เมนู

อรรถกถาปโลภสูตร



พึงทราบวินิจฉัยใน ปโลภสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อาจริยปาจริยานํ ความว่า ทั้งอาจารย์ทั้งหลาย ทั้งอาจารย์
ของอาจารย์ทั้งหลาย. บทว่า อวีจิ มญฺเญ ผุฏโฐ โหติ ความว่า
เต็มเปี่ยมไปด้วยมนุษย์ทั้งหลาย เหมือนอเวจีมหานรกที่สัตว์สัมผัสแล้ว คือ
เต็มเปี่ยมไปด้วยเหล่าสัตว์นรกชั่วนิรันดร. บทว่า กุกฺกุฏสมฺปาติกา ความว่า
การบินตกของไก่ กล่าวคือ การที่ไก่บินไปจากหลังคาของหมู่บ้านแห่งหนึ่ง
ไปตกลงที่หลังคาหมู่บ้านอีกหมู่หนึ่ง มีอยู่ในหมู่บ้านเหล่านี้ เพราะเหตุนั้น
หมู่บ้านเหล่านี้ จึงชื่อว่า กุกกุฏสัมปาติกะ (มีอยู่ชั่วไก่บินตก) ปาฐะว่า
กุกฺกุฏสมฺปาทิกา ก็มี. มีอธิบายว่า การตกของไก่ กล่าวคือการย่างเดินไป
ของไก่จากละแวกหมู่บ้าน สู่ละแวกหมู่บ้าน มีอยู่ในหมู่บ้านเหล่านี้. แม้ทั้ง
สองบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงการอยู่กันอย่างหนาแน่นทั้งนั้น.
บทว่า อธมฺมราครตฺตา ความว่า ราคะเป็นอธรรมโดยส่วนเดียว
เท่านั้น แต่ราคะที่เกิดขึ้นในบริขารของตน ไม่ทรงหมายเอาว่าเป็นอธรรมราคะ
ราคะที่เกิดขึ้นในบริขารของคนอื่น จึงทรงประสงค์เอาความเป็นอธรรมราคะ.
บทว่า วิสมโลภาภิภูตา ความว่า ขึ้นชื่อว่าโลภะ จะมีเวลาสม่ำเสมอ
ไม่มี. โลภะนี้ไม่สม่ำเสมอโดยส่วนเดียวเท่านั้น แต่ว่าเมื่อเกิดขึ้นในวัตถุที่ตน
หวงแหน ชื่อว่า สมโลภะ ที่เกิดขึ้นในวัตถุที่ผู้อื่นหวงแหนเท่านั้น ทรงประสงค์
เอาว่า วิสมโลภะ. บทว่า มิจฺฉาธมฺมปเรตา ความว่า ประกอบด้วยธรรม
ฝ่ายผิด กล่าวคือการซ่องเสพสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ.

บทว่า เทโว น สมฺมา ธารํ อนุปฺปเวจฺฉติ ความว่า ฝนไม่ตก
ในเวลาที่ควรจะตก. บทว่า ทุพฺภิกฺขํ ได้แก่ภิกษาที่หาได้ยาก. บทว่า
ทุสฺสสฺสํ ความว่า ชื่อว่า ข้าวกล้าเสียหาย เพราะข้าวกล้านานาชนิดไม่เผล็ดผล.
บทว่า เสตฏฺฐิกํ ความว่า เมื่อข้าวกล้ากำลังออกรวง หมู่หนอนจะลงกิน
รวงข้าวที่ออกแล้ว จะมีสีขาว ไม่มีเนื้อ เพราะถูกหนอนเหล่านั้นชอนไช.
ทรงหมายเอาข้าวลีบนั้นตรัสว่า เสตฏฺฐิกํ ดังนี้. บทว่า สลากวุตฺตํ
ความว่า ข้าวกล้าที่หว่านแล้ว ๆ งอกงามเพียงตั้งลำต้นเท่านั้น อธิบายว่า
ไม่ออกรวง. บทว่า ยกฺขา ได้แก่ยักษ์ผู้เป็นอธิบดี. บทว่า วาเฬ อมนุสฺเส
โอสฺสชฺชนฺติ
ความว่า ปล่อยยักษ์ร้ายไปในถิ่นมนุษย์. ยักษ์เหล่านั้น
ได้โอกาส ย่อมทำให้มหาชนถึงความสิ้นชีวิต.
จบอรรถกถาปโลภสูตรที่ 6

7. ชัปปสูตร



ว่าด้วยผู้รับที่ทำให้ทานมีผลมาก



[497] ครั้งนั้น ปริพาชกวัจฉโคตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ฯลฯ ปริพาชกวัจฉโคตรนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้วกราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระเจ้าได้ยินเขาว่า พระ-
สมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า ทานควรให้แก่เราเท่านั้น ไม่ควรให้แก่คนอื่น ๆ
ควรให้แก่สาวกของเราเท่านั้น ไม่ควรให้แก่สาวกของคนอื่น ๆ ทานที่ให้แก่
เราเท่านั้นมีผลมาก ให้แก่คนอื่น ๆ ไม่มีผลมาก ให้แก่สาวกของเราเท่านั้น
มีผลมาก ให้แก่สาวกของคนอื่น ๆ ไม่มีผลมาก ดังนี้ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