เมนู

เหตุเกิดเทศนา



บทว่า เอตทโวจ ความว่า หัตถกราชบุตร ได้กราบทูลคำนั้น
คือคำมีอาทิว่า กจฺจิ ภนฺเต ภควา.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จไปประทับนั่ง
ยังที่นั้นเล่า (และ) เพราะเหตุไร พระราชกุมารจึงเสด็จไปในที่นั้น ?
ตอบว่า อันดับแรก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นเหตุเกิดพระธรรม
เทศนา ซึ่งมีเรื่องเป็นต้นเหตุให้เกิดอยู่แล้ว จึง (เสด็จไป) ประทับนั่งในที่นั้น
ฝ่ายพระราชกุมารเสด็จลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ มีอุบาสก 500 คนห้อมล้อม กำลัง
เสด็จดำเนินไปยังที่ที่พระพุทธเจ้า (ประทับอยู่) แยกออกจากทางใหญ่ ยึด
ทางโคเดิน เสด็จไปด้วยพระประสงค์ว่า เราจะเลือกเก็บดอกไม้คละกันไป เพื่อ
ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องบูชาพระพุทธเจ้า ดังนี้แล้ว ทอดพระเนตรเห็นพระ-
ศาสดา จึงเข้าไปเฝ้าถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง-
พระราชกุมารนั้น เสด็จไปที่นั้น ด้วยเหตุดังพรรณนามานี้.

หัตถกกุมารทูลถามพระพุทธเจ้า



บทว่า สุขมสยิตฺถ ความว่า (หัตถกกุมาร ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า)
พระผู้มีพระภาคเจ้า บรรทมเป็นสุขดีหรือ. บทว่า อนฺตรฏฺฐโก ความว่า
ในระหว่างเดือน 3 กับเดือน 4 เป็นกาลเวลา (ที่หิมะตก) อยู่ 8 วัน.
อธิบายว่า กาลเวลาที่หิมะตก เรียกว่า อันตรัฏฐกะ (อยู่ในระหว่าง) เพราะ
ในช่วงปลายเดือน 3 มีอยู่ 4 วัน (และ) ในช่วงต้นเดือน 4 มีอยู่อีก 4 วัน.
บทว่า หิมปาตสมโย แปลว่า สมัยที่หิมะตก. บทว่า ขรา ได้แก่
หยาบ หรือแข็ง. บทว่า โคกณฺฎกหตา ความว่า ตรงที่ที่โคเหยียบย่ำซึ่ง
มีฝนตกใหม่ ๆ โคลนทะลักขึ้นจากช่องกีบเท้าโคไปตั้งอยู่. โคลนนั้นแห้ง

เพราะลมและแดด เป็นเหมือนฟันเลื่อยกระทบเข้าแล้วเจ็บ หัตถกกุมารหมาย
เอาโคลนนั้น จึงกล่าวว่า โคกัณฏกหตาภูมิ. อนึ่ง มีความหมายว่า แผ่นดิน
ที่แยกออกเพราะช่องกีบเท้าโค.
บทว่า เวรมฺโพ วาโต วายติ ความว่า ลมย่อมพัดมาจากทิศทั้ง
4. ก็ลมที่พัดมาจากทิศเดียว 2 ทิศ หรือ 3 ทิศ ไม่เรียกว่า ลมเวรัมพา.
พระศาสดาทรงดำริว่า พระราชกุมารนี้ไม่รู้จักบุคคลที่อยู่เป็นสุข ไม่
รู้จักบุคคลที่อยู่เป็นทุกข์ในโลก เราจักทำให้พระราชกุมารนั้นรู้จักให้ได้ เมื่อ
จะทรงขยายพระธรรมเทศนาให้สูงขึ้น จึงตรัสคำนี้ว่า เตนหิ ราชกุมาร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถา เต ขเมยฺย ความว่า (พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสถามพระราชกุมารว่า) พึงชอบใจแก่พระองค์โดยประการใด. บทว่า
อิธสฺส ได้แก่ พึงมีโลกนี้.
บทว่า โคณกตฺถโต ความว่า แท่น (บัลลังก์) ที่ปูลาดด้วยผ้า
โกเชาว์สีดำที่มีขนยาว 4 นิ้ว. บทว่า ปฏิกตฺถโต ความว่า ปูลาดด้วยเครื่อง
ปูลาดสีขาวทำด้วยขนแกะ. บทว่า ปฏลิกตฺถโต ความว่า ปูลาดด้วยเครื่อง
ปูลาดที่ทำด้วยดอกไม้และขนแกะที่หนา. บทว่า กทฺทลิมิคปวร ปจฺจตฺถรโณ
ความว่า ปูลาดด้วยเครื่องปูลาดชั้นดีทำด้วยหนังกวาง. เล่ากันมาว่า เครื่องปูลาด
ชนิดนั้น เขาทำโดยลาดหนังกวางไว้บน ผ้าขาวแล้วเย็บ. บทว่า สอุตฺตรจฺฉโท
ได้แก่ (แท่น) พร้อมทั้งเครื่องมุงบังข้างบน อธิบายว่า พร้อมทั้งเพดานแดง
ซึ่งผูกไว้ข้างบน. บทว่า อุภโต โลหิตกูปธาโน ได้แก่ หมอนสีแดงที่
วางไว้ทั้งสองด้านของแท่น.
บทว่า ปชาปติโย ได้แก่ ภริยาทั้งหลาย. บทว่า มนาเปน
ปจฺจุปฏฺฐิตา อสฺสุ
ความว่า พึงได้รับการปรนนิบัติ ด้วยวิธีปรนนิบัติ

