เมนู

ในปราสาทไม่มีผู้ชายเลย


บทว่า นิปฺปุริเสหิ ตุริเยหิ ความว่า ดนตรีที่ปราศจากบุรุษ.
และในปราสาทนี้ ไม่ใช่ว่าการดนตรีเท่านั้นที่ไม่มีบุรุษ (เล่น) ก็หามิได้.
แม้ว่าสถานที่ทุกแห่งก็ไม่มีบุรุษประจำด้วยเหมือนกัน. แม้คนเฝ้าประตูก็เป็น
สตรีอีกเช่นกัน. พวกที่ทำงานในคราวถวายการสรงสนานเป็นต้น ก็เป็นสตรี
ด้วยเหมือนกัน
เล่ากันว่า พระราชาทรงดำริว่า ความรังเกียจ จะเกิดขึ้น แก่
ลูกชายของเราผู้เสวยสุขสมบัติจากอิสริยยศเห็นปานนั้นอยู่ เพราะได้เห็นบุรุษ
ขอความรังเกียจนั้นอย่าได้มีแก่ลูกของเราเลย ดังนี้แล้ว จึงทรงแต่งตั้งสตรีไว้
ในทุกหน้าที่. บทว่า ปริจารยมาโน ความว่า บันเทิงใจอยู่.

พระโพธิสัตว์มิได้เสด็จลงชั้นล่างเลย


บทว่า น เหฏฺฐาปาสาทํ โอโรหามิ ความว่า เราตถาคตมิได้
ลงจากปราสาทไปข้างล่างเลย เพราะเหตุนั้น บุรุษสักคนหนึ่ง (แม้กระทั่งเด็ก)
ไว้ผมจุกก็ไม่ได้เห็นเราตถาคตเลยตลอด 4 เดือน. บทว่า ยถา คือ โดย
นิยามใด. บทว่า ทาสกมฺมกรโปริสสฺส ได้แก่ ทาส กรรมกรที่ได้รับ
การเลี้ยงด้วยค่าอาหารประจำวัน และคนที่อาศัยอยู่กิน (ตลอดไป). บทว่า
กณาชกํ ได้แก่ข้าวปนปลายข้าว. บทว่า วิลงฺคทุติยํ ได้แก่ มีน้ำผักดอง
เป็นที่ 2. บทว่า เอวรูปาย อิทฺธิยา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยบุญฤทธิ์ มีกำเนิด
อย่างนี้. บทว่า เอวรูเปน จ สุขุมาเลน ได้แก่ และผู้ประกอบด้วยความ
เป็นผู้ไม่มีทุกข์มีกำเนิดอย่างนี้. ปาฐะเป็น สุขุมาเลน ดังนี้ก็มี.

เหตุผลที่ตรัสสุขสมบัติของพระองค์



พระตถาคตตรัสเล่าถึงสิริสมบัติของพระองค์ ด้วยฐานะเพียงเท่านี้
ดังพรรณนามานี้ และเมื่อตรัสเล่า ก็หาได้ตรัสเล่าเพื่อความลำพองพระทัยไม่.
แต่ตรัสเล่าเพื่อทรงแสดงถึงลักษณะของความไม่ประมาทนั่นเองว่า เราตถาคต
สถิตอยู่ในสมบัติ แม้เห็นปานนี้ ก็ยังไม่ประมาทเลย. ด้วยเหตุนั้นแล พระองค์
จึงตรัสคำว่า อสฺสุตวา โข ปุถุชฺชโน เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ปรํ ได้แก่ บุคคลอื่น. บทว่า ชิณฺณํ ได้แก่ทรุดโทรมเพราะชรา.
บทว่า อฎฺฎิยติ ได้แก่ เป็นผู้เอือมระอา. บทว่า หรายติ ได้แก่ ทำความ
ละอาย คือ ละอายใจ. บทว่า ชิคุจฺฉติ ได้แก่ เกิดความรังเกียจขึ้นเหมือน
ได้เห็นของไม่สะอาด. บทว่า อตฺตานํเยว อติสิตฺวา ความว่า อึดอัด ระอา
ลืมตนว่ามีชราเป็นธรรมดา. บทว่า ชราธมฺโม ได้แก่ มีชราเป็นสภาพ.
บทว่า ชรํ อนตีโต ความว่า เราตถาคตไม่พ้นชราไปได้ ยังคงเป็นไปอยู่.
ภายในชรา. บทว่า อิติ ปฏิสญฺจิกฺขโต ได้แก่ ผู้พิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้.

ความเมา 3 อย่าง



ความเมาเพราะมานะที่อาศัยความเป็นหนุ่มเกิดขึ้น ชื่อว่าโยพพนมทะ.
บทว่า สพฺพโส ปหียิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความเมาที่ละ
ได้แล้ว โดยอาการทั้งปวงให้เป็นเหมือนว่าละได้แล้วด้วยมรรค. แต่นักศึกษา
พึงทราบว่า ความเมานี้ไม่ใช่ละได้ด้วยมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ละ
ได้ด้วยการพิจารณา (วิปัสสนา). เพราะว่าเทวดาทั้งหลายแสดงบุคคลผู้ประสบ
กับชรา แก่พระโพธิสัตว์. ตั้งแต่นั้นมาจนกระทั่งได้เป็นพระอรหันต์ ชื่อว่า