เมนู

อรรถกถาอสังขตสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอสังขตสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อสงฺขตสฺส ได้แก่ ที่ปัจจัยทั้งหลายไม่ได้ประมวลมาสร้าง
(ไม่ได้ปรุงแต่ง). เครื่องหมายที่เป็นเหตุให้รู้กันได้ว่า สิ่งนี้ไม่ใช่ปัจจัยปรุงแต่ง
ชื่อว่า อสังขตลักษณะ. ด้วยบทว่า น อุปฺปาโท ปญฺญายติ เป็นต้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึง ความไม่มีแห่งความเกิดขึ้น ทั้งความแก่ และความ
แตกดับ. ก็เพราะไม่มีลักขณะ มีการเกิดขึ้นเป็นต้น จึงปรากฏเป็นอสังขตะ.
จบอรรถกถาอสังขตสูตรที่ 8

9. ปัพพตสูตร



ว่าด้วยการพึ่งพาอาศัยเป็นเหตุให้เจริญ


[488] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ทั้งหลาย ได้อาศัยขุนเขา
หิมพานต์ ย่อมเจริญด้วยความเจริญ 3 ประการ ด้วยความเจริญ 3 คืออะไร
คือ เจริญด้วยกิ่ง ใบอ่อน ใบแก่ เจริญด้วยเปลือกและกะเทาะ เจริญด้วยกระพี้
และแก่น ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ทั้งหลายได้อาศัยขุนเขาหิมพานต์ ย่อม
เจริญด้วยความเจริญ 3 นี้
ฉันเดียวกันนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย อันโตชนได้อาศัยกุลบดีบุคคลผู้มี
ศรัทธา ย่อมเจริญด้วยความเจริญ 3 ประการ ด้วยความเจริญ 3 คืออะไร
คือ เจริญด้วยศรัทธา เจริญด้วยศีล เจริญด้วยปัญญา ภิกษุทั้งหลาย อันโตชน
ได้อาศัยกุลบดีบุคคลผู้มีศรัทธา ย่อมเจริญด้วยความเจริญ 3 นี้แล.

ต้นไม้ใหญ่ ๆ ได้อาศัยภูเขาหินใน
ป่าสูง ย่อมเจริญ แม้ฉันใด บุตรภริยา
พวกพ้อง เพื่อน หมู่ญาติ และบ่าวไพร่
ได้อาศัยกุลบดีบุคคลผู้มีศรัทธาถึงพร้อม
ด้วยศีลย่อมเจริญในโลกนี้ ฉันนั้นแล
ชนเหล่านั้น ผู้ที่มีสติปัญญาเห็นอยู่
ซึ่งศีล การบริจาค และสุจริตของกุลบดี
บุคคลนั้น ย่อมประพฤติตาม
ชนผู้ใคร่กาม (เหล่านั้น) ครั้น
ประพฤติธรรมอันเป็นบรรดาไปสู่สุคติใน
โลกนี้แล้ว (ละโลกนี้ไปแล้ว) ย่อมเป็น
ผู้มีความยินดีบันเทิงอยู่ในเทวโลก.

จบปัพพตสูตรที่ 9

อรรถกถาปัพพสูตร



พึงทราบวินิจฉัย ในปัพพทสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้:-
ต้นไม้ใหญ่ ๆ ชื่อว่า มหาสาลา. ผู้เจริญที่สุดในตระกูล ชื่อว่า
กุลปติบุคคล. ภูเขาศิลา ชื่อว่า เสโล. บทว่า อรญฺญสฺมึ ได้แก่ในสถานที่
ไม่ใช่บ้าน. บทว่า พฺรหา แปลว่าใหญ่. บทว่า วเน ได้แก่ ดง. ต้นไม้
ที่ใหญ่ที่สุดในป่า ชื่อว่า วนัปปัตติ (เจ้า ไพร). บทว่า อิธ ธมฺมํ จริตฺวาน
มคฺคํ สุคติคามินํ
ความว่า ประพฤติธรรมกล่าวคือ มรรคที่จะให้ดำเนิน
ไปสู่สุคติ.
จบอรรถกถาปัพพตสูตรที่ 9