เมนู

เวลานั้น เขาก็ระลึกได้ (ขึ้นมาทันทีจึงจุติ) ไปบังเกิดยังเทวโลก
ฝ่ายพญายม แม้ตรวจดูด้วยพระองค์เองแล้ว เมื่อไม่เห็นก็จะทรงนิ่งเสียด้วย
ทรงดำริว่า สัตว์นี้จักเสวยทุกข์มหันต์.

การลงโทษในนรก



บทว่า ตตฺตํ อโยขีลํ ความว่า นายนิรยบาลทั้งหลายจับอัตภาพ
(สูงใหญ่) ประมาณ 3 คาวุต ให้นอนหงายบนพื้นโลหะที่ไฟลุกโชนแล้ว
เอาหลาวเหล็กขนาดเท่าต้นตาลแทงเข้าไปที่มือขวา ที่มือซ้ายเป็นต้น (ก็ทำ)
เหมือนกัน. นายนิรยบาลจะจับสัตว์นรกนั้นให้นอนคว่ำหน้าบ้าง ตะแคงซ้าย
บ้าง ตะแคงขวาบ้าง เหมือนให้นอนหงายแล้วลงโทษฉันนั้นเหมือนกัน.
บทว่า สํเวเสตฺวา ความว่า (นายนิรยบาล) จับอัตภาพประมาณ
3 คาวุตให้นอนบนพื้นโลหะที่ไฟลุกโชน. บทว่า กุฐารีหิ ความว่า
ถากด้วยผึ่งใหญ่ขนาดเท่าหลังคาเรือนด้านหนึ่ง. เลือดไหลนองเป็นแม่น้ำ
เปลวไฟลุกโชนจากพื้นโลหะไปติดที่ที่ถูกถาก. ทุกข์มหันต์เกิดขึ้น (แก่สัตว์
นรก) ส่วนนายนิรยบาลทั้งหลาย เมื่อถากก็ถากให้เป็น 8 เหลี่ยมบ้าง 6
เหลี่ยมบ้าง เหมือนตีเส้นบันทัดถากไม้. บทว่า วาสีหิ คือ ด้วยมีดทั้งหลาย
มีขนาดเท่ากระด้งใหญ่.
บทว่า รเถ โยเชตฺวา ความว่า (นายนิรยบาลทั้งหลาย) เทียม
สัตว์นรกนั้นให้ลากรถพร้อมกับแอก เชือก แปรก ล้อรถ ทูบ และปฏักซึ่ง
มีไฟลุกโพลงรอบด้าน. บทว่า มหนฺตํ คือ มีประมาณเท่าเรือนยอดขนาดใหญ่.
บทว่า อาโรเปนฺติ ความว่า ตีด้วยฆ้อนเหล็กที่ไฟลุกโชติช่วง แล้วบังคับให้
ขึ้น (ภูเขาไฟ). บทว่า สกึปิ อุทฺธํ ความว่า สัตว์นรกนั้น (ถูกไฟเผาไหม้)
พล่านขึ้นข้างบน จมลงข้างล่าง และลอยขวาง คล้ายกับข้าวสารที่ใส่ลงไปใน

หม้อที่เดือดพล่าน ฉะนั้น. บทว่า มหานิรเย คือ ในอเวจีมหานรก.
บทว่า ภาคโส มิโต คือ (มหานรก) แบ่งไว้เป็นส่วนๆ. บทว่า
ปริยนฺโต คือ ถูกล้อมไว้. บทว่า อยสา คือ ถูกปิดข้างบนด้วยแผ่นเหล็ก.
บทว่า สมนฺตา โยชนสตํ ผริตฺวา ติฏฺฐติ ความว่า เปลวไฟ พวยพุ่ง
ไปอยู่อย่างนั้น. เมื่อสัตว์นรกนั้นยืนดูอยู่ในที่ 100 โยชน์ โดยรอบ นัยน์ตา
ก็จะถลนออกมาเหมือนก้อนเนื้อ 2 ก้อนฉะนั้น.
บทว่า หีนกายูปคา ความว่า เข้าถึงกำเนิดที่ต่ำ. บทว่า อุปาทาเน
ได้แก่ในป่าชัฎคือตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า ชาติมรณสมฺภเว ได้แก่ เป็นเหตุ
แห่งชาติและมรณะ. บทว่า อนุปาทา ได้แก่เพราะไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน 4.
บทว่า ชาติมรณสงฺขเย ความว่า หลุดพ้นในเพราะนิพพาน อันเป็นแดนสิ้น
ไปของชาติและมรณะ.
บทว่า ทิฎฺฐธมฺมาภินิพฺพุตา ความว่า ดับสนิทแล้ว ในเพราะ
ดับกิเลสทั้งหมดในทิฏฐธรรม คือ ในอัตภาพนี้นั่นแล. บทว่า สพฺพํ ทุกฺขํ
อุปจฺจคุํ
ความว่า ล่วงเลยวัฏทุกข์ทั้งหมด.
จบอรรถกถาทูตสวรรค์ที่ 6

7. ปฐมราชสูตร



ว่าด้วยท้าวโลกบาลตรวจโลก



[476] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในดิถีที่ 8 แห่งปักษ์ พวกอำมาตย์
บริวารของมหาราชทั้งสี่เที่ยวดูโลกนี้ ดิถีที่ 14 แห่งปักษ์ พวกบุตรของ
มหาราชทั้งสี่ เที่ยวดูโลกนี้ วันอุโบสถ 15 ค่ำนั้น มหาราชทั้งสี่ เที่ยวดู
โลกนี้ด้วยตนเอง (เพื่อสำรวจ) ว่า ในหมู่มนุษย์ คนที่เกื้อกูลมารดาบิดา
บำรุงสมณพราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อธิษฐานอุโบสถ ถือ
ปฎิชาครอุโบสถ ทำบุญมีจำนวนมากอยู่หรือ ถ้าในหมู่มนุษย์ คนที่เกื้อกูล
มารดาบิดา ฯลฯ ทำบุญมีจำนวนน้อย มหาราชทั้งสี่ก็บอกแก่คณะเทวดา
ดาวดึงส์ผู้นั่งประชุมในสุธัมมาสภาว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ในหมู่
มนุษย์ คนที่เกื้อกูลมารดาบิดา ฯลฯ ทำบุญมีจำนวนน้อย เพราะข้อที่บอกนั้น
คณะเทวดาดาวดึงส์ก็เสียใจ (บ่นกัน ) ว่า ทิพย์กายจักเบาบางเสียละหนอ
อสุรกายจักเต็มไป แต่ถ้าในหมู่มนุษย์ คนที่เกื้อกูลมารดาบิดา ฯลฯ ทำบุญ
มีจำนวนมาก มหาราชทั้งสี่ก็บอกแก่คณะเทวดาดาวดึงส์ ณ สุธรรมสภาว่า
ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ในหมู่มนุษย์ คนที่เกื้อกูลมารดาบิดา ฯลฯ
ทำบุญมีจำนวนมาก เพราะข้อที่บอกนั้น คณะเทวดาดาวดึงส์ก็ชื่นชม (แสดง
ความยินดี) ว่า ทิพย์กายจักบริบูรณ์ละพ่อคุณ อสุรกายจักเบาบาง.
จบปฐมราชสูตรที่ 7