เมนู

10. อาตัปปสูตร



ว่าด้วยความเพียร 3 ประการ



[489] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเพียรพึงกระทำโดยสถาน 3
สถาน 3 คืออะไร คือ ความเพียรพึงกระทำเพื่อยังธรรมที่เป็นบาปอกุศลอันยิ่ง
ไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น 1 เพื่อยังธรรมที่เป็นกุศลอันยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น 1 เพื่ออด
กลั้นซึ่งเวทนาที่เกิดในกาย อันเป็นทุกข์กล้าแข็งเผ็ดร้อนขมขื่นไม่เจริญใจพอ
จะคร่าชีวิตได้ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุทำความเพียรเพื่อยังธรรมที่เป็น
บาปอกุศลอันยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น เพื่อยังธรรมที่เป็นกุศลอันยังไม่เกิดให้
เกิดขึ้น เพื่ออดกลั้นซึ่งเวทนาที่เกิดในกายอันเป็นทุกข์กล้าแข็งเผ็ดร้อน ขม
ขึ้นไม่เจริญใจพอจะคร่าชีวิตได้ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้มีความเพียร มี
ปัญญา มีสติ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ.
จบอาตัปปสูตรที่ 10

อรรถกถาอาตัปปสูตร



พึงทราบวินิจฉัย ในอาตัปปสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อาตปฺปํ กรณียํ ความว่า ควรประกอบความเพียร. บทว่า
อนุปฺปาทาย ความว่า เพื่อต้องการไม่ให้เกิดขึ้น อธิบายว่า ต้องทำด้วย
เหตุนี้ คือ ด้วยคิดว่า เราจักตรวจตราไม่ให้กิเลสเกิดขึ้น. แม้ต่อจากนี้ไป
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า สารีริกานํ ได้แก่ ที่เกิดในสรีระ. บทว่า ทุกฺขานํ ความว่า
(เวทนาทั้งหลาย) ที่เป็นทุกข์. บทว่า ติปฺปานํ ได้แก่หนาแน่น หรือกล้า
ด้วยสามารถแห่งการแผดเผา. บทว่า ขรานํ ได้แก่หยาบ. บทว่า กฏฺกานํ
ได้แก่เผ็ดร้อน. บทว่า อสาตานํ ได้แก่ไม่หวาน. บทว่า อมนาปานํ
ได้แก่ไม่สามารถให้เจริญใจได้. บทว่า ปาณหรานํ ได้แก่ ตัดชีวิต. บทว่า
อธิวาสนาย ได้แก่เพื่อต้องการยับยั้ง คือเพื่อต้องการอดทน ได้แก่เพื่อ
ต้องการอดกลั้น.
พระศาสดาครั้นทรงบังคับ คือทรงยังอาณัติสงฆ์ให้เป็นไปในฐานะ
มีประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงชักชวน (ภิกษุทั้งหลาย) จึงตรัสคำ
มีอาทิว่า ยโต โข ภิกฺขเว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโต ได้แก่ ยทา แปลว่าเมื่อใด.
บทว่า อาตาปี ได้แก่มีความเพียร. บทว่า นิปโก ได้แก่มีปัญญา. บทว่า
สโต ได้แก่ประกอบด้วยสติ. บทว่า ทุกฺขสฺส อนฺตกิริยาย ได้แก่เพื่อ
ทำทางรอบด้านแห่งวัฏทุกข์ให้ขาดตอน. คุณธรรม 3 อย่างมีความเพียรเป็นต้น
เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคละกันทั้งโลกิยะ และโลกุตระ.
จบอรรถกถาอาตัปปสูตรที่ 10

11. มหาโจรสูตร



ว่าด้วยองค์ของโจรและของภิกษุอลัชชี



[490] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรได้องค์ 3 ย่อมตัดช่องย่องเบา
บ้าง ปล้นสะดมบ้าง ทำการล้อมบ้านหลังเดียวแล้วปล้นบ้าง คอยดักชิงเอาที่
ทางเปลี่ยวบ้าง องค์ 3 คืออะไร คือ มหาโจรได้อาศัยที่อันขรุขระ 1 ได้อาศัย
ป่าชัฏ 1 ได้พึ่งพิงผู้มีอำนาจ.
มหาโจรอาศัยที่อันขรุขระอย่างไร มหาโจรอาศัยแม่น้ำเขินหรือหุบเขา
อย่างนี้ มหาโจร ชื่อว่า อาศัยที่อันขรุขระ
มหาโจรอาศัยที่ป่าชัฏอย่างไร มหาโจรอาศัยพงหญ้าหรือดงไม้หรือตลิ่ง
หรือราวป่าใหญ่ อย่างนี้ มหาโจร ชื่อว่า อาศัยที่ป่าชัฏ
มหาโจรได้พึ่งพิงผู้มีอำนาจอย่างไร มหาโจรได้พึ่งพิงท้าวพญา หรือ
ราชมหาอำมาตย์ มันมั่นใจอย่างนี้ว่า ถ้าใคร ๆ จักว่าอะไร ๆ มัน ท้าวพญา
หรือราชมหาอำมาตย์ก็จักช่วยกลบเกลื่อนคดีให้มัน ถ้าใคร ๆ ว่าอะไร ๆ มัน
ท้าวพญาหรือราชมหาอำมาตย์เหล่านั้นก็ช่วยกลบเกลื่อนคดีให้มัน อย่างนี้ มหา-
โจร ชื่อว่า ได้พึ่งพิงผู้มีอำนาจ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรได้องค์ 3 นี้แล ย่อมตัดช่องย่องเบา
ปล้นสะดมและตีชิง
ฉันเดียวกันนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชั่วประกอบด้วยธรรม 3
ชื่อว่าครองตนอันถูกก่น (ขุดรากคือความดี) ถูกประหาร (ตายจากคุณธรรม)
แล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ ผู้รู้ติเตียน และได้ประสบสิ่งอันไม่เป็นบุญ
มากด้วย ธรรม 3 คืออะไร คือ ภิกษุชั่วอาศัยที่อันขรุขระ 1 อาศัยที่ป่าชัฏ 1
พึ่งพิงผู้มีอำนาจ 1.