เมนู

อธิบายทิฏฐิธรรมเวทนียกรรม



บรรดากรรม 11 อย่างนั้น ในบรรดา (ชวนะ) จิต 7 ชวนะ
ชวนเจตนาดวงแรก ที่เป็นกุศลหรืออกุศล ในชวนวิถีแรก ชื่อว่า ทิฏฐธรรม
เวทนียกรรม
.
ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมนั้น ให้วิบากในอัตภาพนี้เท่านั้น ที่เป็นกุศล
อำนวยวิบากในอัตภาพนี้ เหมือนกรรมของกากวฬิยเศรษฐีและปุณณกเศรษฐี
เป็นต้น ส่วน ที่เป็นอกุศล (อำนวยผลในอัตภาพนี้) เหมือนกรรมของ
นันทยักษ์ นันทมาณพ นันทโคฆาต ภิกษุโกกาลิกะ พระเจ้าสุปปพุทธะ
พระเทวทัต และนางจิญจมาณวิกา เป็นต้น. แต่เมื่อไม่สามารถให้ผล
อย่างนั้น จะเป็นอโหสิกรรมไป คือ ถึงความเป็นกรรมที่ไม่มีผล กรรมนั้น
พึงสาธกด้วยข้อเปรียบกับพรานเนื้อ.

อุปมาด้วยนายพรานเสือ



เปรียบเหมือนลูกศรที่นายพรานเนื้อ เห็นเนื้อแล้วโก่งธนูยิงไป ถ้า
ไม่พลาด ก็จะทำให้เนื้อนั้นล้มลงในที่นั้นเอง ลำดับนั้น นายพรานเนื้อก็จะ
ถลกหนังเนื้อนั้นออก เฉือนให้เป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่ ถือเอาเนื้อไปเลี้ยงลูกเมีย
แต่ถ้าพลาด เนื้อจะหนีไป ไม่หันกลับมาดูทิศนั้นอีก ฉันใด ข้ออุปไมยนี้
ก็พึงทราบฉันนั้น. อธิบายว่า การกลับได้วาระแห่งวิบากของทิฏฐิธรรม
เวทนียกรรม เหมือนกับลูกศรที่ยิงถูกเนื้อโดยไม่พลาด การกลับกลายเป็น
กรรมที่ไม่มีผล เหมือนลูกศรที่ยิงพลาดฉะนั้น ฉะนี้แล.

อธิบายอุปปัชชเวทนียกรรม



ส่วนชวนเจตนาดวงที่ 7 ที่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ชื่อว่า อุปปัชช
เวทนียกรรม
. อุปปัชชเวทนียกรรมนั้น อำนวยผลในอัตภาพต่อไป แต่

ในบรรดากุศลอกุศลทั้งสองฝ่ายนี้ อุปปัชชเวทนียกรรมในฝ่ายที่เป็นกุศล พึง
ทราบด้วยสามารถแห่งสมาบัติ 8 ในฝ่ายที่เป็นอกุศล พึงทราบด้วยสามารถ
แห่งอนันตริยกรรม 5. บรรดากรรมทั้งสองฝ่ายนั้น ผู้ที่ได้สมาบัติ 8 จะเกิด
ในพรหมโลก ด้วยสมาบัติอย่างหนึ่ง. ฝ่ายผู้กระทำอนันตริยกรรม 5 จะบังเกิด
ในนรกด้วยกรรมอย่างหนึ่ง. สมาบัติที่เหลือ และกรรม (ที่เหลือ) จะถึงความ
เป็นอโหสิกรรมไปหนด คือเป็นกรรมที่ไม่มีวิบาก. แม้ความข้อนี้ พึงทราบ
ตามข้อเปรียบเทียบข้อแรกเทอญ.

อธิบายอปรปริยายเวทนียกรรม



ก็ชวนเจตนา 5 ดวง ที่เกิดขึ้นในระหว่าง แห่งชวนะ 2 ดวง (ชวน
เจตนาดวงที่ 1 และชวนเจตนาดวงที่ 7) ชื่อว่า อปรปริยายเวทนียกรรม.
อปรปริยายเวทนียกรรมนั้น ได้โอกาสเมื่อใดในอนาคตกาล เมื่อนั้น จะให้ผล
เมื่อความเป็นไปแห่งสังสารวัฏฏะยังมีอยู่ กรรมนั้นจะชื่อว่า เป็นอโหสิกรรม
ย่อมไม่มี. กรรมทั้งหมดนั้นควรแสดงด้วย (เรื่อง) พรานสุนัข. เปรียบเหมือน
สุนัขที่นายพรานเนื้อปล่อยไป เพราะเห็นเนื้อ จึงวิ่งตามเนื้อไป ทันเข้าในที่ใด
ก็จะกัดเอาในที่นั้นแหละ ฉันใด กรรมนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้โอกาสในที่ใด
ก็จะอำนวยผลในที่นั้นทันที. ขึ้นชื่อว่าสัตว์ จะรอดพ้นไปจากกรรมนั้น เป็น
ไม่มี.

อธิบายครุกกรรม



ส่วนในบรรดากรรมหนักและกรรมไม่หนัก ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล
กรรมใดหนัก กรรมนั้นชื่อว่า ครุกกรรม. ครุกกรรมนี้นั้น ในฝ่ายกุศล
พึงทราบว่าได้แก่ มหัคคตกรรม ในฝ่ายอกุศล พึงทราบว่าได้แก่ อนันตริย-