เมนู

เทวทูตวรรควรรณนาที่ 4



อรรถกถาพรหมสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในพรหมสูตรที่ 1 แห่งเทวทูตวรรคที่ 4 ดังต่อ
ไปนี้ :-
บทว่า อชฺฌาคาเร ได้แก่ในเรือนของตน. บทว่า ปูชิตา โหนฺติ
ความว่า มารดาบิดาเป็นผู้อันบุตรปฏิบัติบำรุง ด้วยสิ่งของที่อยู่ในเรือน.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงประกาศตระกูลที่บูชามารดาบิดา ว่าเป็น
ตระกูลมีพรหม (ประจำบ้าน) โดยมีมารดาบิดา (เป็นพรหม) อย่างนี้แล้ว
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงถึงข้อที่มารดาบิดาเหล่านั้น เป็นบุรพาจารย์เป็นต้น
จึงตรัสคำมีอาทิว่า สปุพฺพาจริยกานิ (มีบุรพาจารย์) ดังนี้. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า พฺรหฺมา เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อให้สำเร็จ
ความเป็นพรหมเป็นต้น แก่ตระกูลเหล่านั้น. บทว่า พหุการา ได้แก่
มีอุปการะมากแก่บุตรทั้งหลาย. บทว่า อาปาทกา ได้แก่ ถนอมชีวิตไว้.
อธิบายว่า มารดาบิดาถนอมชีวิตบุตร คือเลี้ยงดู ประคบประหงม ได้แก่
ให้เป็นไปโดยต่อเนื่องกัน. บทว่า โปสกา ความว่า เลี้ยงดูให้มือเท้าเติบโต
ให้ดื่มเลือดในอก. บทว่า อิมสฺส โลกสฺส ทสฺเสตาโร ความว่า เพราะ
ชื่อว่า การที่บุตรทั้งหลายได้เห็นอิฎฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ ในโลกนี้เกิด
มีขึ้น เพราะได้อาศัยมารดาบิดา เพราะฉะนั้น มารดาบิดาจึงชื่อว่า เป็นผู้แสดง
โลกนี้.
คำว่า พรหม ในบทคาถาว่า พฺรหมาติ มาตาปิตโร นี้ เป็นชื่อของ
ท่านผู้ประเสริฐสุด. พระพรหมจะไม่ละภาวหา 4 อย่าง คือ เมตตา กรุณา

มุทิตา อุเบกขา ฉันใด มารดาบิดาทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะไม่ละ
ภาวนา 4 ในบุตรทั้งหลาย ภาวนา 4 เหล่านั้น พึงทราบตามระยะกาล
ดังต่อไปนี้.
อธิบายว่า ในเวลาที่บุตรยังอยู่ในท้อง มารดาบิดาจะเกิดเมตตาจิต
อย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอ เราจะได้เห็นบุตรน้อยปลอดภัย มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบ
บริบูรณ์. แต่เมื่อใดบุตรน้อยนั้นยังเยาว์ นอนแบเบาะ มีเลือดไรไต่ตอมหรือ
นอนกระสับกระส่าย ส่งเสียงร้องจ้า เมื่อนั้น มารดาบิดาครั้นได้ยินเสียงบุตรนั้น
จะเกิดความกรุณา. แต่ในเวลาที่บุตรวิ่งเล่นไปมา หรือในเวลาที่บุตรตั้งอยู่ใน
วัยหนุ่มวัยสาว มารดาบิดามองดูแล้ว จะมีจิตอ่อนไหว บันเทิง เริงใจ
เหมือนกับสำลี และปุยนุ่นที่เขายีตั้ง 100 ครั้ง หย่อนลงในฟองเนยใส
เมื่อนั้น มารดาบิดาจะมีมุทิตา (จิต). แต่เมื่อใด บุตรเริ่มมีครอบครัว แยก-
เรือนออกไป เมื่อนั้น มารดาบิดาจะเกิดความวางใจ ว่าบัดนี้ บุตรของเราจะ
สามารถ จะเป็นอยู่ได้ตามลำพัง เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว เวลานั้น มารดาบิดา
จะมีอุเบกขา. ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า พฺรหฺมาติ
มาตาปิตโร
ดังนี้.
บทว่า ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร ความว่า แท้จริง มารดาบิดาทั้งหลาย
จำเดิมแต่บุตรเกิดแล้ว ย่อมให้บุตรเรียน ให้บุตรสำเหนียกว่า จงนั่งอย่างนี้
จงยืนอย่างนี้ จงเดินอย่างนี้ จงนอนอย่างนี้ จงเคี้ยวอย่างนี้ จงกินอย่างนี้
คนนี้บุตรควรเรียกพ่อ คนนี้ควรเรียกพี่ คนนี้ควรเรียกน้อง บุตรควรทำสิ่งนี้
ไม่ควรทำสิ่งนี้ ควรเข้าไปหาคนชื่อโน้น คนชื่อโน้นไม่ควรเข้าไปหา. ในเวลา
ต่อมา อาจารย์เหล่าอื่นจึงให้ศึกษาศิลปะเรื่องช้าง ศิลปะเรื่องม้า ศิลปะเรื่อง
รถ ศิลปะเรื่องธนู และการนับด้วยนิ้วมือเป็นต้น. อาจารย์เหล่าอื่นให้สรณะ
อาจารย์อื่นให้ตั้งอยู่ในศีล อาจารย์อื่นให้บรรพชา อาจารย์อื่นให้เรียนพุทธพจน์

