เมนู

อรรถกถามลสูตร



พึงทราบวินิจฉัย ในมลสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้:-
ภาวะของบุคคลทุศีล ชื่อว่า ทุสสียะ. ทุสสีลยะนั้นแหละเป็น
มลทิน จึงชื่อว่า ทุสสีลยมละ.

ความหมายของมลทิน



ถามว่า ที่ชื่อว่ามลทิน เพราะหมายความว่าอย่างไร.
ตอบว่า เพราะหมายความว่าตามเผาไหม้ 1 เพราะหมายความว่า มี
กลิ่นเหม็น 1 เพราะหมายความว่า ทำให้เศร้าหมอง 1.
อธิบายว่า มลทินนั้น ย่อมตามเผาไหม้สัตว์ ในอบายทั้งหลาย
มีนรกเป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็นมลทิน เพราะหมายความว่า ตาม
เผาไหม้บ้าง.
บุคคลเกลือกกลั้วด้วยมลทินนั้น เป็นที่น่ารังเกียจ ทั้งในสำนักมารดา
บิดา ทั้งภายในภิกษุสงฆ์ ทั้งในโพธิสถาน และเจดียสถาน และกลิ่นอันเกิด
จากความไม่ดีของเขา ย่อมฟุ้งไปในทุกทิศว่า ผู้นั้นทำบาปกรรมเห็นปานนี้
เหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็นมลทิน เพราะหมายความว่า มีกลิ่นเหม็นบ้าง.
บุคคลผู้เกลือกกลั้วด้วยมลทินนั้น ย่อมได้รับความเดือดร้อนในที่ที่ไป
ถึง และกายกรรมเป็นต้นของเขาก็ไม่สะอาด ไม่ผ่องใส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
เป็นมลทิน เพราะหมายความว่า ทำให้เศร้าหมองบ้าง.
อีกอย่างหนึ่ง มลทินนั้น ย่อมทำเทวสมบัติ มนุษยสมบัติ และ
นิพพานสมบัติให้เหี่ยวแห้งไป เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่าเป็นมลทิน เพราะ
หมายความว่า ทำให้เหี่ยวแห้งบ้าง.

แม้ในมลทิน คือริษยา และมลทินคือความตระหนี่ ก็มีนัย อย่างนี้
เหมือนกัน.
จบอรรถกถามลสูตรที่ 10
จบพาลวรรควรรณนาที่ 1

รวมพระสูตรที่มีในพาลวรรคนี้ คือ


1. ภยสูตร 2. ลักขณสูตร 3. จินตสูตร 4. อัจจยสูตร 5.
อโยนิโสสูตร 6. อกุสลสูตร 7. สาวัชชสูตร 8. สัพยาปัชชสูตร 9.
ขตสูตร 10. มลสูตร และอรรถกถา.