เมนู

เทวดาชั้นดาวดึงส์ จึงเสียใจว่า พวกเราจักไม่ได้เล่นนักษัตร ท่ามกลางหมู่
เทวดาในเทวนครที่เคยเต็มแน่น. แม้ในสุกปักษ์ก็พึงทราบความหมายโดยอุบาย
นี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท
ดังนี้ ทรงหมายถึงเวลาที่พระองค์เป็นท้าวสักกเทวราช. อีกอย่างหนึ่ง ท่าน
กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึง อัธยาศัยของท้าวสักกะพระองค์หนึ่ง
บทว่า อนุนยมาโน แปลว่า เตือนให้รู้สึก. บทว่า ตายํ เวลายํ คือ
ในกาลนั้น.

นิพัทธอุโบสถ



ในบทว่า ปาฏิหาริย ปกฺ ขญฺจ นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
อุโบสถที่รักษาติดต่อกันตลอดไตรมาสภายในพรรษา ชื่อว่า ปาฏิหาริยปักข
อุโบสถ. เมื่อไม่สามารถ (จะรักษา) อุโบสถตลอดไตรมาสนั้นได้ อุโบสถ
ที่รักษาประจำตลอดเดือนหนึ่งในระหว่างวันปวารณาทั้ง 2 บ้าง เมื่อไม่สามารถ
(จะรักษา) อุโบสถประจำตลอดเดือนหนึ่งนั้นได้ (อุโบสถ) กึ่งเดือนหนึ่ง
ตั้งแต่วันปวารณาแรกบ้าง ก็ชื่อว่า ปาฎิหาริยปักขอุโบสถเหมือนกัน. บทว่า
อฏฺฐงฺคสุสมาคตํ แปลว่า ประกอบด้วยองคคุณ 8. บทว่า โยปสฺส
มาทิโส นโร
ความว่า สัตว์แม้ใดพึงเป็นเช่นเรา. เล่ากันว่า ท้าวสักกะ
ทราบคุณของอุโบสถมีประการดังกล่าวแล้ว จึงละสมบัติในเทวโลกไปเข้าจำ
อุโบสถเดือนละ 8 วัน.
อีกนัยหนึ่ง บทว่า โยปสฺส มาทิโส นโร ความว่า สัตว์แม้ใด
พึงเป็นเช่นเรา. อธิบายว่า พึงปรารถนาเพื่อได้รับมหาสมบัติ. ในข้อนี้มี
อธิบายดังนี้ว่า ก็บุคคลสามารถที่จะได้รับสมบัติของท้าวสักกะด้วยอุโบสถกรรม.
เห็นปานนี้.

อธิบายบทว่า วุสิตวา เป็นต้น



บทว่า วุสิตวา ได้แก่ มีการอยู่จบแล้ว. บทว่า กตกรณีโย
ได้แก่ ทำกิจที่ควรทำด้วยมรรค 4 อยู่. บทว่า โอหิตภาโร ได้แก่
ปลงขันธภาระ กิเลสภาระและอภิสังขารภาระอยู่. บทว่า อนุปฺปตฺตสทตฺโถ
ความว่า อรหัตผลเรียกว่า ประโยชน์ของตน บรรลุประโยชน์ของตนนั้น.
บทว่า ปริกฺขีณภวสํโยชโน ความว่า ชื่อว่ามีสังโยชน์เครื่องผูกสัตว์ไว้ใน
ภพหมดสิ้นแล้ว เพราะสังโยชน์ที่เป็นเหตุให้ผูกสัตว์ แล้วฉุดคร่าไปในภพ
ทั้งหลายสิ้นแล้ว. บทว่า สมฺมทญฺญาวิมุตฺโต ความว่า หลุดพ้นเพราะรู้
โดยเหตุ โดยนัย โดยการณะ.
บทว่า กลฺลํ วจนาย แปลว่า ควรเพื่อจะกล่าว. บทว่า โยปสฺส
มาทิโส นโร
ความว่า แม้บุคคลใดจะพึงเป็นพระขีณาสพเช่นกับเรา บุคคล
แม้นั้นพึงเข้าจำอุโบสถเห็นปานนี้ คือ เมื่อรู้คุณของอุโบสถกรรมพึงอยู่อย่างนี้.
อีกนัยหนึ่ง บทว่า โยปสฺส มาทิโส นโร ความว่า สัตว์แม้ใดพึงเป็น
เช่นกับเรา. อธิบายว่า พึงปรารถนาเพื่อได้รับมหาสมบัติ. ในบทนี้มีอธิบาย
ดังนี้ว่า ก็บุคคลสามารถที่จะได้รับสมบัติของพระขีณาสพ ด้วยอุโบสถกรรม
เห็นปานนี้.
จบอรรถกถาราชสูตรที่ 7