เมนู

อรรถกถาอธิปไตยสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอธิปไตยสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้:-

อธิบายอธิปไตย 3



อธิปไตยที่เกิดจากเหตุที่สำคัญที่สุด ชื่อว่า อธิปไตย. ในบทว่า
อตฺตาธิปเตยฺยํ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ คุณชาตที่เกิดโดยทำ
ตนให้เป็นใหญ่ ชื่อว่า อัตตาธิปไตย. คุณชาติที่เกิดโดยทำชาวโลกให้เป็น
ใหญ่ ชื่อว่า โลกาธิปไตย. คุณชาติที่เกิดโดยทำโลกุตรธรรม 9 ให้เป็นใหญ่
ชื่อว่า ธัมมาธิปไตย.
บทว่า อิติภโว ในคำว่า น อิติภวาภวเหตุ หมายถึงภายใน
อนาคตอย่างนี้ (เราตถาคตออกบวชเป็นอนาคาริก) ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งภพ
ในอนาคตนั้น ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งปัจจุบันภพนั้น. บทว่า โอติณฺโณ คือ
แทรกซ้อน. ก็ชาติแทรกซ้อนอยู่ข้างในของบุคคลใด บุคคลนั้นชื่อว่า ถูกชาติ
ครอบงำ. แม้ในชราเป็นต้น ก็มีนัย นี้แล. บทว่า เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส
ได้แก่ กองวัฏทุกข์ทั้งหมด. บทว่า อนฺตกิริยา ปญฺญาเยถ ความว่า
การทำที่สุด คือ การทำทาง รอบด้านให้ขาดตอน พึงปรากฏ. ทำ
โอหาย แปลว่า ละ. บทว่า ปาปิฏฺฐตเร แปลว่า ต่ำช้ากว่า.
บทว่า อารทฺธํ ความว่า (ความเพียร) ที่ประคองไว้แล้ว คือให้
บริบูรณ์แล้ว และชื่อว่า ไม่ย่อหย่อน เพราะเริ่มแล้ว. บทว่า อุปฏฺฐิตา
ความว่า สติ ชื่อว่า ตั้งมั่นและไม่หลงลืม เพราะตั้งมั่นด้วยอำนาจสติปัฏฐาน 4.
บทว่า ปสฺสทฺโธ กาโย ความว่า นามกายและกรชกายสงบ คือ