เมนู

บทว่า เทโว น สมฺมา ธารํ อนุปฺปเวจฺฉติ ความว่า ฝนไม่ตก
ในเวลาที่ควรจะตก. บทว่า ทุพฺภิกฺขํ ได้แก่ภิกษาที่หาได้ยาก. บทว่า
ทุสฺสสฺสํ ความว่า ชื่อว่า ข้าวกล้าเสียหาย เพราะข้าวกล้านานาชนิดไม่เผล็ดผล.
บทว่า เสตฏฺฐิกํ ความว่า เมื่อข้าวกล้ากำลังออกรวง หมู่หนอนจะลงกิน
รวงข้าวที่ออกแล้ว จะมีสีขาว ไม่มีเนื้อ เพราะถูกหนอนเหล่านั้นชอนไช.
ทรงหมายเอาข้าวลีบนั้นตรัสว่า เสตฏฺฐิกํ ดังนี้. บทว่า สลากวุตฺตํ
ความว่า ข้าวกล้าที่หว่านแล้ว ๆ งอกงามเพียงตั้งลำต้นเท่านั้น อธิบายว่า
ไม่ออกรวง. บทว่า ยกฺขา ได้แก่ยักษ์ผู้เป็นอธิบดี. บทว่า วาเฬ อมนุสฺเส
โอสฺสชฺชนฺติ
ความว่า ปล่อยยักษ์ร้ายไปในถิ่นมนุษย์. ยักษ์เหล่านั้น
ได้โอกาส ย่อมทำให้มหาชนถึงความสิ้นชีวิต.
จบอรรถกถาปโลภสูตรที่ 6

7. ชัปปสูตร



ว่าด้วยผู้รับที่ทำให้ทานมีผลมาก



[497] ครั้งนั้น ปริพาชกวัจฉโคตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ฯลฯ ปริพาชกวัจฉโคตรนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้วกราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระเจ้าได้ยินเขาว่า พระ-
สมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า ทานควรให้แก่เราเท่านั้น ไม่ควรให้แก่คนอื่น ๆ
ควรให้แก่สาวกของเราเท่านั้น ไม่ควรให้แก่สาวกของคนอื่น ๆ ทานที่ให้แก่
เราเท่านั้นมีผลมาก ให้แก่คนอื่น ๆ ไม่มีผลมาก ให้แก่สาวกของเราเท่านั้น
มีผลมาก ให้แก่สาวกของคนอื่น ๆ ไม่มีผลมาก ดังนี้ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

ชนเหล่าที่กล่าวว่า พระสมณโคดมตรัสว่า ทานควรให้แก่เราเท่านั้น ฯลฯ
ให้แก่สาวกของคนอื่น ๆ ไม่มีผลมาก ดังนี้ ชนเหล่านั้นกล่าวตามคำที่พระ-
โคดมผู้เจริญได้ตรัสไว้จริงละหรือ เขาไม่ใส่ความพระโคดมผู้เจริญด้วยเรื่อง
อันไม่จริงละหรือ เขากล่าวแก้ธรรมสมควรแก่ธรรมละหรือ การถือตามถ้อยคำ
ที่ชอบแก่เหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง จะไม่ตกอยู่ในฐานที่น่าตำหนิละหรือความจริง
พวกข้าพระเจ้าไม่ประสงค์จะใส่ความพระโคดมผู้เจริญเลย
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า วัจฉะ ชนเหล่าที่กล่าวว่า พระ-
สมณโคดมตรัสว่า ทานควรให้แก่เราเท่านั้น ฯลฯ ให้แก่สาวกของคนอื่น ๆ
ไม่มีผลมาก ดังนี้ ชนเหล่านั้นมิได้กล่าวตามคำที่เรากล่าว อนึ่ง ชนเหล่านั้น
ใส่ความเราด้วยเรื่องอันไม่มีไม่เป็นจริง วัจฉะ ผู้ใดห้ามคนอื่นที่ให้ทาน ผู้นั้น
ชื่อว่าทำอันตรายต่อคน 3 คน ทำร้ายต่อคน 3 คน 3 คนคือใคร คือทำ
อันตรายต่อบุญของทายก ทำอันตรายต่อลาภของปฏิคาหก อนึ่ง ตัวของผู้นั้น
ชื่อว่าถูกก่น (ขุดรากคือความดี) และถูกประหาร (ตายไปจากความดี) เสียก่อน
แล้ว วัจฉะ ผู้ใดห้ามคนอื่นที่ให้ทาน ผู้นั้นชื่อว่าทำอันตรายต่อคน 3 คน
ทำร้ายต่อคน 3 คนนี้
เราตถาคตกล่าวอย่างนี้ต่างหาก วัจฉะ ว่า แม้สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ใน
หลุมโสโครกหรือท่อโสโครก ผู้ใดเทน้ำล้างหม้อก็ดี น้ำล้างชามก็ดี ลงไปใน
หลุมและท่อโสโครกนั้น ด้วยเจตนาให้สัตว์ในนั้นได้เลี้ยงชีพ อย่างนี้เราตถาคต
ยังกล่าวการได้บุญอันมีกิริยาที่ทำอย่างนั้นเป็นมูล จะกล่าวอะไร (ถึงการให้ทาน)
ในผู้ที่เป็นมนุษย์เล่า
แต่นั่นแหละ วัจฉะ เราตถาคตกล่าวว่า ทานที่ให้แก่ผู้มีศีลมีผลมาก
หาได้กล่าวอย่างนั้นในผู้ทุศีลไม่ และผู้มีศีลนั้นเป็นผู้ละองค์ 5 ประกอบด้วย

