เมนู

3. สารีปุตตสูตร



ว่าด้วยผู้ตัดตัณหาได้



[472] ครั้งนั้น ท่านสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นเข้าไปถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านสารีบุตรผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้วว่า
สารีบุตร เราพึงแสดงธรรมโดยย่อบ้าง ... โดยพิสดารบ้าง ... ทั้งโดยย่อ
ทั้งโดยพิสดารบ้าง แต่ผู้รู้ทั่วถึงธรรมหาได้ยาก
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นกาละ ข้าแต่พระสุคต เป็นกาละ
ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงทรงแสดงธรรมโดยย่อบ้าง ... โดยพิสดารบ้าง
... ทั้งโดยย่อทั้งโดยพิสดารบ้าง ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี
เพราะเหตุนั้น สารีบุตร ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้อย่างนี้ว่า
อหังการ มมังการ และมานานุสัย จักไม่มีในกายอันมีวิญญาณนี้ และ
ในสรรพนิมิตภายนอก อนึ่ง เมื่อภิกษุเข้าถึงเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันใดอยู่
อหังการ มมังการ และมานานุสัย ย่อมไม่มี เราทั้งหลายจักเข้าถึง
เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตตินั้นอยู่ สารีบุตร ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
สารีบุตร เมื่ออหังการ มมังการ และมานานุสัย ไม่มีในกาย
อันมีวิญญาณนี้ของภิกษุ และในสรรพนิมิตภายนอก อนึ่ง เมื่อเข้าถึง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันใดอยู่ อหังการ มมังการ และมานานุสัย
ย่อมไม่มี ภิกษุเข้าถึงเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันนั้นอยู่ สารีบุตร เรากล่าวว่า
ภิกษุนี้ตัดตัณหาแล้ว รื้อสังโยชน์แล้ว กระทำที่สุดทุกข์ได้ เพราะละมานะได้
โดยชอบแล้ว ก็แล เราหมายเอาข้อนี้ได้กล่าวในอุทยปัญหา ในปารายนวรรคว่า

เรากล่าวการละกามสัญญา (ความ-
หมายในกาม) และโทมนัส (ความเสียใจ)
ทั้ง 2 เสียได้ การบรรเทาถีนะ (ความ
ท้อแท้ใจ) เสียได้ การสกัดกั้น กุกกุจจะ
(ความรำคาญใจ) เสียได้ ว่าเป็นอัญญา-
วิโมกข์ (ความพ้นด้วยความรู้) อันหมดจด
ดีด้วยอุเบกขาและสติ มีความตรึกในธรรม
นำหน้า เป็นเครื่องทำลายอวิชชา ดังนี้.

จบสารีปุตตสูตรที่ 3

อรรถกถาสารีปุตตสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสารีปุตตสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สงฺขิตฺเตน ได้แก่ ด้วยการตั้งเป็นบทมาติกาไว้. บทว่า
วิตฺถาเรน ได้แก่ การจำแนกมาติกาที่ตั้งไว้แล้วออกไป. บทว่า สงฺขิตฺตวิตฺ-
ถาเรน
ได้แก่บางครั้งก็ย่อ บางครั้งก็พิสดาร. บทว่า อญฺญาตาโร จ ทุลฺ-
ลภา
ความว่า ก็บุคคลผู้จะแทงตลอดหาได้ยาก.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้ กะพระสารีบุตรเถระ โดยมีพระพุทธ
ประสงค์ว่า เราตถาคตจะต่อญาณให้พระสารีบุตร. พระเถระครั้นได้สดับ
พระพุทธดำรัสนั้นแล้ว ถึงแม้จะไม่กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์
จักเข้าใจเองก็จริง แต่โดยมีประสงค์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์