เมนู

ในบรรดากุศลอกุศลทั้งสองฝ่ายนี้ อุปปัชชเวทนียกรรมในฝ่ายที่เป็นกุศล พึง
ทราบด้วยสามารถแห่งสมาบัติ 8 ในฝ่ายที่เป็นอกุศล พึงทราบด้วยสามารถ
แห่งอนันตริยกรรม 5. บรรดากรรมทั้งสองฝ่ายนั้น ผู้ที่ได้สมาบัติ 8 จะเกิด
ในพรหมโลก ด้วยสมาบัติอย่างหนึ่ง. ฝ่ายผู้กระทำอนันตริยกรรม 5 จะบังเกิด
ในนรกด้วยกรรมอย่างหนึ่ง. สมาบัติที่เหลือ และกรรม (ที่เหลือ) จะถึงความ
เป็นอโหสิกรรมไปหนด คือเป็นกรรมที่ไม่มีวิบาก. แม้ความข้อนี้ พึงทราบ
ตามข้อเปรียบเทียบข้อแรกเทอญ.

อธิบายอปรปริยายเวทนียกรรม



ก็ชวนเจตนา 5 ดวง ที่เกิดขึ้นในระหว่าง แห่งชวนะ 2 ดวง (ชวน
เจตนาดวงที่ 1 และชวนเจตนาดวงที่ 7) ชื่อว่า อปรปริยายเวทนียกรรม.
อปรปริยายเวทนียกรรมนั้น ได้โอกาสเมื่อใดในอนาคตกาล เมื่อนั้น จะให้ผล
เมื่อความเป็นไปแห่งสังสารวัฏฏะยังมีอยู่ กรรมนั้นจะชื่อว่า เป็นอโหสิกรรม
ย่อมไม่มี. กรรมทั้งหมดนั้นควรแสดงด้วย (เรื่อง) พรานสุนัข. เปรียบเหมือน
สุนัขที่นายพรานเนื้อปล่อยไป เพราะเห็นเนื้อ จึงวิ่งตามเนื้อไป ทันเข้าในที่ใด
ก็จะกัดเอาในที่นั้นแหละ ฉันใด กรรมนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้โอกาสในที่ใด
ก็จะอำนวยผลในที่นั้นทันที. ขึ้นชื่อว่าสัตว์ จะรอดพ้นไปจากกรรมนั้น เป็น
ไม่มี.

อธิบายครุกกรรม



ส่วนในบรรดากรรมหนักและกรรมไม่หนัก ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล
กรรมใดหนัก กรรมนั้นชื่อว่า ครุกกรรม. ครุกกรรมนี้นั้น ในฝ่ายกุศล
พึงทราบว่าได้แก่ มหัคคตกรรม ในฝ่ายอกุศล พึงทราบว่าได้แก่ อนันตริย-

กรรม 5. เมื่อครุกรรมนั้นมีอยู่ กุศลกรรม หรืออกุศลกรรมที่เหลือจะไม่
สามารถให้ผลได้. ครุกรรมแม้ทั้งสองอย่างนั้นแหละ จะให้ปฏิสนธิ. อุปมา
เสมือนหนึ่งว่า ก้อนกรวดหรือก้อนเหล็ก แม้ประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด
ที่โยนลงห้วงน้ำ ย่อมไม่สามารถจะลอยขึ้นเหนือน้ำได้ จะจมลงใต้น้ำอย่างเดียว
ฉันใด ในกุศลกรรมก็ดี อกุศลกรรมก็ดี ก็ฉันนั้นเหมือนกัน กรรมฝ่ายใดหนัก
เขาจะถือเอากรรมฝ่ายนั้นแหละไป.

อธิบายพหุลกรรม



ส่วนในกุศลกรรมและอกุศลกรรมทั้งหลาย กรรมใดมาก กรรมนั้น
ชื่อว่าพหุลกรรม. พหุลกรรมนั้น พึงทราบด้วยอำนาจอาเสวนะที่ได้แล้ว ตลอด
กาลนาน อีกอย่างหนึ่ง ในฝ่ายกุศลกรรม กรรมใดที่มีกำลังสร้างโสมนัสให้
ในฝ่ายอกุศลกรรม สร้างความเดือดร้อนให้ กรรมนั้นชื่อว่า พหุลกรรม อุปมา
เสมือนหนึ่งว่า เมื่อนักมวยปล้ำ 2 คนขึ้นเวที คนใดมีกำลังมาก คนนั้นจะ
ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งล้ม (แพ้) ไป ฉันใด พหุลกรรมนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จะทับถมกรรมพวกนี้ที่มีกำลังน้อย (ชนะ) ไป. กรรมใดมากโดยการเสพจนคุ้น
หรือมีกำลังโดยอำนาจทำให้เดือนร้อนมาก กรรมนั้นจะให้ผล เหมือนกรรม
ของพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย ฉะนั้น.

เรื่องพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย



เล่ากัน มาว่า พระเจ้าทุฏฐคามณีอภัยนั้น รบพ่ายแพ้ในจูฬังคณิยยุทธ์
ทรงควบม้าหนีไป. มหาดเล็กชื่อว่า ติสสอมาตย์ ของพระองค์1 ตามเสด็จไป
ได้คนเดียวเท่านั้น. ท้าวเธอเสด็จเข้าสู่ดงแห่งหนึ่ง ประทับนั่งแล้ว เมื่อถูก
ความหิวเบียดเบียน จึงรับสั่งว่า พี่ติสสะ เราสองคนหิวเหลือเกิน จะทำ
อย่างไร ? มีอาหารพระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ได้นำพระกระยาหารใส่ขันทอง
1. ปาฐะว่า ตตฺถ ฉบับพม่าเป็น ตสฺส แปลตามฉบับพม่า.