เมนู

ไม่ติดในกามทั้งหลาย ผู้นั้นเป็นคนเย็น
หาอุปธิ มิได้ ตัดเครื่องข้องทั้งปวง
กำจัดความกระวนกระวายในหทัย เข้า
ไปสงบแล้ว ถึงความสงบใจ นอน
เป็นสุข.

จบหัตถกสูตรที่ 5

อรรถกถาหัตถกสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในหัตถกสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-

หัตถกราชบุตร



บทว่า อาฬวิยํ แปลว่า ในแคว้นอาฬวี. บทว่า โคมคฺเค แปลว่า
ทางไปของฝูงโค. บทว่า ปณฺณสนฺตเร ได้แก่ บนเครื่องลาดด้วยใบไม้ที่
หล่นเอง.
บทว่า อถ1 ความว่า เมื่อพระตถาคตเจ้าทรงปูลาดจีวรผืนใหญ่ของ
พระสุคต ลงบนเครื่องลาดที่กวาดเอาใบไม้ที่หล่นเองมากองไว้ ในป่าประดู่-
ลาย ชิดทางหลวงสายตรง ที่เป็นทางโคเดิน (แยกออกไป) อย่างนี้แล้ว
ประทับนั่งขัดสมาธิ.
บทว่า หตฺถโก อาฬวโก ได้แก่ ราชบุตรชาวเมืองอาฬวี ทรงได้
พระนามว่า (หัตถกะ) อย่างนั้น เพราะเสด็จจากมือ (ของอาฬวกยักษ์) ไปสู่
พระหัตถ์ (ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า).
1. ปาฐะว่า อถาปิ ฉบับพม่าเป็น อถาติ (เป็นบทตั้ง) แปลตามฉบับพม่า.

เหตุเกิดเทศนา



บทว่า เอตทโวจ ความว่า หัตถกราชบุตร ได้กราบทูลคำนั้น
คือคำมีอาทิว่า กจฺจิ ภนฺเต ภควา.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จไปประทับนั่ง
ยังที่นั้นเล่า (และ) เพราะเหตุไร พระราชกุมารจึงเสด็จไปในที่นั้น ?
ตอบว่า อันดับแรก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นเหตุเกิดพระธรรม
เทศนา ซึ่งมีเรื่องเป็นต้นเหตุให้เกิดอยู่แล้ว จึง (เสด็จไป) ประทับนั่งในที่นั้น
ฝ่ายพระราชกุมารเสด็จลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ มีอุบาสก 500 คนห้อมล้อม กำลัง
เสด็จดำเนินไปยังที่ที่พระพุทธเจ้า (ประทับอยู่) แยกออกจากทางใหญ่ ยึด
ทางโคเดิน เสด็จไปด้วยพระประสงค์ว่า เราจะเลือกเก็บดอกไม้คละกันไป เพื่อ
ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องบูชาพระพุทธเจ้า ดังนี้แล้ว ทอดพระเนตรเห็นพระ-
ศาสดา จึงเข้าไปเฝ้าถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง-
พระราชกุมารนั้น เสด็จไปที่นั้น ด้วยเหตุดังพรรณนามานี้.

หัตถกกุมารทูลถามพระพุทธเจ้า



บทว่า สุขมสยิตฺถ ความว่า (หัตถกกุมาร ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า)
พระผู้มีพระภาคเจ้า บรรทมเป็นสุขดีหรือ. บทว่า อนฺตรฏฺฐโก ความว่า
ในระหว่างเดือน 3 กับเดือน 4 เป็นกาลเวลา (ที่หิมะตก) อยู่ 8 วัน.
อธิบายว่า กาลเวลาที่หิมะตก เรียกว่า อันตรัฏฐกะ (อยู่ในระหว่าง) เพราะ
ในช่วงปลายเดือน 3 มีอยู่ 4 วัน (และ) ในช่วงต้นเดือน 4 มีอยู่อีก 4 วัน.
บทว่า หิมปาตสมโย แปลว่า สมัยที่หิมะตก. บทว่า ขรา ได้แก่
หยาบ หรือแข็ง. บทว่า โคกณฺฎกหตา ความว่า ตรงที่ที่โคเหยียบย่ำซึ่ง
มีฝนตกใหม่ ๆ โคลนทะลักขึ้นจากช่องกีบเท้าโคไปตั้งอยู่. โคลนนั้นแห้ง