เมนู

อรรถกถาปฐมราชสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในปฐมราชสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้:-

เทวดาตรวจดูโลกมนุษย์



บทว่า อมจฺจา ปาริสชฺชา ได้แก่ปาริจาริกเทวดา (เทวดารับใช้).
บทว่า อิมํ โลกํ อนุวิจรนฺติ ความว่า ได้ยินว่า ในวัน 8 ค่ำ ท้าวสักก
เทวราชทรงบัญชาท้าวมหาราชาทั้ง 4 ว่า ท่านทั้งหลาย วันนี้เป็นวัน 8 ค่ำ
ท่านทั้งหลายจงท่องเที่ยวไปยังมนุษยโลก แล้วจดเอาชื่อและโคตรของมนุษย์
ที่ทำบุญมา. ท้าวมหาราชทั้ง 4 นั้น ก็กลับไปบัญชาบริวารของตนว่า ไปเถิด
ท่านทั้งหลาย ท่านจงท่องเที่ยวไปยังมนุษยโลก เขียนชื่อและโคตรของมนุษย์ที่
ทำบุญลงในแผ่นทองแล้วนำมาเถิด. บริวารเหล่านั้นทำตามคำบัญชานั้น
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อิมํ โลกํ อนุวิจรนฺติ ดังนี้.
บทว่า กจฺจิ พหู เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อแสดงอาการ
ตรวจตราดูของเทวดาเหล่านั้น. จริงอยู่ เทวดาทั้งหลายท่องเที่ยวไปตรวจตรา
ดูโดยอาการดังกล่าวมานี้.

การรักษาอุโบสถ



บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุโปสถํ อุปวสนฺติ ความว่า มนุษย์
ทั้งหลายอธิษฐานองค์อุโบสถเดือนละ 8 ครั้ง. บทว่า ปฏิชาคโรนฺติ ความว่า
ทำการ (รักษา) ปฏิชาครอุโบสถ. ชนทั้งหลายเมื่อทำการ (รักษา) ปฏิชาคร

อุโบสถนั้น ย่อมทำด้วยการรับและการส่งวันอุโบสถ 4 วันในกึ่งเดือนหนึ่ง
(คือ) เมื่อจะรับอุโบสถวัน 5 ค่ำ ก็ต้องเป็นผู้รักษาอุโบสถในวัน 4 ค่ำ
เมื่อจะส่งอุโบสถก็ส่งในวัน 6 ค่ำ. เมื่อจะรับอุโบสถวัน 8 ค่ำ ก็ต้องเป็น
ผู้รักษาอุโบสถในวัน 7 ค่ำ เมื่อจะส่งอุโบสถก็ส่งในวัน 9 ค่ำ. เมื่อจะรับ
อุโบสถวัน 14 ค่ำ ก็ต้องเป็นผู้รักษาอุโบสถในวัน 13 ค่ำ เมื่อจะส่งอุโบสถ
ก็ส่งในวัน 15 ค่ำ. เมื่อจะรับอุโบสถวัน 15 ค่ำ ก็ต้องเป็นผู้รักษาอุโบสถ
ในวัน 14 ค่ำ เมื่อจะส่งอุโบสถก็ส่งในวันแรม 1 ค่ำ.
บทว่า ปุญฺญานิ กโรนฺติ ความว่า มนุษย์ทั้งหลายทำบุญ มี
ประการต่าง ๆ มีการถึงสรณะ รับนิจศีล บูชาด้วยดอกไม้ ฟังธรรม ตาม
ประทีปพันดวง และสร้างวิหารเป็นต้น . เทวดาเหล่านั้น ท่องเที่ยวไปอย่างนี้
แล้ว เขียนชื่อและโคตรของมนุษย์ผู้ทำบุญลงบนแผ่นทอง แล้วนำมาถวายท้าว
มหาราชทั้ง 4. บทว่า ปุตฺตา อิมํ โลกํ อนุวิจรนฺติ ความว่า (โอรส
ของท้าวมหาราชทั้ง 4) ท่องเที่ยวไป (ตรวจดู) เพราะถูกท้าวมหาราชทั้ง 4
ส่งไปตามนัยก่อนนั้นและ บทว่า ตทหุ แปลว่า ในวันนั้น. บทว่า อุโปสเถ
แปลว่า ในวันอุโบสถ.
บทว่า สเจ ภิกฺขเว อปฺปกา โหนฺติ ความว่า บริษัท
อำมาตย์ของท้าวนหาราชทั้ง 4 เข้าไปยังคาม นิคม และราชธานีเหล่านั้นๆ. ก็
เทวดาที่อาศัยอยู่ตามคาม นิคม และราชธานีเหล่านั้น ๆ ทราบว่า อำมาตย์
ของท้าวมหาราชทั้งหลายมาแล้ว ต่างก็พากันถือเครื่องบรรณาการไปยังสำนัก
ของเทวดาเหล่านั้น.

