เมนู

ฉันเดียวกัน ครั้นเมื่อโลกอันชรา-
มรณะไหม้อยู่อย่างนี้แล้ว ชาวโลกพึงขน
ออกด้วยการให้ทานเถิด สิ่งที่ให้เป็นทาน
ไปแล้ว จัดว่าได้ขนออกอย่างดีแล้ว
ความสำรวมทางกายทางวาจาทางใจ
อันใดในโลกนี้ คือเมื่อยังเป็นอยู่บุคคลอยู่ได้
ทำบุญอันใดไว้ บุญอันนั้นย่อมเป็นไปเพื่อ
ความสุขแก่เขาผู้ละ (โลกนี้) ไป.

จบทุติยชนสูตรที่ 2

อรรถกถาทุติยชนสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในทุติยชนสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า ภาชนํ ได้แก่ ภัณฑะอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทที่เหลือพึงทราบ
ตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว ในสูตรที่ 1.
จบอรรถกถาทุติยชนสูตรที่ 2

3. พราหมณสูตร



ว่าด้วยธรรมคุณ



[493] ครั้งนั้น พราหมณ์ผู้หนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นเข้าไปถึงแล้วชื่นชมกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ พราหมณ์นั้นนั่ง ณ ที่
ควรส่วนหนึ่งแล้ว กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ที่ว่า พระธรรมเป็นสนฺทิฏฺฐิโก สนฺทิฏฺฐิโก ด้วยเหตุเท่าไร พระธรรมจึงเป็น
สนฺทิฏฺฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญูหิ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า พราหมณ์ คนที่เกิดราคะแล้ว อัน
ราคะครอบงำแล้ว มีจิตอันราคะกลุ้มรุมแล้ว ย่อมคิดเพื่อทำตนให้ลำบาก
บ้าง เพื่อทำคนอื่นให้ลำบากบ้าง เพื่อทำให้ลำบากด้วยกันทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง
ย่อมรู้สึกทุกข์โทมนัสในใจบ้าง ครั้นละราคะเสียได้แล้ว เขาก็ไม่คิดเพื่อทำตน
ให้ลำบาก ฯลฯ ไม่รู้สึกทุกข์โทมนัสในใจ อย่างนี้แล พราหมณ์ พระธรรม
เป็นสนฺทิฏฺฐิริโก...
คนที่เกิดโทสะแล้ว อันโทสะครอบงำแล้ว มีจิตอันโทสะกลุ้มรุม
แล้ว ...คนที่เกิดโมหะแล้ว อันโมหะครอบงำแล้ว มีจิตอันโมหะกลุ้มรุม
แล้ว ย่อมคิดเพื่อทำตนให้ลำบากบ้าง ฯลฯ ย่อมรู้สึกทุกข์โทมนัสในใจบ้าง
ครั้นละโทสะ...โมหะเสียได้แล้ว เขาก็ไม่คิดเพื่อทำตนให้ลำบาก ฯลฯ ไม่
รู้สึกทุกข์โทมนัสในใจ แม้อย่างนี้ พราหมณ์ พระธรรมเป็นสนฺทิฏฺฐิโก...
พราหมณ์นั้นกราบทูล (สรรเสริญพระธรรมเทศนาและแสดงตนเป็น
อุบาสก) ว่า ดีจริง ๆ พระโคดมผู้เจริญ พระโคคมผู้เจริญบอกพระธรรม
หลายปริยาย เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปกปิด บอกทางแก่คนหลง