เมนู

กรรม 5. เมื่อครุกรรมนั้นมีอยู่ กุศลกรรม หรืออกุศลกรรมที่เหลือจะไม่
สามารถให้ผลได้. ครุกรรมแม้ทั้งสองอย่างนั้นแหละ จะให้ปฏิสนธิ. อุปมา
เสมือนหนึ่งว่า ก้อนกรวดหรือก้อนเหล็ก แม้ประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด
ที่โยนลงห้วงน้ำ ย่อมไม่สามารถจะลอยขึ้นเหนือน้ำได้ จะจมลงใต้น้ำอย่างเดียว
ฉันใด ในกุศลกรรมก็ดี อกุศลกรรมก็ดี ก็ฉันนั้นเหมือนกัน กรรมฝ่ายใดหนัก
เขาจะถือเอากรรมฝ่ายนั้นแหละไป.

อธิบายพหุลกรรม



ส่วนในกุศลกรรมและอกุศลกรรมทั้งหลาย กรรมใดมาก กรรมนั้น
ชื่อว่าพหุลกรรม. พหุลกรรมนั้น พึงทราบด้วยอำนาจอาเสวนะที่ได้แล้ว ตลอด
กาลนาน อีกอย่างหนึ่ง ในฝ่ายกุศลกรรม กรรมใดที่มีกำลังสร้างโสมนัสให้
ในฝ่ายอกุศลกรรม สร้างความเดือดร้อนให้ กรรมนั้นชื่อว่า พหุลกรรม อุปมา
เสมือนหนึ่งว่า เมื่อนักมวยปล้ำ 2 คนขึ้นเวที คนใดมีกำลังมาก คนนั้นจะ
ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งล้ม (แพ้) ไป ฉันใด พหุลกรรมนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จะทับถมกรรมพวกนี้ที่มีกำลังน้อย (ชนะ) ไป. กรรมใดมากโดยการเสพจนคุ้น
หรือมีกำลังโดยอำนาจทำให้เดือนร้อนมาก กรรมนั้นจะให้ผล เหมือนกรรม
ของพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย ฉะนั้น.

เรื่องพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย



เล่ากัน มาว่า พระเจ้าทุฏฐคามณีอภัยนั้น รบพ่ายแพ้ในจูฬังคณิยยุทธ์
ทรงควบม้าหนีไป. มหาดเล็กชื่อว่า ติสสอมาตย์ ของพระองค์1 ตามเสด็จไป
ได้คนเดียวเท่านั้น. ท้าวเธอเสด็จเข้าสู่ดงแห่งหนึ่ง ประทับนั่งแล้ว เมื่อถูก
ความหิวเบียดเบียน จึงรับสั่งว่า พี่ติสสะ เราสองคนหิวเหลือเกิน จะทำ
อย่างไร ? มีอาหารพระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ได้นำพระกระยาหารใส่ขันทอง
1. ปาฐะว่า ตตฺถ ฉบับพม่าเป็น ตสฺส แปลตามฉบับพม่า.