เทวดาอำมาตย์เหล่านั้น รับเครื่องบรรณาการแล้ว ก็ถามถึงการ
ทำบุญของมนุษย์ทั้งหลาย ตามนัยที่กล่าวไว้ว่า ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย มนุษย์
จำนวนมากยังเกื้อกูลมารดาอยู่หรือ ? เมื่อเทวดาประจำคาม นิคม และราชธานี
รายงานว่า ใช่แล้ว ท่านผู้นิรทุกข์ ในหมู่บ้านนี้ คนโน้น และคนโน้น ยังทำบุญ
อยู่ ก็จดชื่อและโคตรของมนุษย์เหล่านั้นไว้แล้วไปในที่อื่น.
ต่อมาในวัน 14 ค่ำ แม้บุตรของท้าวมหาราชทั้ง 4 ก็ถือเอาแผ่นทอง
นั้นแล้วท่องเที่ยวไป จดชื่อและโคตรตามนัยนั้นนั่นแล. ในวัน 15 ค่ำ อัน
เป็นวันอุโบสถนั้น ท้าวมหาราชทั้ง 4 ก็จดชื่อและโคตรลงไปในแผ่นทองนั้น
นั่นแล้วตามนัยนั้น. ท้าวมหาราชทั้ง 4 นั้นทราบว่า เวลานี้มีมนุษย์น้อย
เวลานี้มีมนุษย์มาก ตามจำนวนแผ่นทอง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอา
ข้อนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า สเจ ภิกฺขเว อปฺปกา โหนฺติ มนุสฺสา ดังนี้.

เทวดาชั้นดาวดึงส์



บทว่า เทวานํ ตาวตึสานํ ความว่า เทวดาทั้งหลายได้นามอย่างนี้
ว่า (ดาวดึงส์) เพราะอาศัยเทพบุตร 33 องค์ ผู้เกิดครั้งแรก. ส่วนกถาว่า
ด้วยการอุบัติของเทวดาเหล่านั้น ได้อธิบายไว้แล้วอย่างพิสดารในอรรถกถา
สักกปัญหสูตรในทีฆนิกาย. บทว่า เตน คือ เพราะการบอกนั้น หรือเพราะ
มนุษย์ผู้ทำบุญมีน้อยนั้น. บทว่า ทิพฺพา วต โภ กายา ปริหายิสฺสนฺติ
ความว่า เพราะเทพบุตรใหม่ๆไม่ปรากฏ หมู่เทวดาก็จักเสื่อมสิ้นไป เทวนคร
กว้างยาวประมาณหนึ่งหมื่นโยชน์ อันน่ารื่นรมย์ ก็จักว่างเปล่า. บทว่า
ปริปูริสฺสนฺติ อสุรกายา ความว่า อบาย 4 จักเต็มแน่น. ด้วยเหตุนี้