เมนู

ทาน อหิงสา สัญญมะ ทมะ การ
บำรุงมารดาและบิดา เป็นข้อที่สัตบุรุษ
ทั้งหลายตั้งขึ้นไว้ ข้อเหล่านั้นเป็นฐานะแห่ง
สัตบุรุษผู้สงบระงับเป็นพรหมจารี ซึ่งเป็น
ฐานะที่บัณฑิตพึงเสพ บัณฑิต (ผู้เสพ
ฐานะเหล่านั้น) เป็นอริยะ ถึงพร้อมด้วย
ความเห็น ย่อมไปสู่โลกอันเกษม.

จบปัณฑิตสูตรที่ 5

อรรถกถาปัณฑิตสูตร



พึงทราบวินิจฉัย ในปัณฑิตสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า ปณฺฑิตปญฺญตฺตานิ ความว่า อันบัณฑิตทั้งหลายบัญญัติไว้
คือกล่าวไว้ ได้แก่สรรเสริญแล้ว. บทว่า สปฺปุริสปญฺญตฺตานิ ความว่า
อันสัตบุรุษทั้งหลาย คือ มหาบุรุษทั้งหลาย บัญญัติไว้แล้ว คือกล่าวไว้แล้ว
ได้แก่สรรเสริญแล้ว.
ทั้งกรุณา ทั้งธรรมที่เป็นเบื้องต้นของกรุณา ชื่อว่า อหิงสา. การ
สำรวมในศีล ชื่อว่า สังยมะ. การสำรวมอินทรีย์ หรือการฝึกตนด้วยอุโบสถ
ชื่อว่า ทมะ. ส่วนในปุณโณวาทสูตร พระองค์ตรัสเรียกขันตว่า ทมะ.
แม้ปัญญาที่ตรัสไว้ ในอาฬวกสูตร ก็เหมาะสมในพระสูตรนี้เหมือนกัน.

การรักษาคุ้มครองปรนนิบัติมารดาบิดา ชื่อว่า การบำรุงมารดาบิดา.
บทว่า สนฺตานํ ความว่า ในสูตรอื่น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
และพระอริยสาวกทั้งหลาย ชื่อว่า สัตบุรุษ แต่ในพระสูตรนี้ ทรงประสงค์เอา
ผู้บำรุงเลี้ยงมารดาบิดา. เพราะเหตุนั้น บุคคลเหล่านั้นชื่อว่า สัตบุรุษ เพราะ
หมายความว่า สูงสุด ชื่อว่า พรหมจารี เพราะหมายความว่า ประพฤติ
ประเสริฐที่สุด. การบำรุงมารดาบิดานี้ สัตบุรุษทั้งหลาย บัญญัติไว้แล้ว
พึงทราบเนื้อความในเรื่องนี้ ดังพรรณนามานี้แล.
บทว่า สตํ เอตานิ ฐานานิ ความว่า ข้อเหล่านี้เป็นฐานะ คือ
เป็นเหตุของสัตบุรุษทั้งหลาย. บุคคลผู้ทั้งประเสริฐ ทั้งถึงพร้อมด้วยทัศนะ
(ความเห็น) เพราะเหตุ 3 สถานเหล่านี้แหละ พึงทราบว่าเป็น อริยะและถึง
พร้อมด้วยความเห็น
ในพระสูตรนี้ ไม่ใช่พระพุทธเจ้าเป็นต้น และไม่ใช่
พระโสดาบัน.
อีกนัยหนึ่ง พึงทราบอรรถาธิบาย แห่งพระคาถานี้ ด้วยสามารถ
แห่งการบำรุงมารดาบิดาอย่างนี้ว่า เหตุของสัตบุรุษทั้งหลาย ได้แก่อุดมบุรุษ
ทั้งหลายเหล่านี้ คือ การบำรุงมารดา 1 การบำรุงบิดา 1 ชื่อว่า ฐานะเหล่านี้
ของสัตบุรุษทั้งหลาย จริงอยู่ ผู้บำรุงมารดาบิดาเท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า เป็นอริยะและถึงพร้อมด้วยทัศนะ ในพระสูตรนี้. บทว่า
โลกํ ภชเต สิวํ
ความว่า ผู้นั้นย่อมไปสู่เทวโลกอันเป็นแดนเกษม.
จบอรรถกถาปัณฑิตสูตรที่ 5

6. ศีลสูตร



ว่าด้วยบ่อเกิดของบุญ



[485] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้มีศีล เข้าอาศัยหมู่บ้าน
หรือตำบลใดอยู่ คนโนหมู่บ้านหรือตำบลนั้น ย่อมได้บุญมาก ด้วยสถาน 3
สถาน 3 คืออะไร คือ ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ บรรพชิตผู้มีศีล
เข้าอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดอยู่ คนในหมู่บ้านหรือตำบลนั้น ย่อมได้บุญ
มากด้วยสถาน 3 นี้แล.
จบศีลสูตรที่ 6

อรรถกถาศีลสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในศีลสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า ตีหิ ฐาเนหิ ความว่า ด้วยเหตุ 3 อย่าง. ในบทว่า กาเยน
เป็นต้น มีอธิบายว่า คนทั้งหลายเห็นภิกษุทั้งหลายเดินมาจะทำการต้อนรับ
เมื่อไปก็ตามส่ง กระทำการนวดและชโลม (ด้วยน้ำมัน ) เป็นต้น ปูอาสนะ
ไว้บนอาสนศาลา ตั้งน้ำดื่มไว้ ชื่อว่า ย่อมได้บุญด้วยกาย.
คนทั้งหลายเห็นภิกษุสงฆ์กำลังเดินบิณฑบาต เมื่อกล่าวคำเป็นต้นว่า
ท่านทั้งหลายจงถวายข้าวยาคู ข้าวสวย เนยใสและเนยข้นเป็นต้น จงบูชาด้วย
ของหอมและดอกไม้เป็นต้น จงรักษาอุโบสถ จงฟังธรรม และจงไหว้พระ-
เจดีย์เถิด ดังนี้ ชื่อว่า ได้บุญด้วยวาจา.