เมนู

5. อโยนิโสสูตร



ว่าด้วยธรรมที่บ่งบอกว่าเป็นพาลหรือบัณฑิต



[444] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ
พึงทราบได้ว่าเป็นพาล ธรรม 3 ประการคืออะไรบ้าง คือ ตั้งปัญหาโดยไม่
แยบคาย แก้ปัญหาโดยไม่แยบคาย อนึ่ง คนอื่นแก้ปัญหาได้แยบคาย ด้วย
ถ้อยคำอันกลมกล่อมสละสลวยได้เหตุผลแล้ว ไม่อนุโมทนา บุคคลประกอบ
ด้วยธรรม 3 ประการนี้แล พึงทราบเถิดว่าเป็นคนพาล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ พึงทราบ
ได้ว่าเป็นบัณฑิต ธรรม 3 ประการคืออะไรบ้าง คือ ตั้งปัญหาโดยแยบคาย
แก้ปัญหาโดยแยบคาย อนึ่ง คนอื่นแก้ปัญหาได้แยบคาย ด้วยถ้อยคำอัน
กลมกล่อมสละสลวยได้เหตุผลแล้วอนุโมทนา บุคคลประกอบด้วยธรรม 3
ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย พึงทราบเถิดว่าเป็นบัณฑิต.
จบอโยนิโสสูตรที่ 5

อรรถกถาอโยนิโสสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอโยนิโสสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อโยนิโส ปญฺหํ กตฺตา โหติ ความว่า คนพาลย่อมทำ
สิ่งที่ไม่เป็นปัญหานั่นแลให้เป็นปัญหา เพราะคิดไม่ถูกวิธี เหมือนพระโลฬุ-
ทายีเถระ เมื่อถูกถามว่า อุทายี ที่ตั้งของอนุสติมีเท่าไรหนอแล ก็คิดว่า
ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในภพก่อน จักเป็นที่ตั้งของอนุสติ ดังนี้แล้ว ทำสิ่งที่ไม่
เป็นปัญหาให้เป็นปัญหาฉะนั้น.
บทว่า อโยนิโส ปญฺหํ วิสชฺเชตา โหติ ความว่า ก็คนพาล
แม้เมื่อจะวิสัชนาปัญหาที่คิดได้อย่างนี้* ก็กลับวิสัชนาโดยไม่แยบคาย คล้าย
พระเถระนั้นนั่นแล โดยนัยมีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุในธรรม-
วินัยนี้ ย่อมระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในภพก่อนได้มากมาย คือ ระลึกได้ชาติ
หนึ่งบ้าง คือย่อมกล่าวสิ่งที่ไม่เป็นปัญหานั่นแล ว่าเป็นปัญหา.
ในบทว่า ปริมณฺฑเลหิ ปทพฺยญฺชเนหิ นี้ พึงทราบวินิจฉัยดัง
ต่อไปนี้
บทนั่นแล ชื่อว่า บทพยัญชนะ เพราะทำความหมายให้ปรากฏ บท
พยัญชนะนั้นที่กล่าวทำอักษรให้บริบูรณ์ ไม่ให้เสียความหมายของพยัญชนะ
10 อย่าง ชื่อว่า เป็นปริมณฑล (กลมกลืน). อธิบายว่า ด้วยบทพยัญชนะ
เห็นปานนี้.
บทว่า สิลิฏฺเฐหิ ได้แก่ ที่ชื่อว่า สละสลวย เพราะมีบทอันสละสลวย.
บทว่า อุปคเตหิ ได้แก่ เข้าถึงผลและเหตุ.
* ปาฐะว่า จินฺติตํ ปุน ฉบับพม่าเป็น เอวํ จินฺติตํ ปน แปลตามฉบับพม่า