เมนู

แม้ผู้ใดพึงเป็นเช่นข้าพเจ้า ฯลฯ และ
ถืออุโบสถปาฏิหาริยปักษ์เถิด.

ก็แลคาถานั้นนั่นท้าวสักกะจอมเทวดาขับไม่เข้าที ไม่เป็นการขับดีแล้ว
กล่าวไม่เหมาะ ไม่เป็นสุภาษิต นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะท้าวสักกะจอมเทวดา
ยังไม่พ้นจาก (ชาติ) ความเกิด (ชรา) ความแก่ (มรณะ) ความตาย (โสกะ)
ความโศก (ปริเทวะ) ความคร่ำครวญ (ทุกขะ) ความทุกข์กาย (โทมนัสสะ)
ความทุกข์ใจ (อุปายาสะ) ความคับแค้นใจ เรากล่าวว่ายังไม่พ้นทุกข์ ส่วน
ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว ฯลฯ หลุดพ้นด้วยความรู้ชอบแล้ว จึง
ควรกล่าวคาถานั่นว่า
แม้ผู้ใดพึงเป็นเซ่นดังข้าพเจ้า ฯลฯ
และถืออุโบสถปาฏิหาริยปักษ์เถิด.

นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะภิกษุนั้นพ้นแล้วจาก (ชาติ) ความเกิด ฯลฯ
(อุปายาสะ) ความคับแค้นใจ เรากล่าวว่าพ้นแล้วจากทุกข์.
จบทุติยราชสูตรที่ 8

9.สุขุมาลสูตร



ว่าด้วยสุขุมาลชาติ และความเมา 3 ประการ



[478] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเป็นสุขุมาล สุขุมาลยิ่ง สุขุมาล
โดยส่วนเดียว เราจะเล่าให้ฟัง ในพระราชนิเวศน์ พระบิดาของเรา โปรด
ให้สร้างสระโบกขรณี สระหนึ่งปลูกอุบล สระหนึ่งปลูกปทุม สระหนึ่งปลูก

บุณฑริก1 เพื่อเราโดยเฉพาะ อนึ่ง เรามิใช่ใช้แต่จันทน์กาสี ผ้าโพกของเรา
ก็เป็นผ้ากาสี เสื้อก็กาสี ผ้านุ่งก็กาสี ผ้าห่มก็กาสี2 อนึ่ง เศวตฉัตร เขากั้น
ให้เราทั้งกลางคืน ทั้งกลางวัน เพื่อว่ามิให้ต้องหนาว ร้อน ละออง หญ้า
น้ำค้าง เรามีปราสาท 3 หลัง หลังหนึ่งสำหรับอยู่ฤดูหนาว หลังหนึ่งสำหรับ
อยู่ฤดูร้อน หลังหนึ่งสำหรับอยู่ฤดูฝน3 เรานั้น อันนางนักดนตรีไม่มีบุรุษ
ปนบำเรออยู่ในปราสาทฤดูฝนตลอด 4 เดือนฤดูฝน มิได้ลงไปภายล่างปราสาท
เลย ในพระราชนิเวศน์แห่งพระบิดาเรา ให้ข้าวสาลีกับเนื้อแก่ทาส กรรมกร
และคนอาศัย เท่ากับในนิเวศน์ผู้อื่น ๆ ที่ให้ข้าวปลายเป็นสองกับน้ำผักดอง
แก่ทาส กรรมกร และคนอาศัย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้น เพียบพร้อมไปด้วยฤทธิ์เห็นปานนี้
และความสุขุมาลเหลือเกินถึงเช่นนี้ ก็ยังได้คิดว่า ปุถุชนผู้มิได้สดับ ตัวเอง
ก็มีอันจะต้องแก่ ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ แต่เห็นคนอื่นแก่แล้วอึดอัด ระอา
ชิงชัง ลืมตัวเสียทีเดียว ถึงตัวเราเล่าก็มีอันจะต้องแก่ ไม่ล่วงพ้นความแก่
ไปได้ ก็แต่ว่าข้อซึ่งเราเองก็เป็นคนมีอันจะต้องแก่ ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
อยู่เหมือนกัน เห็นคนอื่นแก่แล้วจะพึงอึดอัด ระอา ชิงชัง นั่นไม่สมควร
แก่เราเลย ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่เช่นนี้ ความเมาในความหนุ่ม
ได้หายไปหมด
ปุถุชนผู้มิได้สดับ ตัวเองก็มีอันจะต้องเจ็บไข้ ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้
ไปได้ แต่เห็นคนอื่นเจ็บไข้แล้ว อึดอัด ระอา ชิงชัง ลืมตัวเสียทีเดียว
1. อุบล บัวสายหลากสี ปทุม บัวก้านสีแดง (บัวหลวง) บุณฑริก บัวก้านสีขาว
2. กาสี เป็นชื่อแคว้น ซึ่งมีเมืองพาราณสีเป็นเมืองหลวง สินค้าของแคว้นนี้ มีหลายอย่าง
ขึ้นชื่อและราคาสูงในสมัยนั้น ซึ่งคนชั้นสุขุมาลนิยมใช้ 3. ตามนี้แสดงว่าครั้งนั้นนับฤดูหนาว
เป็นต้นปี ฤดูฝนเป็นปลายปี เพราะฉะนั้นพรรษา (ฝนหรือฤดูฝน) จึงแปลว่าปี

