เมนู

เรากล่าวการละกามสัญญา (ความ-
หมายในกาม) และโทมนัส (ความเสียใจ)
ทั้ง 2 เสียได้ การบรรเทาถีนะ (ความ
ท้อแท้ใจ) เสียได้ การสกัดกั้น กุกกุจจะ
(ความรำคาญใจ) เสียได้ ว่าเป็นอัญญา-
วิโมกข์ (ความพ้นด้วยความรู้) อันหมดจด
ดีด้วยอุเบกขาและสติ มีความตรึกในธรรม
นำหน้า เป็นเครื่องทำลายอวิชชา ดังนี้.

จบสารีปุตตสูตรที่ 3

อรรถกถาสารีปุตตสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสารีปุตตสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สงฺขิตฺเตน ได้แก่ ด้วยการตั้งเป็นบทมาติกาไว้. บทว่า
วิตฺถาเรน ได้แก่ การจำแนกมาติกาที่ตั้งไว้แล้วออกไป. บทว่า สงฺขิตฺตวิตฺ-
ถาเรน
ได้แก่บางครั้งก็ย่อ บางครั้งก็พิสดาร. บทว่า อญฺญาตาโร จ ทุลฺ-
ลภา
ความว่า ก็บุคคลผู้จะแทงตลอดหาได้ยาก.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้ กะพระสารีบุตรเถระ โดยมีพระพุทธ
ประสงค์ว่า เราตถาคตจะต่อญาณให้พระสารีบุตร. พระเถระครั้นได้สดับ
พระพุทธดำรัสนั้นแล้ว ถึงแม้จะไม่กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์
จักเข้าใจเองก็จริง แต่โดยมีประสงค์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์