เมนู

เหตุผลที่ตรัสสุขสมบัติของพระองค์



พระตถาคตตรัสเล่าถึงสิริสมบัติของพระองค์ ด้วยฐานะเพียงเท่านี้
ดังพรรณนามานี้ และเมื่อตรัสเล่า ก็หาได้ตรัสเล่าเพื่อความลำพองพระทัยไม่.
แต่ตรัสเล่าเพื่อทรงแสดงถึงลักษณะของความไม่ประมาทนั่นเองว่า เราตถาคต
สถิตอยู่ในสมบัติ แม้เห็นปานนี้ ก็ยังไม่ประมาทเลย. ด้วยเหตุนั้นแล พระองค์
จึงตรัสคำว่า อสฺสุตวา โข ปุถุชฺชโน เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ปรํ ได้แก่ บุคคลอื่น. บทว่า ชิณฺณํ ได้แก่ทรุดโทรมเพราะชรา.
บทว่า อฎฺฎิยติ ได้แก่ เป็นผู้เอือมระอา. บทว่า หรายติ ได้แก่ ทำความ
ละอาย คือ ละอายใจ. บทว่า ชิคุจฺฉติ ได้แก่ เกิดความรังเกียจขึ้นเหมือน
ได้เห็นของไม่สะอาด. บทว่า อตฺตานํเยว อติสิตฺวา ความว่า อึดอัด ระอา
ลืมตนว่ามีชราเป็นธรรมดา. บทว่า ชราธมฺโม ได้แก่ มีชราเป็นสภาพ.
บทว่า ชรํ อนตีโต ความว่า เราตถาคตไม่พ้นชราไปได้ ยังคงเป็นไปอยู่.
ภายในชรา. บทว่า อิติ ปฏิสญฺจิกฺขโต ได้แก่ ผู้พิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้.

ความเมา 3 อย่าง



ความเมาเพราะมานะที่อาศัยความเป็นหนุ่มเกิดขึ้น ชื่อว่าโยพพนมทะ.
บทว่า สพฺพโส ปหียิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความเมาที่ละ
ได้แล้ว โดยอาการทั้งปวงให้เป็นเหมือนว่าละได้แล้วด้วยมรรค. แต่นักศึกษา
พึงทราบว่า ความเมานี้ไม่ใช่ละได้ด้วยมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ละ
ได้ด้วยการพิจารณา (วิปัสสนา). เพราะว่าเทวดาทั้งหลายแสดงบุคคลผู้ประสบ
กับชรา แก่พระโพธิสัตว์. ตั้งแต่นั้นมาจนกระทั่งได้เป็นพระอรหันต์ ชื่อว่า

ความเมาในความเป็นหนุ่ม ไม่เกิดขึ้นแก่พระมหาสัตว์เลยในระหว่าง. แม้ใน
สองบทที่เหลือก็มีนัย นี้แล. อนึ่ง ในสองบทที่เหลือนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้
ความเมาด้วยอำนาจมานะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความไม่มีโรคว่า เราเป็นคน
ไม่มีโรค ชื่อว่า อโรคยมทะ. ความเมาด้วยอำนาจมานะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ชีวิตว่า เราเป็นอยู่มาได้นาน ชื่อว่า ชีวิตมทะ. บทว่า สิกฺขํ ปจฺจกฺขาย
ได้แก่ บอกคืนสิกขา. บทว่า หีนายาวตฺตติ ได้แก่ เวียนมาเพื่อภาวะที่เลว
คือ เพื่อเป็นคฤหัสถ์อันเป็นภาวะที่ต่ำ.
บทว่า ยถาธมฺมา ได้แก่ มีสภาวะเป็นอย่างใดด้วยสภาวะทั้งหลาย
มีความเจ็บป่วยเป็นต้น . บทว่า ตถาสนฺตา มีอธิบายว่า เป็นผู้มีความ
เจ็บป่วยเป็นต้น เป็นสภาวะที่ไม่แปรผันเหมือนที่มีอยู่นั่นแหละ. บทว่า
ชิคุจฺฉนฺติ ได้แก่ รังเกียจบุคคลอื่น. บทว่า มม เอวํวิหาริโน ความว่า
เมื่อเราตถาคตอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ คือ ด้วยการอยู่อย่างน่ารังเกียจ ความ
รังเกียจอย่างนี้ พึงเป็นของไม่เหมาะสมคือไม่สมควร.
บทว่า โสหํ เอวํ วิหรนฺโต ความว่า เราตถาคตนั้นอยู่อย่างนี้
คือ (อยู่อย่าง) ไม่รังเกียจบุคคลอื่น. อีกอย่างหนึ่ง (เราตถาคตนั้น) อยู่
อย่างนี้ คือ อยู่โดยมีการพิจารณาเป็นธรรมเครื่องอยู่นี้. บทว่า ญตฺวา
ธมฺมํ นิรูปธึ
ความว่า ทราบธรรมคือพระนิพพานซึ่งเว้นจากอุปธิทั้งปวง.
บทว่า สพฺเพ มเท อภิโภสฺมิ ความว่า เราตถาคตครอบงำ คือ ก้าวล่วง
ความเมาหมดทั้ง 3 อย่าง.
บทว่า เนกฺขมฺเม ทฏฺฐุ เขมตํ ความว่า เห็นภาวะที่เกษมใน
พระนิพพาน. ปาฐะเป็น เนกฺขมฺมํ ทฏฺฐุ เขมโต ก็มี. ความหมายก็
คือว่า เห็นเนกขัมมะโดยความเป็นสภาวะที่เกษม.

บทว่า ตสฺส เม อหุ อุสฺสาโห ความว่า เมื่อเรานั้นเห็น
พระนิพพาน กล่าวคือเนกขัมมะนั้นอย่างแจ่มแจ้ง จึงได้มีความอุตสาหะ
หมายความว่า ได้มีความพยายาม.
บทว่า นาหํ ภพฺโพ เอตรหิ กามานิ ปฏิเสวิตุํ ความว่า
บัดนี้ เราตถาคตไม่ควรที่จะเสพกามทั้งสองอย่าง. บทว่า อนิวตฺติ ภวิสฺสามิ
ความว่า เราตถาคตจักไม่หวนกลับ คือ จักไม่ถอยกลับจากบรรพชาและจาก
สัพพัญญุตญาณ. บทว่า พฺรหฺมจริยปรายโน ความว่า เราตถาคตกลายเป็น
ผู้มีมรรคพรหมจรรย์เป็นที่ไปในเบื้องหน้าแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถึงความเพียรที่เป็นเหตุให้พระองค์ได้บรรลุ
ณ บัลลังก์ใต้ต้นมหาโพธิด้วยคาถาเหล่านี้ดังว่ามานี้.
จบอรรถกถาสุขุมาลสูตรที่ 9

10. อธิปไตยสูตร



ว่าด้วยอธิปไตย 3



[479] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อธิปไตย 3 นี้ 3 คืออะไร คือ
อัตตาธิปไตย โลกาธิปไตย ธรรมาธิปไตย.
ก็อัตตาธิปไตย เป็นอย่างไร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อยู่ป่าก็ดี
อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ก็เราออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต มิใช่เพื่อจีวร มิใช่เพื่อบิณฑบาต มิใช่เพื่อเสนาสนะ
เป็นเหตุมิใช่เพื่อความมีและไม่มีอย่างนั้น ที่แท้ เราเป็นผู้อันความเกิด