เมนู

6. ศีลสูตร



ว่าด้วยบ่อเกิดของบุญ



[485] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้มีศีล เข้าอาศัยหมู่บ้าน
หรือตำบลใดอยู่ คนโนหมู่บ้านหรือตำบลนั้น ย่อมได้บุญมาก ด้วยสถาน 3
สถาน 3 คืออะไร คือ ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ บรรพชิตผู้มีศีล
เข้าอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดอยู่ คนในหมู่บ้านหรือตำบลนั้น ย่อมได้บุญ
มากด้วยสถาน 3 นี้แล.
จบศีลสูตรที่ 6

อรรถกถาศีลสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในศีลสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า ตีหิ ฐาเนหิ ความว่า ด้วยเหตุ 3 อย่าง. ในบทว่า กาเยน
เป็นต้น มีอธิบายว่า คนทั้งหลายเห็นภิกษุทั้งหลายเดินมาจะทำการต้อนรับ
เมื่อไปก็ตามส่ง กระทำการนวดและชโลม (ด้วยน้ำมัน ) เป็นต้น ปูอาสนะ
ไว้บนอาสนศาลา ตั้งน้ำดื่มไว้ ชื่อว่า ย่อมได้บุญด้วยกาย.
คนทั้งหลายเห็นภิกษุสงฆ์กำลังเดินบิณฑบาต เมื่อกล่าวคำเป็นต้นว่า
ท่านทั้งหลายจงถวายข้าวยาคู ข้าวสวย เนยใสและเนยข้นเป็นต้น จงบูชาด้วย
ของหอมและดอกไม้เป็นต้น จงรักษาอุโบสถ จงฟังธรรม และจงไหว้พระ-
เจดีย์เถิด ดังนี้ ชื่อว่า ได้บุญด้วยวาจา.

คนทั้งหลายเห็นภิกษุทั้งหลายกำลังเที่ยวบิณฑบาต เมื่อคิดว่า ขอให้
ชาวบ้านจงถวายทานเถิดดังนี้ ชื่อว่า ได้บุญด้วยใจ.
บทว่า ปสวนฺติ แปลว่า ได้เฉพาะ. ก็ในพระสูตรนี้ พระองค์
ตรัสบุญที่เจือด้วยโลกิยะและโลกุตระ.
จบอรรถกถาศีลสูตรที่ 6

7. สังขตสูตร



ว่าด้วยลักษณะแห่งสังขตธรรม 3 ประการ


[486] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรม 3 นี้
3 คืออะไร คือ ความเกิดขึ้น ( ในเบื้องต้น ) ย่อมปรากฏ ความเสื่อมสิ้นไป
(ในที่สุด) ย่อมปรากฏ เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรไปย่อมปรากฏ ภิกษุทั้งหลาย
สังขตลักษณะของสังขตธรรม 3 ประการนี้แล.
จบสังขตสูตรที่ 7

อรรถกถาสังขตสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสังขตสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า สํขตสฺส ความว่า อันปัจจัยทั้งหลายมารวมกันสร้าง
(ปรุงแต่ง). เครื่องหมายที่เป็นเหตุให้หมายรู้ว่า สิ่งนี้ อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
ชื่อว่า สังขตลักษณะ. บทว่า อุปฺปาโท ได้แก่ ความเกิด. ความแตกดับ
ชื่อว่า ความเสื่อม ความแก่ ชื่อว่า ความแปรไปของผู้ที่ดำรงอยู่แล้ว
ธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3 ชื่อว่า สังขตะ ในบทว่า สงฺขตสฺส นั้น
แต่มรรคผลพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสไว้ในพระสูตรนี้ เพราะไม่เข้าถึงการ