เมนู

อยู่ในธรรม มีอยู่. และพญายมอย่างนั้น ก็มิได้มีอยู่แต่พระองค์เดียว แต่ว่า
มีอยู่ถึง 4 พระองค์ ที่ 4 ประตู.

อธิบายศัพท์ อมัตเตยยะ อพรหมัญญะ



บทว่า อมตฺเตยฺโย ความว่า บุคคลผู้เกื้อกูลแก่มารดา ชื่อว่า
มัตเตยยะ อธิบายว่า เป็นผู้ปฏิบัติชอบในมารดา ผู้ไม่เกื้อกูลแก่มารดา ชื่อว่า
อมัตเตยยะ อธิบายว่า ผู้ปฏิบัติผิดในมารดา. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล.
ในบทว่า อพฺรหฺมญฺโญ นี้ มีอธิบายว่า พระขีณาสพชื่อว่าเป็น
พราหมณ์ บุคคลผู้ปฏิบัติผิดในพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า อพรหมัญญะ.
บทว่า สมนุยุญฺชติ ความว่า พญายมให้นำระเบียบในการซักถาม
มาซักถาม. แต่เมื่อให้ยืนยันลัทธิ ชื่อว่า ซักไซ้. เมื่อถามถึงเหตุ ชื่อว่า
ซักฟอก. ด้วยบทว่า นาทฺทสํ (ข้าพเจ้ามิได้เห็น) สัตว์นรกกล่าวอย่างนั้น
หมายถึงว่าไม่มีเทวทูตอะไร ๆ ที่ถูกส่งไปในสำนักของตน.

พญายมเตือน



ครั้งนั้น พญายมทราบว่า ผู้นี้ยังกำหนดความหมายของคำพูดไม่ได้
ต้องการจะให้เขากำหนด จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อมฺโภ ดังนี้กะเขา. บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า ชิณฺณํ ได้แก่ ทรุดโทรมเพราะชรา. บทว่า
โคปานสิวงฺกํ ได้แก่ โกง เหมือนกลอนเรือน. บทว่า โภคฺคํ ได้แก่
งุ้มลง. พญายมแสดงถึงภาวะที่บุคคลนั้น (มีหลัง) โกงนั่นแล ด้วยบทว่า
โภคฺคํ แม้นี้.

บทว่า ทณฺฑปรายนํ คือ มีไม้เท้าเป็นที่พึ่ง ได้แก่ มีไม้เท้า
เป็นเพื่อน. บทว่า ปเวธมานํ แปลว่า สั่นอยู่. บทว่า อาตุรํ ได้แก่
อาดูรเพราะชรา. บทว่า ขณฺฑทนฺตํ ได้แก่ ชื่อว่ามีฟันหัก เพราะอานุภาพ
ของชรา. บทว่า ปลิตเกสํ แปลว่า มีผมขาว (หงอก). บทว่า วิลูนํ ได้แก่
ศีรษะล้าน เหมือนถูกใครถอนเอาผมไป. บทว่า ขลิตสิรํ ได้แก่ ศีรษะ
ล้านมาก. บทว่า วลิตํ ได้แก่ เกิดริ้วรอย. บทว่า ติลกาหตคตฺตํ ได้แก่
มีตัวลายพร้อยไปด้วยจุดขาวจุดดำ. บทว่า ชราธมฺโม ความว่า มีชราเป็น
สภาพคือไม่พ้นจากชราไปได้ ธรรมดาว่าชราย่อมเป็นไปในภายในตัวเรามีเอง
แม้ในสองบทต่อมาว่า พฺยาธิธมฺโม มรณธมฺโม ก็มีนัยความหมายอย่าง
เดียวกันนี้แล.

เทวทูตที่ 1



ในบทว่า ปฐมํ เทวทูตํ สมนุยุญฺชิตฺวา นี้ พึงทราบอธิบาย
ดังต่อไปนี้ ธรรมดาว่า สัตว์ผู้ทรุดโทรมเพราะชราย่อมกล่าวโดยใจความอย่างนี้
ว่า ดูเถิด ท่านผู้เจริญทั้งหลาย แม้ข้าพเจ้าก็ได้เป็นหนุ่มสมบูรณ์ด้วยพลังขา
พลังแขน และความว่องไวเหมือนท่านมาแล้ว (แต่ว่า) ความสมบูรณ์ด้วยพลัง
และความว่องไวเหล่านั้นของข้าพเจ้านั้น หายไปหมดแล้ว แม้มือและเท้าของ
ข้าพเจ้าก็ไม่ทำหน้าที่ของมือและเท้า ข้าพเจ้ากลายมาเป็นคนอย่างนี้ก็เพราะ
ไม่พ้นจากชรา ก็แลไม่ใช่แต่เฉพาะข้าพเจ้าเท่านั้น ถึงพวกท่านก็ไม่พ้นจาก
ชราไปได้เหมือนกัน เหมือนอย่างว่า ชรามาแก่ข้าพเจ้าฉันใด ชราก็จักมา