เมนู

เรื่องมหาวาตกาลอุบาสก



ก็ในระหว่างแม่น้ำคงคา ได้มีอุบาสกชื่อว่า มหาวาตกาละ. เขาสาธยาย
อาการ 32 เพื่อมุ่งโสดาปัตติมรรคถึง 30 ปี ถึงทิฏฐิวิปลาสว่า เราสาธยาย
อาการ 32 อยู่อย่างนี้ ก็ไม่อาจให้เกิดแม้เพียงโอภาสได้ ชะรอยพระพุทธศาสนา
จักไม่เป็นศาสนาเครื่องนำสัตว์ออกจากภพ (เป็นแน่) กระทำกาลกิริยาแล้ว
ได้ไปเกิดเป็นลูกจรเข้ยาว 9 อุสภะ ที่แม่น้ำมหาคงคา. คราวหนึ่ง เกวียนบรรทุก
เสาหิน 60 เล่ม เดินทางไปตามท่ากัจฉปะ. จรเข้นั้นฮุบกินทั้งโคทั้งหินเหล่านั้น
จนหมดสิ้น. นี้เป็นเรื่อง (ตัวอย่าง) ในอกุศลกรรม.

อธิบายกฏัตตาวาปนกรรม



ส่วนกรรมนอกเหนือจากกรรม 3 ดังกล่าวมาแล้วนี้ ทำไปโดยไม่รู้
ชื่อว่า กฏัตตาวาปนกรรม. กฏัตตาวาปนกรรมนั้น อำนวยวิบากได้ใน
กาลบางครั้ง เพราะไม่มีกรรม 3 อย่างเหล่านั้น เหมือนท่อนไม้1 ที่คนบ้า
ขว้างไป จะตกไปในที่ ๆ ไม่มีจุดหมายฉะนั้น.

อธิบายชนกกรรม



กรรมที่ให้เกิดปฏิสนธิอย่างเดียว ไม่ให้เกิดปวัตติกาล2 กรรมอื่น
ย่อมให้เกิดวิบากในปวัตติกาล ชื่อว่า ชนกกรรม. อุปมาเสมือนหนึ่งว่า
มารดาให้กำเนิดอย่างเดียว ส่วนพี่เลี้ยง นางนม ประคบประหงมฉันใด ชนก
กรรมก็เช่นนั้นเหมือนกัน ให้เกิดปฏิสนธิเหมือนมารดา (ส่วน) กรรมที่มา
ประจวบเข้าในปวัตติกาล3 เหมือนพี่เลี้ยงนางนม.
1. ปาฐะว่า ขิตฺตํ กณฺฑํ ฉบับพม่าเป็น ขิตตทณฺฑํ แปลตามฉบับพม่า.
2. ปาฐะว่า ปวตฺตํ ชเนติ ฉบับพม่าเป็น ปวตฺตึ น ชเนติ แปลตามฉบับพม่า.
3. ปาฐะว่า ปวตฺเต ปวตฺติกํ ฉบับพม่าเป็น ปวตเต สปฺปตฺกมฺมํ แปลตามฉบับพม่า.

อธิบายอุปัตถัมภกกรรม



ธรรมดาอุปัตถัมภกกรรม มีได้ทั้งในกุศล ทั้งในอกุศล เพราะว่า
ลางคนกระทำกุศลกรรมแล้วเกิดในสุคติภพ เขาดำรงอยู่ในสุคติภพนั้นแล้ว
บำเพ็ญกุศลบ่อย ๆ สนับสนุนกรรมนั้น ย่อมท่องเที่ยวไปในสุคติภพนั่นแหละ
ตลอดเวลาหลายพันปี. ลางคนกระทำอกุศลกรรมแล้วเกิดในทุคติภพ เขา
ดำรงอยู่ในทุคตินั้น กระทำอกุศลกรรมบ่อย ๆ สนับสนุนกรรมนั้นแล้ว จะ
ท่องเที่ยวไปในทุคติภพนั้นแหละ สิ้นเวลาหลายพันปี.
อีกนัยหนึ่งควรทราบดังนี้ ทั้งกุศลกรรม ทั้งอกุศลกรรม ชื่อว่าเป็น
ชนกกรรม. ชนกกรรมนั้นให้เกิดวิบากขันธ์ทั้งที่เป็นรูปและอรูป ทั้งใน
ปฏิสนธิกาล ทั้งในปวัตติกาล. ส่วนอุปัตถัมภกกรรม ไม่สามารถให้เกิดวิบาก
ได้ แต่จะสนับสนุนสุขทุกข์ที่เกิดขึ้นในเพราะวิบาก ที่ให้เกิดปฏิสนธิที่กรรม
อื่นให้ผลแล้ว ย่อมเป็นไปตลอดกาลนาน.

อธิบายอุปปีฬกกรรม



กรรมที่เบียดเบียน บีบคั้นสุขทุกข์ที่เกิดขึ้นในเพราะวิบากที่ให้เกิด
ปฏิสนธิ ที่กรรมอื่นให้ผลแล้ว จะไม่ให้ (สุขหรือทุกข์นั้น ) เป็นไปตลอด
กาลนาน ชื่อว่า อุปปีฬกกรรม.
ในอุปปีฬกกรรมนั้น มีนัยดังต่อไปนี้. เมื่อกุศลกรรมกำลังให้ผล
อกุศลกรรมจะเป็นอุปปีฬกกรรมไม่ให้ (โอกาส) กุศลกรรมนั้นให้ผล. แม้เมื่อ
อกุศลกรรมนั้นกำลังให้ผลอยู่ กุศลกรรมจะเป็นอุปปีฬกกรรมไม่ให้ (โอกาส)
อกุศลกรรมนั้นให้ผล. ต้นไม้ กอไม้ หรือเถาวัลย์ ที่กำลังเจริญงอกงาม
ใครคนใดคนหนึ่งเอาไม้มาทุบ หรือเอาศาสตรามาตัด เมื่อเป็นเช่นนั้น1
1. ปาฐะว่า อถโข ฉบับพม่าเป็น อถ โส แปลตามฉบับพม่า.