เมนู

อรรถกถาทูตสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในทูตสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้:-

เทวทูต



บทว่า เทวทูตานิ ได้แก่ เทวทูตทั้งหลาย. ก็ในบทว่า เทวทูตานิ
นี้มีความหมายของคำดังต่อไปนี้ มัจจุชื่อว่า เทวะ ทูตของเทวะนั้น ชื่อว่า
เทวทูต อธิบายว่า คนแก่ คนเจ็บ และคนตาย เรียกว่า เทวทูต เพราะ
เป็นเหมือนเตือนอยู่ว่า บัดนี้ ท่านกำลังเข้าไปใกล้ความตาย โดยมุ่งหมาย
จะให้เกิดความสังเวช.
อนึ่ง ชื่อว่า เทวทูต เพราะหมายความว่า เป็นทูตเหมือนเทวดาบ้าง.
อธิบายว่า เมื่อเทวดาตกแต่งประดับประดา แล้วยืนพูดอยู่ในอากาศว่า ท่าน
จักตายในวันโน้น คำพูดของเทวดานั้นคนต้องเชื่อ ฉันใด แม้คนแก่ คนเจ็บ
และคนตาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อปรากฏก็เป็นเหมือนเตือนอยู่ว่า แม้ท่าน
ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา และคำพูดนั้นของคนแก่ คนเจ็บ และคนตายเหล่านั้น
ก็เป็นเหมือนคำพยากรณ์ของเทวดา เพราะไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นเลย
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เทวทูต เพราะเป็นทูตเหมือนเทวดา.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เป็นเทวทูต เพราะเป็นทูตของวิสุทธิเทพก็ได้
อธิบายว่า พระโพธิสัตว์ทุกองค์ เห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช
เท่านั้น ก็ถึงความสังเวชแล้วออกบวช. คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช
ชื่อว่า เทวทูต เพราะเป็นทูตของวิสุทธิเทพทั้งหลายบ้าง ดังพรรณนามานี้.
แต่ในสูตรนี้ ท่านกล่าวว่า เทวทูตานิ เพราะลิงควิปัลลาส.

พญายมถามเทวทูต



ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำว่า กาเยน
ทุจฺจริตํ
เป็นต้นไว้ ?
ตอบว่า เพื่อทรงแสดงถึงกรรมของผู้เข้าถึงฐานะที่เป็นเหตุ (ให้พญา
ยม) ซักถามถึงฐานะของเทวทูตทั้งหลาย.
จริงอยู่ สัตว์นี้ย่อมบังเกิดในนรกด้วยกรรมนี้. พญายมราช ย่อม
ซักถามเทวทูตทั้งหลาย. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเยน ทุจฺจริตํ จรติ
ความว่า ประพฤติทุจริต 3 อย่างทางกายทวาร. บทว่า วาจาย ความว่า
ประพฤติทุจริต 4 อย่างทางวจีทวาร. บทว่า มนสา ความว่า ประพฤติ
ทุจริต 3 อย่างทางมโนทวาร.

นายนิรยบาลมีจริงหรือไม่ ?



ในบทว่า ตเมนํ ภิกฺขเว นิรยปาลา นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
พระเถระบางพวกกล่าวว่า นายนิรยบาลไม่มีหรอก กรรมต่างหากเป็นเหมือน
หุ่นยนต์สร้างเหตุการณ์ขึ้น. คำนั้น ถูกคัดค้านไว้ในคัมภีร์อภิธรรมแล้วแล
โดยนัยเป็นต้นว่า ในนรกมีนายนิรยบาล และว่า ใช่แล้ว ผู้สร้างเหตุการณ์
ก็มีอยู่ เปรียบเหมือนในมนุษยโลก ผู้สร้างเหตุการณ์ คือ กรรม มีอยู่ฉันใด
ในนรก นายนิรยบาล ก็มีอยู่ฉันนั้นเหมือนกัน.

พญายมคือเวมานิกเปรต



บทว่า ยมสฺส รญฺโญ ความว่า พญาเวมานิกเปรต ชื่อว่า พญายม
เวลาหนึ่ง เสวยสมบัติมีต้นกัลปพฤกษ์ทิพย์ อุทยานทิพย์ และเหล่านางฟ้อน
ทิพย์ เป็นต้น ในวิมานทิพย์ เวลาหนึ่ง เสวยผลของกรรม. พญายมผู้ตั้ง
1. ปาฐะว่า เทวตานุยฺญฺชนฏ ฐานุปกฺกมทสฺสนตฺถํ ฉบับพม่าเป็น เทวทูตานุยุญฺชนฏฺ ฐานุปกฺกม
กมฺมทสฺสนฺตํว แปลตามฉบับพม่า.