ใบหนึ่ง ช่อนไว้ในระหว่างผ้าสาฎกมาด้วยพระเจ้าข้า. ถ้าอย่างนั้น จงนำมา.
เขาจึงนำพระกระยาหารออกมาวางตรงพระพักตร์พระราชา. ท้าวเธอทรงเห็น
แล้วตรัสสั่งว่า จงแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ซิพ่อคุณ. เขาทูลถามว่า พวกเรามี
3 คน เหตุไฉน พระองค์จึงให้จัดเป็น 4 ส่วน. พี่ติสสะ เวลาที่เรานึกถึงตัว
เราไม่เคยบริโภคอาหารที่ยังไม่ได้ถวายแก่พระผู้เป็นเจ้าก่อนเลย ถึงวันนี้ เราก็
จักไม่ยอมบริโภค โดยยังไม่ได้ถวายอาหารแก่พระผู้เป็นเจ้า. เขาจึงจัดแบ่ง
อาหารออกเป็น 4 ส่วน. พระราชาทรงรับสั่งว่า ท่านจงประกาศเวลา. ในป่า
ร้าง เราจักได้พระคุณเจ้าที่ไหน พระพุทธเจ้าข้า. ข้อนี้ไม่ใช่หน้าที่ของท่าน
ถ้าศรัทธาของเรายังมี เราจักได้พระคุณเจ้าเอง ท่านจงวางใจ แล้วประกาศ
เวลาเถิด. เขาจึงประกาศถึง 3 ครั้งว่า ได้เวลาอาหารแล้ว ขอรับพระคุณเจ้า
ได้เวลาอาหารแล้ว ขอรับพระคุณเจ้า.
ลำดับนั้น พระโพธิยมาลกมหาติสสเถระ ได้ยินเสียงนั้นด้วยทิพยโสต-
ธาตุ รำพึงว่า เสียงนี้ที่ไหน ? จึงรู้ว่า วันนี้พระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย แพ้สงคราม
เสด็จเข้าสู่ดงดิบ ประทับนั่งแล้ว ให้แบ่งข้าวขันเดียวออกเป็น 4 ส่วน ทรง
รำพึงว่า เราจักบริโภคเพียงส่วนเดียว จึงให้ประกาศเวลา (ภัตร) คิดว่า วันนี้
เราควรทำการสงเคราะห์พระราชา แล้วมาโดยมโนคติ ได้ยืนอยู่ตรงพระพักตร์
พระราชา. พระราชาทอดพระเนตรเห็นแล้ว ทรงมีพระทัยเลื่อมใส รับสั่งว่า
เห็นไหมเล่า พี่ติสสะ ดังนี้ ไหว้พระเถระแล้ว ตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอ
ท่านจงให้บาตร. พระเถระนำบาตรออกแล้ว พระราชาทรงเทอาหารส่วนของ
พระเถระ พร้อมกับส่วนของพระองค์ลงในบาตรแล้วตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ขึ้นชื่อว่า ความลำบากด้วยอาหาร จงอย่ามีในกาลไหนๆ ทรงไหว้แล้วประทับ

ยืนอยู่. ฝ่ายติสสอมาตย์ คิดว่า เมื่อพระลูกเจ้าของเราทอดพระเนตรอยู่ เรา
จักไม่สามารถบริโภคได้ จึงได้เทส่วนของตนลงไปในบาตรพระเถระเหมือนกัน.
ถึงม้าก็คิดว่า ถึงเราก็ควรถวายส่วนของเราแก่พระเถระ. พระราชาทอด-
พระเนตรดูม้า แล้วทรงทราบว่า ถึงม้านี้ ก็ประสงค์จะใส่ส่วนของตนลงใน
บาตรของพระเถระเหมือนกัน จึงได้เทส่วนแม้นั้นลงในบาตรนั้นเหมือนกัน
ไหว้แล้วส่งพระเถระไป พระเถระถือเอาภัตรนั้นไป แล้วได้ถวายแด่ภิกษุสงฆ์
ตั้งแต่ต้น โดยแบ่งปั้นเป็นคำ ๆ.
แม้พระราชาทรงพระดำริว่า พวกเราหิวเหลือเกินแล้ว จะพึงเป็น
การดีมาก ถ้าหากพระเถระจะส่งอาหารที่เหลือมาให้. พระเถระรู้พระราชดำริ
ของพระราชาแล้ว จึงทำภัตรที่เหลือให้พอเพียงแก่คนเหล่านั้น จะดำรงชีวิต
อยู่ได้ จึงโยนบาตรไปในอากาศ. บาตรมาวางอยู่ที่พระหัตถ์ของพระราชาแล้ว.
แม้อาหารก็พอที่คนทั้ง 3 จะดำรงชีพอยู่ได้. ลำดับนั้น พระราชาทรงล้างบาตร
แล้ว ทรงดำริว่า เราจักไม่ส่งบาตรเปล่าไป จึงทรงเปลื้องพระภูษาชุบน้ำ
แล้ววางผ้าไว้ในบาตร ทรงอธิษฐานว่า ขอบาตรจงประดิษฐานอยู่ในมือ แห่ง
พระผู้เป็นเจ้าของเรา แล้วทรงโยนบาตรไปในอากาศ. บาตรไปประดิษฐานอยู่
ในมือของพระเถระแล้ว.
ในเวลาต่อมา เมื่อพระราชาให้ทรงสร้างมหาเจดีย์ สูง 120 ศอก
บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนที่ 8 แห่งพระตถาคตเจ้าไว้ เมื่อพระเจดีย์
ยังไม่ทันเสร็จ ก็ได้เวลาใกล้สวรรคต. ลำดับนั้น เมื่อพระภิกษุสงฆ์สาธยาย
โดยนิกายทั้ง 5 ถวายพระองค์ผู้บรรทมอยู่ข้างด้านทิศใต้แห่งมหาเจดีย์ รถ
6 คัน จากเทวโลก 6 ชั้น จอดเรียงรายอยู่ในอากาศ เบื้องพระพักตร์ของ
พระราชา พระราชาทรงรับสั่งว่า ท่านทั้งหลายจงนำสมุดบันทึกการทำบุญมา

