เมนู

อรรถกถาสุขุมาลสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาสุขุมาลสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้:-

สุขุมาลชาติ



บทว่า สุขุมาโล คือ (เราตถาคต) เป็นผู้ไม่มีทุกข์. บทว่า
ปรมสุขุมาโล คือ เป็นผู้ไม่มีทุกข์อย่างยิ่ง. บทว่า อจฺจนฺตสุขุมาโล
คือ เป็นผู้ไม่มีทุกข์ตลอดกาล. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้ เพราะทรง
หมายถึงว่า พระองค์ไม่มีทุกข์ นับตั้งแต่เสด็จอุบัติในเมืองกบิลพัสดุ์. แต่ใน
เวลาที่ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ทุกข์ที่พระองค์เสวยไม่มีที่สุด.
บทว่า เอถตฺถา คือ ในสระโบกขรณีแห่งหนึ่ง. บทว่า อุปฺปลํ
วปฺปติ
ความว่า เขาปลูกอุบลเขียวไว้. สระโบกขรณีนั้น ดาดาษด้วย
ป่าดอกอุบลเขียว. บทว่า ปทุมํ ได้แก่ บัวขาว. บทว่า ปุณฑริกํ*
ได้แก่ บัวแดง. สระโบกขรณีทั้งสองสระนอกนี้ ดาดาษไปด้วยบัวขาว
และบัวแดงดังพรรณนามานี้.

วิสสุกรรมเทพบุตรสร้างสระโบกขรณี



ดังได้สดับมา ในเวลาที่พระโพธิสัตว์มีพระชนมายุได้ 7-8 พรรษา
พระราชา (สุทโธทนะ) ตรัสถามอำมาตย์ทั้งหลายว่า พวกเด็กเล็ก ๆ ชอบเล่น
กีฬาประเภทไหน. อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ชอบเล่นน้ำ พระเจ้าข้า.
จากนั้น พระราชารับสั่งให้ประชุมกรรมกรขุดดินแล้วให้เลือกเอาที่สำหรับ
สร้างสระโบกขรณี.
* บาลีว่า ปทุมํ ได้แก่ บัวแดง ปุณฑริกํ ได้แก่ บัวขาว.

เวลานั้น ท้าวสักกเทวราชทรงใคร่ครวญดูทรงทราบความเป็นไปนั้น
แล้ว ทรงดำริว่า เครื่องใช้ของมนุษย์ไม่สมควรแก่พระโพธิสัตว์เลย เครื่องใช้
ทิพย์ (ต่างหาก) จึงสมควร ดังนี้ แล้วตรัสเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมาตรัสว่า
ไปเถิดพ่อ พ่อจงสร้างสระโบกขรณีในสนามเล่นของพระมหาสัตว์. วิสสุกรรม
เทพบุตรทูลถามว่า จะให้มีลักษณะอย่างไร พระเจ้าข้า.
ท้าวสักกะรับสั่งว่า สระโบกขรณีต้องไม่มีโคลนเลน เกลื่อนกล่นด้วย
แก้วมณี แก้วมุกดา และแก้วประพาฬ ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว 7 ประการ
พร้อมมูลด้วยบันไดที่มีขั้นบันไดทำด้วยทอง เงิน และแก้วมณี มีราวบันได
ทำด้วยแก้วมณี มีซุ้มบันไดทำด้วยแก้วประพาฬ และในสระนี้ต้องมีเรือทำด้วย
ทอง เงิน แก้ว มณี และแก้วประพาฬ ในเรือทองต้องมีบัลลังก์เงิน ในเรือเงิน
ต้องมีบัลลังก์ทอง ในเรือแก้วมณีต้องมีบัลลังก์แก้วประพาฬ ในเรือแก้วประพาฬ
ต้องมีบัลลังก์แก้วมณี ต้องมีทะนานตักน้ำทำด้วยทอง เงิน แก้ว มณี และ
แก้วประพาฬ และสระโบกขรณีต้องดาดาษด้วยปทุม 5 ชนิด. วิสสุกรรม
เทพบุตรรับพระบัญชาท้าวสักกเทวราชว่า ได้ พระเจ้าข้า ดังนี้ แล้ว ลงมา
ตอนกลางคืนสร้างสระโบกขรณีโดยทำนองนั้นนั่นแล ในที่ที่พระราชารับสั่ง
ให้เลือกเอา.
ถามว่า ก็สระโบกขรณีเหล่านั้น ไม่มีโคลนเลนมิใช่หรือ แล้วปทุม
ทั้งหลายบานในสระนี้ได้อย่างไร. ตอบว่า ได้ยินว่า วิสสุกรรมเทพบุตรนั้น
สร้างเรือลำเล็ก ๆ ที่ทำด้วยทอง เงิน แก้ว มณี และแก้วประพาฬไว้ตามที่ต่าง ๆ
ในสระโบกขรณีเหล่านั้น แล้วอธิษฐานว่า เรือเหล่านี้จงเต็มด้วยโคลนเลนเถิด
และขอบัว 5 ชนิด จงบานในเรือนี้เถิด. บัว 5 ชนิด ก็บานแล้ว

ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้. ละอองเกษรก็ฟุ้ง. หมู่ภมร 5 ชนิดก็พากัน
บินเคล้าคลึง. วิสสุกรรมเทพบุตรสร้างสระโบกขรณีเหล่านั้นเสร็จอย่างนี้แล้ว
ก็กลับไปยังเทวบุรีตามเดิม.
ครั้นราตรีสว่าง มหาชนเห็นแล้วก็คิดกันว่า สระโบกขรณีคงจักมีใคร
นิรมิตถวายพระมหาบุรุษเป็นแน่ จึงพากันไปกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ.
พระราชามีมหาชนห้อมล้อม เสด็จไปทอดพระเนตรดูสระโบกขรณีก็ทรง
โสมนัสว่า สระโบกขรณีเหล่านี้ เทวดาคงจักนิรมิตขึ้นด้วยบุญฤทธิ์แห่ง
โอรสของเรา. ตั้งแต่นั้นมา พระมหาบุรุษก็เสด็จไปทรงเล่นน้ำ.
บทว่า ยาวเทว ในบทว่า ยาวเทว มมฺตถาย นี้ เป็นคำกำหนด
ถึงเขตแดนแห่งการประกอบ อธิบายว่า เพียงเพื่อประโยชน์แก่เราเท่านั้น
ไม่มีเหตุอย่างอื่นในเรื่องนี้. บทว่า น โข ปนสฺสาหํ ตัดบทเป็น น โข
ปนสฺส อหํ.
บทว่า กาสิกํ จนฺทนํ ได้แก่ไม้จันทน์แคว้นกาสี เนื้อ
ละเอียดอ่อน. บทว่า กาสิกํ สุ เม ตํ ภิกฺขเว เวฐนํ ความว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ผ้าโพกศีรษะของเรา ก็เป็นผ้าแคว้นกาสี. ก็คำว่า
สุ และ ตํ ในบทว่า กาสิกํ สุ เม ตํ เวฐนํ นี้เป็นเพียงนิบาต.
บทว่า เม เป็นฉัฎฐีวิภัติ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ผ้าโพกศีรษะ
ของเราตถาคตเนื้อละเอียดแท้. บทว่า กาสิกา กญฺจุกา ได้แก่ แม้ฉลอง
พระองค์ ก็เป็นฉลองพระองค์ชนิดละเอียดอ่อน.1 บทว่า เสตจฺฉตฺตํ ธาริยติ
ความว่า ตั้งเศวตฉัตรของมนุษย์ ทั้งเศวตฉัตรทิพย์ ก็กั้นอยู่เหนือศีรษะ
ด้วยเหมือนกัน. บทว่า มา นํ สิตํ วา ความว่า ขอความหนาวหรือ
ความร้อนเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง อย่าได้สัมผัสพระโพธิสัตว์นั่นเลย.
1. ปาฐะว่า ปารุปนกญฺจุโก จ สีสกญฺจุโก จ ฉบับพม่าเป็น ปารุปนกญฺจุโกปิ สณฺนกญจโก
จ แปลตามฉบับพม่า.

การสร้างปราสาท 3 ฤดู



บทว่า ตโย ปาสาทา อเหสํ ความว่า ได้ยินว่า เมื่อพระ-
โพธิสัตว์ประสูติแล้วมีพระขนมายุได้ 16 พรรษา พระเจ้าสุทโธทนะทรงดำริว่า
จักให้สร้างปราสาทสำหรับพระราชโอรสประทับอยู่ จึงรับสั่งให้ช่างไม้มา
ประชุมพร้อมกัน แล้วรับสั่งให้ทำโครงร่างปราสาท 9 ชั้น ตามฤกษ์ยามดีแล้ว
ให้สร้างปราสาท 3 หลัง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาปราสาททั้ง 3 หลัง
นั้น จึงตรัสคำนี้ว่า ตโย ปาสาทา อเหสุํ.
ในบทว่า เหมนฺติโก เป็นต้น มีอธิบายว่า ปราสาทหลังที่ทรง
ประทับอยู่ได้อย่างสำราญในฤดูเหมันต์ ชื่อว่า เหมันติกปราสาท (ปราสาท
หลังที่ประทับอยู่ในฤดูเหมันต์). แม้ในสองบทนอกนี้ก็มีนัย นี้แล. ก็ในบท
เหล่านี้ มีความหมายของคำดังนี้ การอยู่ในฤดูเหมันต์ ชื่อว่า เหมันตะ
ปราสาทชื่อว่า เหมันติกะ เพราะเหมาะสมกับฤดูเหมันต์. แม้ในสองบทนอกนี้
ก็มีนัย นี้แล.

ปราสาทฤดูหนาว



บรรดาปราสาททั้ง 3 หลังนั้น ปราสาทในฤดูเหมันต์มี 9 ชั้น ก็แลชั้น
(แต่ละชั้น) ของปราสาทนั้น ได้ต่ำลงต่ำลง (ตามลำดับ) ก็เพื่อให้รับไออุ่น
ประตูและหน้าต่างที่ปราสาทหลังนั้นก็มีบานติดสนิทดีไม่มีช่อง ช่างไม้ทั้งหลาย
แม้เมื่อทำจิตรกรรมก็เขียนเป็นกองไฟลุกสว่างอยู่ในชั้นนั้น ๆ ก็เครื่องลาดพื้น
ในปราสาทนี้ทำจากผ้ากัมพล. ผ้าม่าน เพดาน ผ้านุ่ง ผ้าห่ม และ
ผ้าโพกศีรษะก็เหมือนกัน (คือทำจากผ้ากัมพล). หน้าต่างก็เปิดในตอนกลางวัน
แล้วปิดในตอนกลางคืน เพื่อให้รับความร้อน.