เมนู

อยู่ในธรรม มีอยู่. และพญายมอย่างนั้น ก็มิได้มีอยู่แต่พระองค์เดียว แต่ว่า
มีอยู่ถึง 4 พระองค์ ที่ 4 ประตู.

อธิบายศัพท์ อมัตเตยยะ อพรหมัญญะ



บทว่า อมตฺเตยฺโย ความว่า บุคคลผู้เกื้อกูลแก่มารดา ชื่อว่า
มัตเตยยะ อธิบายว่า เป็นผู้ปฏิบัติชอบในมารดา ผู้ไม่เกื้อกูลแก่มารดา ชื่อว่า
อมัตเตยยะ อธิบายว่า ผู้ปฏิบัติผิดในมารดา. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล.
ในบทว่า อพฺรหฺมญฺโญ นี้ มีอธิบายว่า พระขีณาสพชื่อว่าเป็น
พราหมณ์ บุคคลผู้ปฏิบัติผิดในพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า อพรหมัญญะ.
บทว่า สมนุยุญฺชติ ความว่า พญายมให้นำระเบียบในการซักถาม
มาซักถาม. แต่เมื่อให้ยืนยันลัทธิ ชื่อว่า ซักไซ้. เมื่อถามถึงเหตุ ชื่อว่า
ซักฟอก. ด้วยบทว่า นาทฺทสํ (ข้าพเจ้ามิได้เห็น) สัตว์นรกกล่าวอย่างนั้น
หมายถึงว่าไม่มีเทวทูตอะไร ๆ ที่ถูกส่งไปในสำนักของตน.

พญายมเตือน



ครั้งนั้น พญายมทราบว่า ผู้นี้ยังกำหนดความหมายของคำพูดไม่ได้
ต้องการจะให้เขากำหนด จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อมฺโภ ดังนี้กะเขา. บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า ชิณฺณํ ได้แก่ ทรุดโทรมเพราะชรา. บทว่า
โคปานสิวงฺกํ ได้แก่ โกง เหมือนกลอนเรือน. บทว่า โภคฺคํ ได้แก่
งุ้มลง. พญายมแสดงถึงภาวะที่บุคคลนั้น (มีหลัง) โกงนั่นแล ด้วยบทว่า
โภคฺคํ แม้นี้.