แล้วรับสั่งให้อ่านสมุดนั้นมาแต่ต้น. ครั้นไม่มีกรรมอะไรที่จะให้พระองค์
ประทับพระทัย จึงตรัสสั่งว่า จงอ่านต่อไปอีก. คนอ่าน อ่านต่อไปว่า ข้าแต่
สมมติเทพ1 พระองค์ผู้ปราชัยในจุลลังคณิยยุทธสงความ เสด็จเข้าดงประทับ
นั่ง ถวายภิกษาแก่ท่านพระโพธิมาลกมหาติสสเถระ โดยทรงแบ่งพระ-
กระยาหารขันเดียวออกเป็น 4 ส่วน. พระราชารับสั่งให้หยุดอ่าน แล้วซักถาม
ภิกษุสงฆ์ว่า พระคุณเจ้าข้า เทวโลกชั้นไหนเป็นรมณียสถาน. ภิกษุสงฆ์
ถวายพระพรว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร ดุสิตพิภพเป็นที่ประทับของ
พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์. พระราชาสวรรคตแล้ว ประทับนั่งบนราชรถที่มา
แล้วจากดุสิตพิภพนั่นแหละ ได้เสด็จถึงดุสิตพิภพแล้ว. นี้เป็นเรื่อง (แสดง
ให้เห็น) ในการให้วิบากของกรรมที่มีกำลัง.

อธิบายยทาสันนกรรม



ส่วนในบรรดากุศลกรรมและอกุศลกรรมทั้งหลาย กรรมใดสามารถ
เพื่อจะให้ระลึกถึงในเวลาใกล้ตาย กรรมนั้น ชื่อว่า ยทาสันนกรรม.2
ยทาสันนกรรมนั่นแหละ เมื่อกุศลกรรมและอกุศลกรรมเหล่าอื่น ถึงจะ
มีอยู่ก็ให้ผล (ก่อน) เพราะอยู่ใกล้มรณกาล เหมือนเมื่อเปิดประตูคอก ที่มี
ฝูงโคเต็มคอก บรรดาโคฝึกและโคมีกำลัง ถึงจะอยู่ในส่วนอื่น (ไกลปากคอก)
โคตัวใดอยู่ใกล้ประตูคอก โดยที่สุดจะเป็นโคแก่ถอยกำลังก็ตาม โคตัวนั้น
ก็ย่อมออกได้ก่อนอยู่นั่นเอง ฉะนั้น. ในข้อนั้น มีเรื่องดังต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง

เรื่องคนเฝ้าประตูชาวทมิฬ



เล่ากันมาว่า ในบ้านมธุอังคณะ. มีนายประตูชาวทมิฬคนหนึ่งถือเอา
เบ็ดไปแต่เช้า ตกปลาได้แล้วแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนหนึ่งเอาแลกข้าวสาร
1. ปาฐะว่า ตเทว ฉบับพม่าเป็น เต เทว แปลตามฉบับพม่า
2. คำว่า ยทาสันนกรรม ก็คือ อาสันนกรรม