ถึงตัวเราเล่า ก็มีอันจะต้องเจ็บไข้ ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไบ่ได้ ก็แต่ว่าข้อ
ซึ่งเราเองก็เป็นคนมีอันจะต้องเจ็บไข้ ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้อยู่เหมือน-
กัน เห็นคนอื่นเจ็บไข้แล้วจะพึงอึดอัด ระอา ชิงชัง นั่นไม่สมควรแก่
เราเลย ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่เช่นนี้ ความเมาในความไม่มี
โรคได้หายไปหมด
ปุถุชนผู้มีได้สดับ ตัวเองก็มีอันจะต้องตาย ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
แต่เห็นคนอื่นตายแล้วอึดอัด ระอา ชิงชัง ลืมตัวเสียทีเดียว ถึงตัวเราเล่า
ก็มีอันละต้องตาย ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ก็แต่ว่าข้อซึ่งเราเองก็เป็นคน
มีอันจะต้องตาย ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้อยู่เหมือนกัน เห็นคนอื่นตายแล้ว
จะพึงอึดอัด ระอา ชิงชัง นั่นไม่สมควรแก่เราเลย ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรา
พิจารณาเห็นอยู่เช่นนี้ ความเมาในชีวิต (ความเป็นอยู่) ได้หายไปหมด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเมา 3 นี้ 3 คืออะไร คือ ความเมาใน
ความหนุ่ม 1 ความเมาในความไม่มีโรค 1 ความเมาในชีวิต 1.

ปุถุชนผู้มิได้สดับ ที่เมาในความหนุ่มก็ดี เมาในความไม่มีโรคก็ดี
และเมาในชีวิตก็ดี ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจาและด้วยใจ ปุถุชนนั้น
ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจาและด้วยใจแล้ว เพราะกายแตกตายไป
ย่อมเข้าถึงอบายทุคติวินิบาตนรก
ภิกษุผู้เมาในความหนุ่มก็ดี เมาในความไม่มีโรคก็ดีและเมาในชีวิต
ก็ดี ย่อมลาสิกขากลับเป็นหีนเพศ*
* เพศทราม เพศต่ำ คือเพศฆราวาส.

ปุถุชนทั้งหลายก็เป็นตามธรรมดาคือ
มีอันจะต้องเจ็บ มีอันจะต้องแก่และมีอัน
จะต้องตาย แต่เกลียดชัง (คนอื่น) ที่
เป็นตามธรรมดานั้น
ข้อซึ่งเราจะพึงเกลียดชัง สภาพอัน-
นั้นในสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีอันจะต้องเป็น
อย่างนั้น นั่นไม่สมควรแก่เราผู้ซึ่งมีอัน
เป็นอยู่อย่างนั้นเหมือนกัน
เมื่อเราเห็นอยู่อย่างนั้น ได้รู้ธรรมอัน
ไม่มีอุปธิแล้ว ความเมาอันใดในความ
ไม่มีโรค ในความหนุ่ม และในชีวิต
เราครอบงำความเมาทั้งปวงนั้นเสีย ได้เห็น
เนกขัมมะ ( การออกจากกาม) ว่าเป็น
ความเกษม (ปลอดโปร่ง) ความอุตสาหะ
(ในเนกขัมมะ) จึงได้มีแก่เราผู้เห็นพระ-
นิพพานอยู่จำเพาะหน้า
เดี๋ยวนี้เราเป็นคนไม่ควรจะเสพกาม
ทั้งหลายแล้ว เราจักเป็นผู้ไม่ถอยกลับ มี
พรหมจรรย์เป็นเบื้องหน้า.

จบสุขุมาลสูตรที่ 9

อรรถกถาสุขุมาลสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาสุขุมาลสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้:-

สุขุมาลชาติ



บทว่า สุขุมาโล คือ (เราตถาคต) เป็นผู้ไม่มีทุกข์. บทว่า
ปรมสุขุมาโล คือ เป็นผู้ไม่มีทุกข์อย่างยิ่ง. บทว่า อจฺจนฺตสุขุมาโล
คือ เป็นผู้ไม่มีทุกข์ตลอดกาล. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้ เพราะทรง
หมายถึงว่า พระองค์ไม่มีทุกข์ นับตั้งแต่เสด็จอุบัติในเมืองกบิลพัสดุ์. แต่ใน
เวลาที่ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ทุกข์ที่พระองค์เสวยไม่มีที่สุด.
บทว่า เอถตฺถา คือ ในสระโบกขรณีแห่งหนึ่ง. บทว่า อุปฺปลํ
วปฺปติ
ความว่า เขาปลูกอุบลเขียวไว้. สระโบกขรณีนั้น ดาดาษด้วย
ป่าดอกอุบลเขียว. บทว่า ปทุมํ ได้แก่ บัวขาว. บทว่า ปุณฑริกํ*
ได้แก่ บัวแดง. สระโบกขรณีทั้งสองสระนอกนี้ ดาดาษไปด้วยบัวขาว
และบัวแดงดังพรรณนามานี้.

วิสสุกรรมเทพบุตรสร้างสระโบกขรณี



ดังได้สดับมา ในเวลาที่พระโพธิสัตว์มีพระชนมายุได้ 7-8 พรรษา
พระราชา (สุทโธทนะ) ตรัสถามอำมาตย์ทั้งหลายว่า พวกเด็กเล็ก ๆ ชอบเล่น
กีฬาประเภทไหน. อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ชอบเล่นน้ำ พระเจ้าข้า.
จากนั้น พระราชารับสั่งให้ประชุมกรรมกรขุดดินแล้วให้เลือกเอาที่สำหรับ
สร้างสระโบกขรณี.
* บาลีว่า ปทุมํ ได้แก่ บัวแดง ปุณฑริกํ ได้แก่ บัวขาว.