ที่น่าชอบใจ. บทว่า กายิกา วา ความว่า ความเร่าร้อนที่ยังกายอัน
ประกอบด้วยทวาร 5 ให้กำเริบ. บทว่า เจตสิกา วา ได้แก่ ทำมโนทวาร
ให้กำเริบ.
บทว่า โส ราโค ตถาคตสฺส ปหีโน ความว่า ราคะเห็นปานนั้น
พระตถาคตละได้แล้ว. ส่วนราคะที่เขามีอยู่ไม่ชื่อว่า พระตถาคตละ. แม้ใน
โทสะและโมหะ ก็มีนัย (ความหมายอย่างเดียวกัน) นี้แล.
บทว่า พฺราหฺมโณ คือ บุคคลผู้ลอยบาปได้แล้ว ได้แก่พราหมณ์
คือพระขีณาสพ ชื่อว่าดับสนิท เพราะดับกิเลสได้สนิท. บทว่า น ลิปฺปติ
กาเมสุ
ความว่า ไม่ติดอยู่ในวัตถุกาม และกิเลสกาม ด้วยเครื่องฉาบทา คือ
ตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า สีติภูโต ความว่า ชื่อว่า เย็น เพราะไม่มีกิเลส
เป็นเหตุให้เร่าร้อนในภายใน. บทว่า นิรูปธิ ความว่า ชื่อว่า ไม่มีอุปธิ
เพราะไม่มีอุปธิคือกิเลส.
บทว่า สพฺพา อาสตฺติโย เฉตฺวา ความว่า กิเลสทั้งหลายมี
ตัณหาเป็นต้น เรียกว่าเครื่องข้อง. (พราหมณ์) ตัดกิเลสเครื่องข้องเหล่านั้น
ทั้งหมด ซึ่งแผ่ซ่านไปในอารมณ์ทั้งหลายมีรูป เป็นต้น. บทว่า วิเนยฺย
หทเย ทรํ
ความว่า กำจัดคือระงับความกระวนกระวายที่อยู่ในใจ. บทว่า
สนฺตึ ปปฺปุยฺย เจตโส ความว่า ถึงการดับกิเลสแห่งจิต. อีกอย่างหนึ่ง
บทว่า เจตโส นั่นเป็นกรณะ (ตติยาวิภัติ). อธิบายว่า บรรลุนิพพานด้วยจิต
เหมือนในประโยคเป็นต้นว่า สพฺพํ เจตสา สมนฺนาหริตฺวา แปลว่า
ประมวลทุกสิ่งมาด้วยใจ.
จบอรรถกถาหัตถกสูตรที่ 5

6. ทูตสูตร


ว่าด้วยเทวทูต 3 จำพวก



[475] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทูต 3 นี้ 3 คืออะไรบ้าง คือ
บุคคลลางคนในโลกน ประพฤติทุจริตด้วยกาย... ด้วยวาจา... ด้วยใจ บุคคล
นั้น ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย ... ด้วยวาจา... ด้วยใจแล้ว เพราะกายแตก
ตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นิรยบาลทั้งหลาย ต่างก็จับบุคคล
นั้นที่แขนไปแสดงแก่พญายมว่า ข้าแต่เทวะ บุรุษผู้นี้เป็นคนไม่เกื้อกูล
มารดา... บิดา... สมณะ.. พราหมณ์ ไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล ขอ
พระองค์จงลงทัณฑ์แก่บุรุษนี้เถิด.
พญายมซักไซ้ไล่เลียง เทวทูตที่หนึ่ง กะบุรุษนั้นว่า ดูก่อนพ่อ เจ้า
ไม่ได้เห็นเทวทูตที่หนึ่ง ซึ่งปรากฏอยู่ในหมู่มนุษย์หรือ.
บุรุษนั้นตอบว่า ไม่ได้เห็น เจ้าข้า.
พญายม. เจ้าไม่ได้เห็นหรือ ในหมู่มนุษย์ หญิงหรือชายที่แก่แล้ว
มีอายุ 80 ปีบ้าง 90 ปีบ้าง 100 ปีบ้าง เป็นคนชราหลังโกง ค่อม กราน
ไม้เท้าเดินงกเงิ่น กระสับกระส่าย สิ้นความเป็นหนุ่มสาวแล้ว ฟันหัก ผมหงอก
เกรียน หัวล้าน ตัวเป็นเกลียวตกกระ.
บุรุษนั้น. ได้เห็น เจ้าข้า.
พญายม. เจ้าน่ะ เป็นผู้ใหญ่รู้เดียงสาแล้ว ไม่ได้คำนึงบ้างหรือว่า
ถึงตัวเราก็มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงความแก่ไปได้ มาเราจะทำความดี
ด้วยกายวาจาใจเถิด.