อาจารย์อื่นให้อุปสมบท อาจารย์อื่นให้บรรลุโสดาปัตติมรรคเป็นต้น. ดังนั้น
อาจารย์เหล่านั้นแม้ทั้งหมด จึงชื่อว่า เป็นปัจฉาจารย์ ส่วนมารดาบิดาเป็น
อาจารย์ก่อนกว่าทุกอาจารย์ (บุรพาจารย์) ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วุจฺจเร
แปลว่า เรียก คือ กล่าว.
บทว่า อาหุเนยฺยา จ ปุตฺตานํ ความว่า ย่อมควรได้รับ ข้าว
น้ำ เป็นต้น ที่บุตรจัดมาเพื่อบูชา เพื่อต้อนรับ คือเป็นผู้เหมาะสมเพื่อจะรับ
ข้าวและน้ำเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อาหุ
เนยฺยา จ ปุตฺตานํ
ดังนี้. บทว่า ปชาย อนุกมฺปกา ความว่า มารดา
บิดาย่อมฟูมฟักรักษาบุตรของตน แม้โดยการฆ่าชีวิตของสัตว์เหล่าอื่น เพราะ
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปชาย อนุกมฺปกา ดังนี้. บทว่า
นมสฺเสยฺย แปลว่า ทำความนอบน้อม. บทว่า สกฺกเรยฺย ความว่า พึง
นับถือโดยสักการะ.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงสักการะนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า อนฺเนน
ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺเนน ได้แก่ ข้าวยาคู ภัตร และ
ของควรเคี้ยว. บทว่า ปาเนน ได้แก่ปานะ 8 อย่าง. บทว่า วตฺเถน ได้แก่
ผ้าสำหรับนุ่ง และผ้าสำหรับห่ม. บทว่า สยเนน ได้แก่ เครื่องรองรับ คือ
เตียงและตั่ง. บทว่า อุจฺฉาทเนน ได้แก่ เครื่องลูบไล้ สำหรับกำจัด
กลิ่นเหม็น ทำให้มีกลิ่นหอม. บทว่า นหาปเนน ความว่า ด้วยการให้อาบ
รดตัวด้วยน้ำอุ่นในหน้าหนาว ด้วยน้ำเย็นในหน้าร้อน. บทว่า ปาทานํ
โธวเนน
ความว่า ด้วยการให้ล้างเท้าด้วยน้ำอุ่นและน้ำเย็น และด้วยการทา
ด้วยน้ำมัน.

บทว่า เปจฺจ คือไปสู่ปรโลก. บทว่า สคฺเค ปโมทติ ความว่า
ก่อนอื่นในโลกนี้ มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิต เห็นการปรนนิบัติในมารดาบิดา
(ของเขา) แล้ว ก็สรรเสริญเขาในโลกนี้แหละ. เพราะมีการปรนนิบัติเป็นเหตุ.
ก็บุคคลผู้บำรุงมารดาบิดานั้น ไปสู่ปรโลกแล้ว สถิตอยู่ในสวรรค์ ย่อมร่าเริง
บันเทิงใจ ด้วยทิพย์สมบัติดังนี้.
จบอรรถกถาพรหมสูตรที่ 1

2. อานันทสูตร



ว่าด้วยการเข้าเจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ



[471] ครั้งนั้นแล ท่านอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นเข้าไปถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง
ท่านอานนท์ผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ว่า จะพึงมีหรือ พระพุทธเจ้าข้า การได้สมาธิแห่งภิกษุอย่างที่เป็น
เหตุให้อหังการ มมังการ และ มานานุสัย ไม่พึงมีในกายอันมีวิญญาณนี้
และ ... ในสรรพนิมิตภายนอก อนึ่ง เมื่อภิกษุเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันให้อยู่ อหังการ มมังการ และมานานุสัยย่อมไม่มี ภิกษุพึงเข้าถึงเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ
อันนั้นอยู่ (มีหรือ).
"มีได้ อานนท์ การได้สมาธิอย่างนั้น..."
"มีอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า ..."
อานนท์ ความตรึกอย่างนี้ย่อมมีแก่ภิกษุในศาสนานี้ว่า นั่นละเอียด
นั่นประณีต นี่คืออะไร นี่คือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่