เมนู

แปลว่า ไม่พึงมี. บทว่า พหิทฺธา จ สพฺพนิมิตฺเตสุ ได้แก่ ในนิมิตทั้งหมด
ในภายนอกเห็นปานนี้ คือ รูปนิมิต 1 สัททนิมิต 1 คันธนิมิต 1
รสนิมิต 1 โผฏฐัพพนิมิต 1 สัสสตาทินิมิต
(นิมิตว่า เที่ยงเป็นต้น) 1
ปุคคลนิมิต 1 ธรรมนิมิต 1.
บทว่า เจโตวิมุตฺตึ ปญฺญาวิมุตฺตึ ได้แก่ ผลสมาธิ และผลญาณ.
บทว่า สิยา แปลว่า พึงมี. บทว่า อิธานนฺท ภิกฺขุโน ความว่า
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในศาสนานี้.

ลักษณะของนิพพาน



พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงพระนิพพานจึงตรัสว่า เอตํ สนฺตํ
เอตํ ปณีตํ
ดังนี้. ก็นิพพาน ชื่อว่า สันตะ เพราะกิเลสทั้งหลายสงบ. นิพพาน
ชื่อว่า สันตะ เพราะจิตตุปบาทของผู้แอบอิงสมาบัติ โดยคำนึงว่า พระ-
นิพพานเป็นแดนสงบ
แล้วนั่งตลอดทั้งวัน เป็นไปว่า สงบแล้วนั่น
แหละ
ดังนี้บ้าง.
บทว่า ปณีตํ ความว่า นิพพานชื่อว่าประณีต เพราะจิตตุปบาท
ของบุคคลที่นั่งเข้าสมาบัติ ย่อมเป็นไปว่า ประณีต". แม้บทว่า สพฺพสงฺขาร-
สมโถ
เป็นต้น ก็เป็นไวพจน์ของนิพพานนั้นเหมือนกัน.
ก็จิตตุปบาท ของบุคคลผู้นั่งเข้าสมาบัติทั้งวัน โดยคำนึงว่า ความสงบ
แห่งสังขารทั้งหมดดังนี้ ย่อมเป็นไปว่า "ระงับสังขารทั้งปวง" ฯลฯ อนึ่ง
เพราะความไม่มีแห่งตัณหากล่าว คือ เครื่องร้อยรัดไว้ในภพ 3 อันได้นามว่า
นิพพาน จิตตุปบาทของบุคคลผู้นั่งเข้าสมาบัติในนิพพานนั้นย่อมเป็นไปว่า
นิพพาน เพราะเหตุนั้น นิพพานจึงได้นามว่า สพฺพสงฺขารสมโถ เป็นต้น.
ก็ในการพิจารณา คือ การคำนึง ทั้งแปดอย่างนี้ ในที่นี้จะคำนึงอย่างเดียว
ก็ได้ 2 อย่างก็ได้ ทั้งหมดก็ได้เหมือนกัน.

บทว่า สงฺขาย คือรู้ด้วยญาณ. บทว่า ปโรปรานิ ตัดบทเป็น
ปรานิ จ โอปรานิ จ อธิบาย อัตภาพของบุคคลอื่น และอัตภาพ
ของตนเป็นต้น ชื่อว่า ประ (คือ อัตภาพของบุคคลอื่น) และชื่อว่า โอประ
(คือ อัตภาพของตน.) บทว่า ยสฺส คือของพระอรหันต์ใด. บทว่า อิญฺชิตํ
คือความหวั่นไหว ได้แก่ ความกวัดแกว่ง คือ ความดิ้นรน 7 อย่างเหล่านี้*
คือ ความหวั่นไหวเพราะราคะ ความหวั่นไหวเพราะโทสะ ความหวั่นไหว
เพราะโมหะ ความหวั่นไหวเพราะมานะ ความหวั่นไหวเพราะทิฏฐิ ความ
หวั่นไหวเพราะกิเลส และความหวั่นไหวเพราะทุจริต. บทว่า นตฺถิ กุหิญฺจิ
คือไม่มีในอารมณ์ไหน ๆ คือ แม้ในอารมณ์อย่างหนึ่ง.
บทว่า สนฺโต ได้แก่ (บุคคลนั้น) ชื่อว่า สงบเพราะกิเลสที่เป็น
ข้าศึกสงบ. บทว่า วิธูโม ได้แก่ ปราศจากควัน มีกายทุจริตเป็นต้น. บทว่า
อนีโฆ ได้แก่ปราศจากเครื่องคับแค้นมีราคะเป็นต้น. บทว่า นิราโส ได้แก่
ไม่มีตัณหา. บทว่า อตาริ ได้แก่ ข้าม คือ ข้ามพ้น ได้แก่ ล่วงเลย. บทว่า
โส ได้แก่พระอรหันตขีณาสพนั้น. ในบทว่า ชาติชรํ นี้ แม้พยาธิ และ
มรณะ ก็พึงทราบว่าทรงหมายเอาแล้วเหมือนกันด้วยศัพท์ว่า ชาติ ชรา
นั่นเอง. อรหันตผลสมาบัตินั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วทั้งในพระสูตร
ทั้งในคาถา ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้แล.
จบอรรถกถาอนันทสูตรที่ 2
* ความหวั่นไหว 7 อย่างคือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส และทุจริต

3. สารีปุตตสูตร



ว่าด้วยผู้ตัดตัณหาได้



[472] ครั้งนั้น ท่านสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นเข้าไปถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านสารีบุตรผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้วว่า
สารีบุตร เราพึงแสดงธรรมโดยย่อบ้าง ... โดยพิสดารบ้าง ... ทั้งโดยย่อ
ทั้งโดยพิสดารบ้าง แต่ผู้รู้ทั่วถึงธรรมหาได้ยาก
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นกาละ ข้าแต่พระสุคต เป็นกาละ
ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงทรงแสดงธรรมโดยย่อบ้าง ... โดยพิสดารบ้าง
... ทั้งโดยย่อทั้งโดยพิสดารบ้าง ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี
เพราะเหตุนั้น สารีบุตร ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้อย่างนี้ว่า
อหังการ มมังการ และมานานุสัย จักไม่มีในกายอันมีวิญญาณนี้ และ
ในสรรพนิมิตภายนอก อนึ่ง เมื่อภิกษุเข้าถึงเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันใดอยู่
อหังการ มมังการ และมานานุสัย ย่อมไม่มี เราทั้งหลายจักเข้าถึง
เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตตินั้นอยู่ สารีบุตร ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
สารีบุตร เมื่ออหังการ มมังการ และมานานุสัย ไม่มีในกาย
อันมีวิญญาณนี้ของภิกษุ และในสรรพนิมิตภายนอก อนึ่ง เมื่อเข้าถึง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันใดอยู่ อหังการ มมังการ และมานานุสัย
ย่อมไม่มี ภิกษุเข้าถึงเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันนั้นอยู่ สารีบุตร เรากล่าวว่า
ภิกษุนี้ตัดตัณหาแล้ว รื้อสังโยชน์แล้ว กระทำที่สุดทุกข์ได้ เพราะละมานะได้
โดยชอบแล้ว ก็แล เราหมายเอาข้อนี้ได้กล่าวในอุทยปัญหา ในปารายนวรรคว่า