เมนู

อรรถกถานิทานสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในนิทานสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า นิทานานิ ได้แก่ เหตุทั้งหลาย. บทว่า กมฺมานํ ได้แก่
กรรมที่ให้สัตว์ถึงวัฏฏะ. บทว่า โลโภ นิทานํ กมฺมานํ สมุทยาย ความว่า
ความโลภที่มีความอยากได้ และความละโมบ เป็นสภาพ เป็นต้นเหตุ คือ
เป็นเหตุ อธิบายว่า เป็นปัจจัย เพื่อการเกิดขึ้นแห่งกรรมที่ทำให้ถึงวัฏฏะ
คือทำการประมวลกรรม ที่จะให้ถึงวัฏฏะมา. โทษะที่มีความดุร้าย และความ
ประทุษร้ายเป็นสภาพ ชื่อว่า โทสะ. โมหะที่มีความหลง และความงมงาย
เป็นสภาพ ชื่อว่า โมหะ.
บทว่า โลภปกตํ แปลว่า กรรมที่บุคคลทำแล้ว ด้วยโลภจิต
อธิบายว่า ได้แก่ กรรมที่บุคคลผู้ถูกความโลภครอบงำ เกิดละโมบแล้วทำ.
กรรม ชื่อว่า โลภชํ เพราะเกิดจากความโลภ. กรรม ชื่อว่า โลภนิทานํ
เพราะมีความโลภเป็นต้นเหตุ. กรรม ชื่อว่า โลภสมุทยํ เพราะมีความโลภ
เป็นสมุทัย. ปัจจัย ชื่อว่า สมุทัย อธิบายว่า มีโลภะเป็นปัจจัย. บทว่า
ยตฺถสฺส อตฺตภาโว นิพฺพตฺตติ ความว่า ในที่ใดอัตภาพของบุคคลนั้น
ผู้มีกรรมเกิดแต่ความโลภเกิดขึ้น คือ ขันธ์ทั้งหลายย่อมปรากฏขึ้น.
บทว่า ตตฺถ ตํ กมฺมํ วิปจฺจติ ความว่า กรรมนั้นย่อมเผล็ดผลใน
ขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้น. บทว่า ทิฏเฐ วา ธมฺเม เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ เพื่อทรงแสดงถึงประเภทกรรมนั้น เพราะกรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรม

เวทนียกรรม (ให้ผลในชาตินี้) ก็มี เป็นอุปปัชชเวทนียกรรม (ให้ผลใน
ชาติหน้า) ก็มี หรือเป็น อปรปริยายเวทนียกรรม (ให้ผลในภพต่อ ๆ ไป)
ก็มี แม้ในบททั้งสองที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อขณฺฑานิ แปลว่า ไม่ถูกทำลาย. บทว่า อปูตีนิ ความว่า
ไม่ถึงความเป็นของไม่ใช่พืชพันธ์ เพราะเสีย. บทว่า อวาตาตปหตานิ
ความว่า ทั้งไม่ถูกลมโกรกและแดดเผา. บทว่า สาราทานิ ความว่า มีสาระ
ที่ถือเอาได้ คือมีสาระ ไม่ใช่ไม่มีสาระ. บทว่า สุขสยิตานิ ความว่า
อยู่อย่างปลอดภัย เพราะเก็บไว้ดี.
บทว่า สุกฺเขตเต ได้แก่ ในนาเตียน. บทว่า สุปริกมฺมกตาย
ภูมิยา ได้แก่ พื้นที่นา ที่บริกรรมแล้วด้วยดี ด้วยการไถด้วยไถ และด้วย
คราด. บทว่า นิกฺขิตฺตานิ ได้แก่ ปลูกไว้แล้ว. บทว่า อนุปฺปเวจฺเฉยฺย
ได้แก่ ตกเนือง ๆ. ในบทว่า วุฑฺฒึ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ชื่อว่า
เจริญ เพราะสูงขึ้นไป. ชื่อว่า งอกงาม เพราะมีรากยึดมั่นอยู่เบื้องล่าง.
ชื่อว่า ไพบูลย์ เพราะขยายออกไปโดยรอบ.
ก็ในสูตรนี้ คำใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ มีอาทิว่า ทิฏเฐ วา
ธมฺเม
เพื่อไม่ให้ฟั่นเฟือนในคำนั้น ในที่นี้ ควรกล่าวจำแนกกรรม (ออกไป).
อธิบายว่า โดยปริยายแห่งพระสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจำแนกกรรม
ไว้ 11 อย่าง. คือ ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม 1 อุปปัชชเวทนียกรรม 1
อปรปริยายเวทนียกรรม 1 ครุกกรรม 1 พหุลกรรม 1 ยทาสันนกรรม 1
กฏัตตวาปนกรรม 1 ชนกกรรม 1 อุปัตถัมภกกรรม 1 อุปปีฬก
กรรม 1 อุปฆาตกกรรม 1.

อธิบายทิฏฐิธรรมเวทนียกรรม



บรรดากรรม 11 อย่างนั้น ในบรรดา (ชวนะ) จิต 7 ชวนะ
ชวนเจตนาดวงแรก ที่เป็นกุศลหรืออกุศล ในชวนวิถีแรก ชื่อว่า ทิฏฐธรรม
เวทนียกรรม
.
ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมนั้น ให้วิบากในอัตภาพนี้เท่านั้น ที่เป็นกุศล
อำนวยวิบากในอัตภาพนี้ เหมือนกรรมของกากวฬิยเศรษฐีและปุณณกเศรษฐี
เป็นต้น ส่วน ที่เป็นอกุศล (อำนวยผลในอัตภาพนี้) เหมือนกรรมของ
นันทยักษ์ นันทมาณพ นันทโคฆาต ภิกษุโกกาลิกะ พระเจ้าสุปปพุทธะ
พระเทวทัต และนางจิญจมาณวิกา เป็นต้น. แต่เมื่อไม่สามารถให้ผล
อย่างนั้น จะเป็นอโหสิกรรมไป คือ ถึงความเป็นกรรมที่ไม่มีผล กรรมนั้น
พึงสาธกด้วยข้อเปรียบกับพรานเนื้อ.

อุปมาด้วยนายพรานเสือ



เปรียบเหมือนลูกศรที่นายพรานเนื้อ เห็นเนื้อแล้วโก่งธนูยิงไป ถ้า
ไม่พลาด ก็จะทำให้เนื้อนั้นล้มลงในที่นั้นเอง ลำดับนั้น นายพรานเนื้อก็จะ
ถลกหนังเนื้อนั้นออก เฉือนให้เป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่ ถือเอาเนื้อไปเลี้ยงลูกเมีย
แต่ถ้าพลาด เนื้อจะหนีไป ไม่หันกลับมาดูทิศนั้นอีก ฉันใด ข้ออุปไมยนี้
ก็พึงทราบฉันนั้น. อธิบายว่า การกลับได้วาระแห่งวิบากของทิฏฐิธรรม
เวทนียกรรม เหมือนกับลูกศรที่ยิงถูกเนื้อโดยไม่พลาด การกลับกลายเป็น
กรรมที่ไม่มีผล เหมือนลูกศรที่ยิงพลาดฉะนั้น ฉะนี้แล.

อธิบายอุปปัชชเวทนียกรรม



ส่วนชวนเจตนาดวงที่ 7 ที่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ชื่อว่า อุปปัชช
เวทนียกรรม
. อุปปัชชเวทนียกรรมนั้น อำนวยผลในอัตภาพต่อไป แต่