องค์ 5 ละองค์ 5 คืออะไร คือ ละกามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ
อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ผู้มีศีลนั้นเป็นผู้ละองค์ 5 นี้ ประกอบด้วยองค์
5 คืออะไร คือ ประกอบด้วยสีลขันธ์ (กองศีล) สมาธิขันธ์ (กองสมาธิ)
ปัญญาขันธ์ (กองปัญญา) วิมุตติขันธ์ (กองวิมุตติ) วิมุตติญาณทัสสนขันธ์
(กองวิมุตติญาณทัสนะ) อันเป็นอเสขะ ผู้มีศีลนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยองค์
เราตถาคตกล่าวว่า ทานที่ให้ในผู้มีศีล ที่ละองค์ 5 ประกอบด้วยองค์ 5
อย่างนี้ มีผลมาก
ในโคเมียทั้งหลาย เช่น แม่โคสีดำ
สีขาว สีแดง สีเขียว สีด่าง สีปกติ หรือ
สีนกพิราบก็ตาม โคผู้ ซึ่งฝึกแล้วเป็นโค
ทนงาน มีกำลัง ฝีเท้าดี ย่อมเกิดในแม่โค
เหล่านั้นได้ทุกเหล่า คนทั้งหลายใช้มันใน
การหนักเท่านั้น หาได้พิถีพิถันสีของมันไม่
ฉันเดียวกันนั่นแล ในหมู่มนุษย์
ในชนชาติใดชาติหนึ่ง จะเป็นชาติกษัตริย์
พราหมณ์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล หรือ
ปุกกุสะ บุคคลผู้ซึ่งฝึกตนแล้ว มีพรต
อันดี ตั้งอยู่ในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีลพูด
เป็นสัจ มีใจประกอบด้วยหิริ ละชาติและ
มรณะแล้ว จบพรหมจรรย์แล้ว ปลงของ
หนักแล้ว ปลอดโปร่งแล้ว เสร็จกิจ ไม่มี

อาสวะ ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ดับกิเลส
ได้เพราะไม่ยึดถือแล้ว ย่อมเกิดในชาติ
เหล่านั้นได้ทุกชาติ ทักษิณาทานที่ให้ใน
บุคคลนั้นอันเป็นเนื้อนาที่ปราศจากโทษ
ย่อมมีผลไพบูลย์
ส่วนคนเขลาทรามปัญญา มิได้สดับ
ไม่รู้จัก (บุญเขต) ให้ทานไปภายนอก
(เขต) ไม่เข้าใกล้สัตบุรุษทั้งหลายเลย
ฝ่ายคนเหล่าใดเข้าใกล้สัตบุรุษผู้มี
ปัญญานับว่าเป็นปราชญ์ และศรัทธาของ
เขามีรากฐานมั่นคงในองค์พระสุคต คน
เหล่านั้นย่อมไปเทวโลก มิฉะนั้น เกิดใน
สกุล ณ โลกนี้ ก็จะเป็นบัณฑิตได้บรรลุ
พระนิพพานโดยลำดับ.

จบชัปปสูตรที่ 7

อรรถกถาชัปปสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในชัปปสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า มหปฺผลํ แปลว่า มีผลมาก. ในบทว่า ธมฺมสฺส จ
อนุธมฺมํ พฺยากโรนฺติ
นี้ พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้ ถ้อยคำที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสแล้ว ชื่อว่า พระธรรม. การตรัสทบทวนซึ่งข้อความที่ตรัส
แล้ว ชื่อว่า อนุธรรม.