหลือ ผู้เป็นมิตรของเทวดาเหล่า
นั้น ๆ เริ่มต้นตั้งแต่อารักขเทวดาของบริวารชนเหล่านั้นจนกระทั่งถึงพรหมโลก
ต่างจะพากันทำตามที่ภิกษุนั้นทำแล้วเทียว ด้วยคิดว่า ภิกษุนี้ไม่รู้แล้วจักไม่
ทำ ภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก ด้วย
ประการดังพรรณนามาฉะนี้.
ในธรรมฝ่ายขาว พึงทราบกายกรรมและวจีกรรม ด้วยสามารถแห่ง
เจตนาทั้งหลาย มีเจตนาเป็นเครื่องงดเว้น จากปาณาติบาตเป็นต้นนั่นแล. ฝ่าย
ภิกษุผู้บอกกัมมัฏฐานมิให้คลาดเคลื่อน ชื่อว่าสมาทานให้ดำรงอยู่ในธรรมที่
เหมาะสม เหมือนพระติสสเถระผู้ชำนาญใน 4 นิกาย ชาวโกลิตวิหารฉะนั้น.

พระติสสเถระ



เล่ากันว่า พระทัตตาภยเถระ ผู้เป็นพี่ชายคนโตของพระติสสเถระนั้น
อยู่ในเจติยวิหาร เมื่อโรคชนิดหนึ่งเกิดขึ้น ให้เรียกพระน้องชายมาแล้วบอก
ว่า คุณ คุณช่วยบอกกัมมัฏฐานสักข้อหนึ่งที่เบา ๆ แก่ผมทีเถิด.

พระน้องชายเรียนว่า หลวงพี่ขอรับ ประโยชน์อะไรด้วยกัมมัฏฐาน
ข้ออื่น หลวงพี่ควรกำหนดกวฬิงการาหาร.
พระพี่ชายถามว่า คุณ กวฬิงการาหารนี้มีประโยชน์อย่างไร.
พระน้องชายตอบว่า หลวงพี่ขอรับ กวฬิงการาหารเป็นอุปาทายรูป
และเมื่อเห็นอุปาทายรูปอย่างหนึ่งแล้ว อุปาทายรูป 23 ก็ย่อมปรากฏชัดด้วย.
พระพี่ชายนั้น ได้ฟังดังนี้นั้นแล้ว ตอบว่า คุณ กัมมัฏฐานเท่านี้ก็เห็น
จะพอเหมาะแหละนะ ดังนี้แล้ว ส่งพระน้องชายนั้นกลับไป กำหนดกวฬิง-
การาหาร แล้วกำหนดอุปาทายรูป กลับไปกลับมา ก็ได้สำเร็จเป็นพระ
อรหันต์. ทันใดนั้น พระพี่ชายก็เรียกพระเถระ น้องชายนั้น ผู้ซึ่งยังไม่ทัน
ออกไปพ้นนอกวิหารเลย มาบอกว่า คุณ คุณเป็นที่พึ่งอย่างใหญ่หลวงของ
ผมแล้วนะ ดังนี้แล้ว บอกคุณที่ตนได้แล้วแก่พระเถระน้องชาย.
บทว่า พหุชนหิตาย ความว่า ก็บริวารชนของภิกษุแม้นี้ มีสัทธิ-
วิหาริกเป็นต้น ต่างพากันทำตามสิ่งที่ภิกษุนั้นทำแล้วเทียวด้วยคิดว่า ภิกษุนี้
ไม่รู้แล้วจักไม่ทำ อุปัฏฐากเป็นต้นก็เหมือนกัน เทวดาทั้งหลาย คือ อารักข-
เทวดาของบริวารชนเหล่านั้น ภุมมเทวดาผู้เป็นมิตรของอารักขเทวดาเหล่านั้น
และอากาศเทวดาผู้เป็นมิตรของภุมมเทวดาเหล่านั้น รวมถึงเทวดาที่บังเกิด
ในพรหมโลก ก็พากันทำตามสิ่งที่ภิกษุนั้นทำแล้วเหมือนกัน ภิกษุชื่อว่าเป็น
ผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาญาตกสูตรที่ 1

2. สรณียสูตร



ว่าด้วยสถานที่ที่กษัตริย์และภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต



[451] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สถานที่ 3 ตำบลนี้ย่อมเป็นที่ระลึก
ตลอดชีพแห่งพระราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก สถานที่ 3 ตำบลไหนบ้าง ?
พระราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษกประสูติ ณ ตำบลใด ตำบลนี้เป็นที่ระลึก
ตลอดชีพแห่งพระราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก เป็นตำบลที่ 1
อีกข้อหนึ่ง พระราชาได้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก ณ ตำบลใด ตำบล
นี้เป็นที่ระลึกตลอดชีพแห่งพระราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก เป็นตำบลที่ 2
อีกข้อหนึ่ง พระราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก ทรงผจญสงครามได้
ชัยชนะแล้วยึดสนามรบนั้นไว้ได้ ณ ตำบลใด ตำบลนี้เป็นที่ระลึกตลอดชีพ
แห่งพระราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก เป็นตำบลที่ 3 นี้แล ภิกษุทั้งหลาย
สถานที่ 3 ตำบล เป็นที่ระลึกตลอดชีพแห่งพระราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สถานที่ 3 ตำบลนี้ก็เป็นที่ระลึกตลอดชีพแห่ง
ภิกษุฉันนั้นเหมือนกัน สถานที่ 3 ตำบลไหนบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือน บวชเป็นอนคาริยะ ณ
ตำบลใด ตำบลนี้เป็นที่ระลึกตลอดชีพแห่งภิกษุ เป็นตำบลที่ 1
อีกข้อหนึ่ง ภิกษุรู้ตามจริงว่า นี่ทุกข์ ... นี่เหตุเกิดทุกข์ ... นี่ความ
ดับทุกข์ ... นี่ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ณ ตำบลใด ตำบลนี้เป็นที่ระลึก
ตลอดชีพแห่งภิกษุ เป็นตำบลที่ 2