เมนู

เทวดาอำมาตย์เหล่านั้น รับเครื่องบรรณาการแล้ว ก็ถามถึงการ
ทำบุญของมนุษย์ทั้งหลาย ตามนัยที่กล่าวไว้ว่า ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย มนุษย์
จำนวนมากยังเกื้อกูลมารดาอยู่หรือ ? เมื่อเทวดาประจำคาม นิคม และราชธานี
รายงานว่า ใช่แล้ว ท่านผู้นิรทุกข์ ในหมู่บ้านนี้ คนโน้น และคนโน้น ยังทำบุญ
อยู่ ก็จดชื่อและโคตรของมนุษย์เหล่านั้นไว้แล้วไปในที่อื่น.
ต่อมาในวัน 14 ค่ำ แม้บุตรของท้าวมหาราชทั้ง 4 ก็ถือเอาแผ่นทอง
นั้นแล้วท่องเที่ยวไป จดชื่อและโคตรตามนัยนั้นนั่นแล. ในวัน 15 ค่ำ อัน
เป็นวันอุโบสถนั้น ท้าวมหาราชทั้ง 4 ก็จดชื่อและโคตรลงไปในแผ่นทองนั้น
นั่นแล้วตามนัยนั้น. ท้าวมหาราชทั้ง 4 นั้นทราบว่า เวลานี้มีมนุษย์น้อย
เวลานี้มีมนุษย์มาก ตามจำนวนแผ่นทอง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอา
ข้อนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า สเจ ภิกฺขเว อปฺปกา โหนฺติ มนุสฺสา ดังนี้.

เทวดาชั้นดาวดึงส์



บทว่า เทวานํ ตาวตึสานํ ความว่า เทวดาทั้งหลายได้นามอย่างนี้
ว่า (ดาวดึงส์) เพราะอาศัยเทพบุตร 33 องค์ ผู้เกิดครั้งแรก. ส่วนกถาว่า
ด้วยการอุบัติของเทวดาเหล่านั้น ได้อธิบายไว้แล้วอย่างพิสดารในอรรถกถา
สักกปัญหสูตรในทีฆนิกาย. บทว่า เตน คือ เพราะการบอกนั้น หรือเพราะ
มนุษย์ผู้ทำบุญมีน้อยนั้น. บทว่า ทิพฺพา วต โภ กายา ปริหายิสฺสนฺติ
ความว่า เพราะเทพบุตรใหม่ๆไม่ปรากฏ หมู่เทวดาก็จักเสื่อมสิ้นไป เทวนคร
กว้างยาวประมาณหนึ่งหมื่นโยชน์ อันน่ารื่นรมย์ ก็จักว่างเปล่า. บทว่า
ปริปูริสฺสนฺติ อสุรกายา ความว่า อบาย 4 จักเต็มแน่น. ด้วยเหตุนี้

เทวดาชั้นดาวดึงส์ จึงเสียใจว่า พวกเราจักไม่ได้เล่นนักษัตร ท่ามกลางหมู่
เทวดาในเทวนครที่เคยเต็มแน่น. แม้ในสุกปักษ์ก็พึงทราบความหมายโดยอุบาย
นี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท
ดังนี้ ทรงหมายถึงเวลาที่พระองค์เป็นท้าวสักกเทวราช. อีกอย่างหนึ่ง ท่าน
กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึง อัธยาศัยของท้าวสักกะพระองค์หนึ่ง
บทว่า อนุนยมาโน แปลว่า เตือนให้รู้สึก. บทว่า ตายํ เวลายํ คือ
ในกาลนั้น.

นิพัทธอุโบสถ



ในบทว่า ปาฏิหาริย ปกฺ ขญฺจ นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
อุโบสถที่รักษาติดต่อกันตลอดไตรมาสภายในพรรษา ชื่อว่า ปาฏิหาริยปักข
อุโบสถ. เมื่อไม่สามารถ (จะรักษา) อุโบสถตลอดไตรมาสนั้นได้ อุโบสถ
ที่รักษาประจำตลอดเดือนหนึ่งในระหว่างวันปวารณาทั้ง 2 บ้าง เมื่อไม่สามารถ
(จะรักษา) อุโบสถประจำตลอดเดือนหนึ่งนั้นได้ (อุโบสถ) กึ่งเดือนหนึ่ง
ตั้งแต่วันปวารณาแรกบ้าง ก็ชื่อว่า ปาฎิหาริยปักขอุโบสถเหมือนกัน. บทว่า
อฏฺฐงฺคสุสมาคตํ แปลว่า ประกอบด้วยองคคุณ 8. บทว่า โยปสฺส
มาทิโส นโร
ความว่า สัตว์แม้ใดพึงเป็นเช่นเรา. เล่ากันว่า ท้าวสักกะ
ทราบคุณของอุโบสถมีประการดังกล่าวแล้ว จึงละสมบัติในเทวโลกไปเข้าจำ
อุโบสถเดือนละ 8 วัน.
อีกนัยหนึ่ง บทว่า โยปสฺส มาทิโส นโร ความว่า สัตว์แม้ใด
พึงเป็นเช่นเรา. อธิบายว่า พึงปรารถนาเพื่อได้รับมหาสมบัติ. ในข้อนี้มี
อธิบายดังนี้ว่า ก็บุคคลสามารถที่จะได้รับสมบัติของท้าวสักกะด้วยอุโบสถกรรม.
เห็นปานนี้.