เมนู

วังสปฏิปทาสูตร จึงเดินทางไปสิ้นระยะทาง 5 โยชน์ เข้าไปยังวิหาร ในเวลา
ที่พระเถระผู้เทศน์ตอนกลางวันนั่งเทศน์อยู่ ให้ลูกนอนบนพื้นดิน ยืนฟังธรรม
ของพระเถระผู้เทศน์ในกลางวัน. แม้พระเถระแสดงบทภาณ ก็ยืนฟังเหมือนกัน
เมื่อพระเถระผู้เทศน์บทภาณลุกขึ้นแล้ว พระมหาเถระผู้กล่าวทีฆนิกาย ก็เริ่ม
แสดงมหาอริยวงศ์พรรณนาถึงการสันโดษด้วยปัจจัย 4 และการยินดีด้วยภาวนา.
นางยืนประณมมือฟัง พระเถระแสดงปัจจัย 3 แล้ว ทำอาการจะลุกขึ้น
นางจึงเรียนว่า พระคุณเจ้าทั้งหลายคิดว่า จักเทศน์อริยวงศ์แล้ว ฉันโภชนะที่
อร่อย ดื่มน้ำที่มีรสหวาน ปรุงยาด้วยชะเอมเครือ และน้ำมันเป็นต้น แล้ว
จึงขึ้นที่ที่ควรจะแสดง (ธรรมาสน์) พระเถระกล่าวว่า ดีแล้ว น้องหญิง
แล้วเริ่มธรรมอันเป็นความยินดีในภาวนาต่อไป. อรุณขึ้นไป 1 พระเถระ
กล่าวคำว่า อิทมโวจ 1 อุบาสิกาได้บรรลุโสดาปัตติผล 1 (3 อย่างนี้) ได้มี
ในขณะเดียวกัน.

เรื่องหญิงชาวบ้านกาฬุมพระ



หญิงอีกคนหนึ่ง เป็นชาวบ้านกาฬุมพระ อุ้มลูกไปยังจิตตลบรรพต
ด้วยคิดว่า จักฟังธรรม ให้ลูกนอนพิงต้นไม้ต้นหนึ่ง ตนเองยืนฟังธรรม.
ในระหว่างรัตติภาค งูตัวหนึ่งกัดเด็กที่นอนอยู่ใกล้ ๆ นาง ทั้ง ๆ ที่ดูอยู่
เข้าสี่เขี้ยว แล้วหนีไป. นางคิดว่า ถ้าเราจักบอกว่า ลูกของเราถูกงูกัดไซร้
จักเป็นอันตรายแก่การฟังธรรม เมื่อเรายังเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ เด็กคนนี้
ได้เป็นลูกของเรามาหลายครั้งแล้ว เราจักประพฤติธรรมเท่านั้น แล้วยืนอยู่
ตลอดทั้ง 3 ยาม ประคองธรรมไว้ ได้บรรลุโสดาปัตติผล เมื่ออรุณขึ้นแล้ว
ทำลายพิษ (งู) ในบุตรด้วยการทำสัจกิริยา แล้วอุ้มบุตรไป คนเห็นปานนี้
ย่อมชื่อว่า เป็นผู้ใคร่การฟังธรรม.
จบอรรถกถาฐานสูตรที่ 2

3. ปัจจยวัตตสูตร



ว่าด้วยประโยชน์ 3 ที่ผู้แสดงธรรมสมควรพิจารณา



[482] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเห็นอำนาจประโยชน์ 3 ก็ควร
เทียวที่จะแสดงธรรมแก่คนอื่น ประโยชน์ คืออะไร คือ ผู้ใดแสดงธรรม
ผู้นั้นย่อมเป็นผู้ได้รสอรรถได้รสธรรม ผู้ใดฟังธรรมผู้นั้นย่อมเป็นผู้ได้รสอรรถ
ได้รสธรรม ผู้แสดงธรรมและผู้ฟังธรรมย่อมเป็นผู้ได้รสอรรถได้รสธรรม
ด้วยกัน ทั้งสองฝ่าย ภิกษุทั้งหลายเมื่อเห็นอำนาจประโยชน์ 3 นี้แล ควรเทียวที่
จะแสดงธรรมแก่คนอื่น.
จบปัจจยวัตตสูตรที่ 3

อรรถกถาปัจจยวัตตสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในปัจจยวัตตสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า ตโย ภิกฺขเว อตฺถวเส สปฺปสฺสมาเนน ความว่า
เห็นประโยชน์ 3 อย่าง คือเหตุ 3 อย่าง. บทว่า อลเมว แปลว่า ควรแล้ว
ทีเดียว. บทว่า โย ธมฺมํ เทเสติ ความว่า บุคคลใดประกาศสัจธรรม
ทั้ง 4. บทว่า อตฺถปฏิสํเวที ความว่า แตกฉานอรรถกถาด้วยญาณ.
บทว่า ธมฺมปฏิสํเวที ความว่า แตกฉานธรรมที่เป็นบาลี.
จบอรรถกถาปัจจยวัตตสูตรที่ 3