เมนู

ต้นไม้ใหญ่ ๆ ได้อาศัยภูเขาหินใน
ป่าสูง ย่อมเจริญ แม้ฉันใด บุตรภริยา
พวกพ้อง เพื่อน หมู่ญาติ และบ่าวไพร่
ได้อาศัยกุลบดีบุคคลผู้มีศรัทธาถึงพร้อม
ด้วยศีลย่อมเจริญในโลกนี้ ฉันนั้นแล
ชนเหล่านั้น ผู้ที่มีสติปัญญาเห็นอยู่
ซึ่งศีล การบริจาค และสุจริตของกุลบดี
บุคคลนั้น ย่อมประพฤติตาม
ชนผู้ใคร่กาม (เหล่านั้น) ครั้น
ประพฤติธรรมอันเป็นบรรดาไปสู่สุคติใน
โลกนี้แล้ว (ละโลกนี้ไปแล้ว) ย่อมเป็น
ผู้มีความยินดีบันเทิงอยู่ในเทวโลก.

จบปัพพตสูตรที่ 9

อรรถกถาปัพพสูตร



พึงทราบวินิจฉัย ในปัพพทสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้:-
ต้นไม้ใหญ่ ๆ ชื่อว่า มหาสาลา. ผู้เจริญที่สุดในตระกูล ชื่อว่า
กุลปติบุคคล. ภูเขาศิลา ชื่อว่า เสโล. บทว่า อรญฺญสฺมึ ได้แก่ในสถานที่
ไม่ใช่บ้าน. บทว่า พฺรหา แปลว่าใหญ่. บทว่า วเน ได้แก่ ดง. ต้นไม้
ที่ใหญ่ที่สุดในป่า ชื่อว่า วนัปปัตติ (เจ้า ไพร). บทว่า อิธ ธมฺมํ จริตฺวาน
มคฺคํ สุคติคามินํ
ความว่า ประพฤติธรรมกล่าวคือ มรรคที่จะให้ดำเนิน
ไปสู่สุคติ.
จบอรรถกถาปัพพตสูตรที่ 9

10. อาตัปปสูตร



ว่าด้วยความเพียร 3 ประการ



[489] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเพียรพึงกระทำโดยสถาน 3
สถาน 3 คืออะไร คือ ความเพียรพึงกระทำเพื่อยังธรรมที่เป็นบาปอกุศลอันยิ่ง
ไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น 1 เพื่อยังธรรมที่เป็นกุศลอันยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น 1 เพื่ออด
กลั้นซึ่งเวทนาที่เกิดในกาย อันเป็นทุกข์กล้าแข็งเผ็ดร้อนขมขื่นไม่เจริญใจพอ
จะคร่าชีวิตได้ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุทำความเพียรเพื่อยังธรรมที่เป็น
บาปอกุศลอันยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น เพื่อยังธรรมที่เป็นกุศลอันยังไม่เกิดให้
เกิดขึ้น เพื่ออดกลั้นซึ่งเวทนาที่เกิดในกายอันเป็นทุกข์กล้าแข็งเผ็ดร้อน ขม
ขึ้นไม่เจริญใจพอจะคร่าชีวิตได้ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้มีความเพียร มี
ปัญญา มีสติ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ.
จบอาตัปปสูตรที่ 10

อรรถกถาอาตัปปสูตร



พึงทราบวินิจฉัย ในอาตัปปสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อาตปฺปํ กรณียํ ความว่า ควรประกอบความเพียร. บทว่า
อนุปฺปาทาย ความว่า เพื่อต้องการไม่ให้เกิดขึ้น อธิบายว่า ต้องทำด้วย
เหตุนี้ คือ ด้วยคิดว่า เราจักตรวจตราไม่ให้กิเลสเกิดขึ้น. แม้ต่อจากนี้ไป
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.