เมนู

3 ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ธรรม 3 ประการเป็นไฉน คือ กายกรรม
ที่ไม่เป็นการเบียดเบียน 1 วจีกรรมที่ไม่เป็นการเบียดเบียน 1 มโนกรรมที่
ไม่เป็นการเบียดเบียน 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม
3 ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น
แหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ
เหล่าใด อันเราพึงรู้ว่าเป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม 3 ประการนั้น
บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการเหล่าใด อันเขาพึงรู้ว่าเป็นบัณฑิต เรา
จักประพฤติสมาทานธรรม 3 ประการนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
พึงศึกษาอย่างนี้แล.
จบสัพยาปัชชสูตรที่ 8

9. ขตสูตร



ว่าด้วยการบริหารตนแบบพาลและบัณฑิต



[448] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ
เป็นคนพาล ไม่ฉลาด เป็นอสัตบุรุษ ครองตนอันขาด (แก่นสาร) ถูก
ประหาร (เสียจากคุณธรรม) แล้วอยู่ เป็นคนประกอบด้วยโทษ ผู้รู้ติเตียน
และได้ประสบสิ่งอันไม่เป็นบุญมากด้วย ธรรม 3 ประการคืออะไรบ้าง คือ
กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้แล
เป็นคนพาล ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ เป็น
บัณฑิต ฉลาด เป็นสัตบุรุษ ครองตนอันไม่ขาด (แก่นสาร) ไม่ถูกประหาร
(จากคุณธรรม) อยู่ เป็นผู้ไม่มีโทษ ผู้รู้ไม่ติเตียน และได้บุญมากด้วย
ธรรม 3 ประการคืออะไรบ้าง คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต บุคคล
ประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้แล เป็นบัณฑิต ฯลฯ
จบขตสูตรที่ 9

อรรถกถาขตสูตร



พึงทราบวินิจฉัย ในสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้:-
ธรรมฝ่ายขาว ในส่วนเบื้องต้น กำหนดด้วยกุศลกรรมบถ 10 ใน
ส่วนเบื้องสูงย่อมได้ จนถึงอรหัตมรรค.
ในบทว่า พหุญฺจ ปุญฺญํ ปสวติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสถึงบุญที่คละกันไป ทั้งโลกิยะ และโลกุตระ.
จบอรรถกถาขตสูตรที่ 9