เมนู

สละอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่หมดกำหนัด เป็นที่ดับ คือ นิพพาน
มีอย่างนี้แล อานนท์ การได้สมาธิอย่างนั้น...
ก็แล คำที่เราหมายเอาความที่กล่าวมานี้ ได้กล่าวในปุณณกปัญหาใน
ปารายนวรรคว่า
ความหวั่นไหวในโลกไหน ๆ ของ
ผู้ใดไม่มี เพราะพิจารณาเห็นอารมณ์
อันยิ่งและหย่อนในโลก เรากล่าวว่า ผู้นั้น
ซึ่งเป็นคนสงบไม่มีโทษดุจควัน ไม่มี
ทุกข์ใจ ไม่มีความหวัง ข้ามชาติและชรา
ได้ ดังนี้
.
จบอานันทสูตรที่ 2

อรรถกถาอานันทสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอานันทสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตถารูโป แปลว่า ชนิดนั้น. บทว่า สมาธิปฏิลาโภ
แปลว่า การได้เอกัคคตาแห่งจิต. ในบทว่า อิมสฺมึ จ สวิญฺญาณเก นี้
พึงทราบอธิบายว่า ในร่างกายทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งของตน และของคนอื่น
ที่พระอานันทเถระเจ้ากล่าวไว้ว่า อิมสฺมึ (นี้) โดยรวม (ร่างกายทั้งสอง)
เข้าด้วยกัน เพราะมีความหมายว่า เป็นสวิญญาณกะ (มีวิญญาน) เหมือนกัน.
บทว่า อหงฺการมมงฺการมานานุสยา ได้แก่ กิเลสเหล่านี้ คือ ทิฏฐิ คือ
อหังการ 1 ตัณหา คือ มมังการ 1 อนุสัย คือ มานะ 1. บทว่า นาสฺสุ