เมนู

4. นิทานสูตร



ว่าด้วยเหตุเกิดของกรรม



[473] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมต้นเหตุ 3 นี้ เพื่อความเกิดขึ้น
พร้อมมูลแห่งกรรม ต้นเหตุ 3 คืออะไร คือ โลภะ ... โทสะ ... โมหะ ...
เป็นต้นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม
กรรมที่บุคคลทำเพราะโลภะ ... โทสะ ... โมหะ เกิดแต่โลภะ ....
โทสะ ... โมหะ ... มีโลภะ ... โทสะ ... โมหะเป็นต้นเหตุ มีโลภะ ... โทสะ ...
โมหะเป็นแดนเกิดอันใด กรรมอันนั้นย่อมให้ผลในที่ ๆ อัตภาพของบุคคล
นั้นเกิด กรรมนั้นให้ผลในอัตภาพใด บุคคลนั้นย่อมได้เสวยผลของกรรมนั้น
ในอัตภาพนั้น เป็นทิฏฐิธรรม (คืออัตภาพปัจจุบัน) บ้าง เป็นอุปปัชชะ
(คืออัตภาพหน้า) บ้าง เป็นอปรปริยาย (คืออัตภาพต่อ ๆ ไป) บ้าง เปรียบ
เหมือนพืชทั้งหลายอันไม่ขาด ไม่เน่า ไม่เฉา ให้แก่นได้ มีรากฝังอยู่ดี
บุคคลปลูกไว้ในแผ่นดินที่ทำไว้ดีแล้ว ในไร่นาที่ดี ฝนเล่าก็หลั่งดี เมื่อเป็น
เช่นนี้ พืชเหล่านั้น ก็พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ฉันใด กรรมที่
บุคคลทำเพราะโลภะ ... โทสะ ... โมหะ ฯลฯ เป็นอปรปริยาย (คืออัตภาพ
ต่อ ๆ ไป) บ้าง ฉันนั้นเหมือนกัน นี้แล ภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุ 3 เพื่อ
ความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุ 3 นี้ เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่ง
กรรม ต้นเหตุ 3 คืออะไร คือ อโลภะ ... อโทสะ ... อโมหะ ... เป็น
ต้นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.

กรรมที่บุคคลทำเพราะอโลภะ ... อโทสะ ... อโมหะ มีอโลภะ ...
อโทสะ ... อโมหะเป็นต้นเหตุ มีอโลภะ ... อโทสะ... อโมหะเป็นแดนเกิด
อันใด เมื่อโลภะ ... โทสะ ... โมหะสิ้นไปแล้ว กรรมนั้นก็เป็นอันเขาละแล้ว
มีมูลขาดแล้ว ถูกทำให้เหมือนตอตาล (คือตาลยอดด้วน) แล้ว ถูกทำให้ไม่มี
ในภายหลังแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เปรียบเหมือนพืช
ทั้งหลาย อันไม่ขาด ไม่เน่า ไม่เฉา ให้แก่นได้ มีรากฝังอยู่ดี บุรุษเอาไฟ
เผาพืชเหล่านั้นเสียจนเป็นผุยผงแล้ว พึงโปรยเสียในลมแรงหรือสาดเสียใน
กระแสอันเชี่ยวในแม่น้ำ เมื่อเป็นอย่างนี้ พืชเหล่านั้นก็เป็นอันรากขาดแล้ว
ถูกทำให้เหมือนตอตาลแล้ว ถูกทำให้ไม่มีในภายหลังแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นอีก
ต่อไปเป็นธรรมดา ฉันใด กรรมที่บุคคลทำเพราะอโลภะ ... อโทสะ ...
อโมหะ ฯลฯ มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ฉันนั้นเหมือนกัน
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุ 3 เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม
(นิคมคาถา)
คนเขลา (ย่อมทำ) กรรมที่เกิด
เพราะโลภะ โทสะและโมหะ กรรมใด
ที่คนเขลานั้นทำแล้ว น้อยหรือมากก็ตาม
กรรมนั้น ให้ผลในอัตภาพ (ของผู้ทำ)
นี้แหละ วัตถุอื่น (ซึ่งจะเป็นที่รับผลของ
กรรมนั้น) ไม่มี เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้รู้
(ละ) โลภะ โทสะ โมหะ เสียแล้ว ยัง
วิชชาให้เกิดขึ้น ก็พึงละทุคติทั้งปวงได้.

จบนิทานสูตรที่ 4

อรรถกถานิทานสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในนิทานสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า นิทานานิ ได้แก่ เหตุทั้งหลาย. บทว่า กมฺมานํ ได้แก่
กรรมที่ให้สัตว์ถึงวัฏฏะ. บทว่า โลโภ นิทานํ กมฺมานํ สมุทยาย ความว่า
ความโลภที่มีความอยากได้ และความละโมบ เป็นสภาพ เป็นต้นเหตุ คือ
เป็นเหตุ อธิบายว่า เป็นปัจจัย เพื่อการเกิดขึ้นแห่งกรรมที่ทำให้ถึงวัฏฏะ
คือทำการประมวลกรรม ที่จะให้ถึงวัฏฏะมา. โทษะที่มีความดุร้าย และความ
ประทุษร้ายเป็นสภาพ ชื่อว่า โทสะ. โมหะที่มีความหลง และความงมงาย
เป็นสภาพ ชื่อว่า โมหะ.
บทว่า โลภปกตํ แปลว่า กรรมที่บุคคลทำแล้ว ด้วยโลภจิต
อธิบายว่า ได้แก่ กรรมที่บุคคลผู้ถูกความโลภครอบงำ เกิดละโมบแล้วทำ.
กรรม ชื่อว่า โลภชํ เพราะเกิดจากความโลภ. กรรม ชื่อว่า โลภนิทานํ
เพราะมีความโลภเป็นต้นเหตุ. กรรม ชื่อว่า โลภสมุทยํ เพราะมีความโลภ
เป็นสมุทัย. ปัจจัย ชื่อว่า สมุทัย อธิบายว่า มีโลภะเป็นปัจจัย. บทว่า
ยตฺถสฺส อตฺตภาโว นิพฺพตฺตติ ความว่า ในที่ใดอัตภาพของบุคคลนั้น
ผู้มีกรรมเกิดแต่ความโลภเกิดขึ้น คือ ขันธ์ทั้งหลายย่อมปรากฏขึ้น.
บทว่า ตตฺถ ตํ กมฺมํ วิปจฺจติ ความว่า กรรมนั้นย่อมเผล็ดผลใน
ขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้น. บทว่า ทิฏเฐ วา ธมฺเม เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ เพื่อทรงแสดงถึงประเภทกรรมนั้น เพราะกรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรม