เมนู

ความสิ้นไปรอบ... เพื่อสละ... เพื่อความสิ้นไป... เพื่อความเสื่อมไป
เพื่อความสำรอก... เพื่อความดับสนิท... เพื่อสละ.... เพื่อปล่อยวางซึ่ง
โทสะ... ซึ่งโมหะ... ซึ่งความโกรธ... ความผูกโกรธไว้... ซึ่งการ
ลบหลู่คุณท่าน... ซึ่งการดีเสมอ... ซึ่งความริษยา... ซึ่งความตระหนี่
ซึ่งมายา... ซึ่งความโอ้อวด... ซึ่งความหัวดื้อ... ซึ่งความแข่งดี...
ซึ่งการถือตัว... ซึ่งการดูหมิ่นท่าน... ซึ่งความมัวเมา ... ซึ่งความ
ประมาท... จึงควรอบรมธรรม 2 อย่างนี้แล.
จบทุกนิบาต

อรรถกถาแห่งพระสูตรที่ไม่สงเคราะห์ลงในปัณณาสก์1



(ข้อ 425 - 439)



ในบทอื่น ๆ จากนี้ โกธะ มีโกรธเป็นลักษณะ อุปนาหะ
มีคุมแค้นเป็นลักษณะ มักขะ มีลบหลู่การกระทำที่ท่านทำดีแล้วเป็น
ลักษณะ ปฬาสะ มีเทียบคู่เป็นลักษณะ อิสสา มีริษยาเป็นลักษณะ
ความเป็นผู้ตระหนี่ ชื่อว่า มัจฉริยะ ทั้งหมดนั้น มีเห็นแก่ตัวเป็นลักษณะ
มายา มีปกปิดสิ่งที่ทำไว้เป็นลักษณะ สาไถย มีตีสองหน้าเป็นลักษณะ
อาการคือความไม่ละอาย ชื่อว่า อหิริกะ อาการคือความไม่กลัวแต่ความ
ติเตียน ชื่อว่า อโนตตัปปะ ธรรมมีอักโกธะเป็นต้น พึงทราบว่าตรง
กันข้ามกับอุปกิเลสเหล่านั้น.
บทว่า เสกฺขสฺส ภิกฺขุโน ความว่า ธรรม 2 อย่าง ย่อมเป็นไป
เพื่อความเสื่อมจากคุณสูง ๆ ขึ้นไป ของพระเสขะทั้ง 7 จำพวก แต่ย่อม

1. บาลีข้อ 425 - 438 อรรถกถาแก้รวม ๆ กันไป ไม่ได้แบ่งเป็นสูตร.

เป็นไปเพื่อความเสื่อมแห่งปุถุชนผู้หนักในพระสัทธรรมเหมือนกัน บัณฑิต
พึงทราบ ดังนี้. บทว่า อปริหานาย ความว่า เพื่อความไม่เสื่อมจากคุณ
สูง ๆ ในรูป.
ในบทว่า ยถาภตํ นิกฺขิตฺโต นี้ พึงทราบควานว่าอยู่ในนรกทีเดียว
เหมือนถูกนำมาเก็บไว้.
บทว่า เอกจฺโจ ความว่า ความโกรธเป็นต้นเหล่านี้มีอยู่แก่ผู้ใด
ผู้นั้นชื่อว่าบางคน. บทว่า สาวชฺชา ได้แก่ มีโทษ. บทว่า อนวชฺชา
ได้แก่ ไร้โทษ. บทว่า ทุกฺขุทฺรยา ได้แก่ มีทุกข์เป็นกำไร. บทว่า
สุขุทฺรยา ได้แก่ มีสุขเป็นกำไร. บทว่า สพฺยาปชฺฌา ได้แก่ มีทุกข์.
บทว่า อพฺยาปชฺณา ได้แก่ ไร้ทุกข์. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวัฏฏะและ
วิวัฏฏะนั่นเทียว ด้วยพระดำรัสเพียงเท่านี้ .
บทว่า เทวฺเม ภิกฺขเว อตฺถวเส ปฏิจฺจ ความว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ตถาคตอาศัยผลทั้งสองเหตุทั้งสอง. บทว่า สิกฺขาปทํปญฺญตฺต
ความว่า ทรงบัญญัติส่วนแห่งสิกขา. บทว่า สงฺฆสุฏฺฐุตาย ความว่า
เพื่อให้สงฆ์รับว่าดี อธิบายว่า เพื่อสงฆ์กล่าวรับว่า ดีแล้ว พระเจ้าข้า.
บทว่า สงฺฆผาสุตาย ความว่า เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งสงฆ์. บทว่า
ทุมฺมงฺกูนํ ได้แก่ คนทุศีล. บทว่า เปสลานํ ได้แก่ คนมีศีลเป็นที่รัก.
บทว่า ทิฏฺฐธมฺมิกานํ อาสวานํ ความว่า ซึ่งอาสวะทั้งหลาย กล่าวคือ
ทุกขธรรมมีการฆ่า การจองจำ และการติเตียนเป็นต้น ที่จะพึงได้รับ
เพราะการล่วงละเมิดเป็นเหตุ ในปัจจุบัน คือในอัตภาพนี้แหละ. บทว่า
สํวราย ได้แก่ เพื่อปิดกั้น. บทว่า สมฺปรายิกานํ ความว่า ซึ่งอาสวะ
ที่เกิดในสัมปรายภพ กล่าวคือทุกข์ที่เป็นไปในอบาย เห็นปานนั้นทีเดียว.

บทว่า ปฏิฆาตาย ได้แก่ เพื่อกำจัด. บทว่า เวรานํ ได้แก่ อกุศล
ที่เป็นเวรบ้าง บุคคลที่มีเวรกันบ้าง. บทว่า รชฺชานํ ได้แก่ โทษทั้ง-
หลาย. อีกอย่างหนึ่ง ทุกขธรรมเหล่านั้นแหละประสงค์เอาว่า วชฺช คือ โทษ
ในที่นี้ เพราะเป็นสิ่งจำต้องเว้น . บทว่า ภยานํ ได้แก่ ภัย คือจิต
หวาดสะดุ้งบ้าง ทุกขธรรมเหล่านั้นแหละที่เป็นเหตุแห่งภัยบ้าง. บทว่า
อกุสลานํ ได้แก่ ทุกขธรรมทั้งหลาย กล่าวคืออกุศล เพราะอรรถว่า ไม่
เกษม. บทว่า คิหีนํ อนุกมฺปาย ความว่า สิกขาบทที่ทรงบัญญัติเมื่อ
พวกคฤหัสถ์กล่าวโทษ ชื่อว่าทรงบัญญัติ เพื่ออนุเคราะห์คฤหัสถ์ทั้งหลาย
บทว่า ปาปิจฺฉานํปกฺขุปจฺเฉทนตฺถาย ความว่า เพื่อตัดพรรคพวกของเหล่า
ภิกษุผู้มีความปรารถนาลามกซึ่งคิดว่าพวกเราอาศัยพรรคพวกทำลายสงฆ์
บทว่า อปฺปสนฺนานํ ปสาทาย ความว่า เพื่อให้เกิดความเลื่อมใส
เพราะได้เห็นความถึงพร้อมแห่งการบัญญัติสิกขาบท ของมนุษย์บัณฑิต
แม้ยังไม่เลื่อมใสมาก่อน. บทว่า ปสนฺนานํ ภิยฺโยภาวาย ความว่า
เพื่อให้ผู้เลื่อมใสแล้วเลื่อมใสยิ่ง ๆ ขึ้น. บทว่า สทฺธมฺมฏฺฐิติยา ความ
ว่า เพื่อให้พระสัทธรรมดำรงอยู่นาน. บทว่า วินยานุคฺคหาย ความว่า
เพื่ออนุเคราะห์พระวินัยทั้ง 5 อย่าง.
บทว่า ปาฏิโมกฺขํ ปญฺญตฺตํ ความว่า ทรงบัญญัติปาติโมกข์
ทั้งสองอย่าง คือ ภิกขุปาติโมกข์ ภิกขุนีปาติโมกข์. บทว่า ปาฏิโมกฺ-
ขุทฺเทสา
ความว่า ทรงบัญญัติปาติโมกขุทเทส 9 คือ สำหรับภิกษุ 5
สำหรับภิกษุณี 4. บทว่า ปาฏิโมกฺขฏฺฐปนํ ได้แก่ งดอุโบสถ (หยุด
สวดปาติโมกข์เมื่อมีเหตุฉุกเฉิน). บทว่า ปวารณา ปญฺญตฺตา ความว่า
ทรงบัญญัติปวารณา 2 คือปวารณาวัน 14 ค่ำ ปวารณาวัน 15 ค่ำ

บทว่า ปวารณาฏฺฐปนํ ปญฺญตฺตํ ความว่า ทรงบัญญัติการงดปวารณา
เมื่อภิกษุมีอาบัติสวดญัตติปวารณา.
ในตัชชนียกรรมเป็นต้น เมื่อภิกษุทั้งหลายทิ่มแทงกันด้วยหอกคือ
วาจา ทรงบัญญัติตัชชนียกรรมแก่เหล่าภิกษุพวกปัณฑุกะและพวกโลหิตกะ.
ทรงบัญญัตินิยัสสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะผู้เป็นพาลไม่ฉลาด. ทรงปรารภ
ภิกษุพวกอัสสชิปุนัพพสุกะผู้ประทุษร้ายตระกูล บัญญัติปัพพาชนียกรรม.
ทรงบัญญัติปฏิสารณียกรรมแก่พระสุธรรมเถระผู้ด่าพวกคฤหัสถ์ ทรง
บัญญัติอุกเขปนียกรรม ในเพราะไม่เห็นอาบัติเป็นต้น.
ทรงบัญญัติการให้ปริวาส เพื่ออาบัติที่ปกปิดไว้สำหรับภิกษุผู้ต้อง
ครุกาบัติ ทรงบัญญัติมูลายปฏิกัสสนะ แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติในระหว่างอยู่
ปริวาส. ทรงบัญญัติการให้มานัตเพื่ออาบัติที่ปกปิดก็ดี ที่มิได้ปกปิดก็ดี.
ทรงบัญญัติอัพภานเเก่ภิกษุผู้ประพฤติมานัตแล้ว.
ทรงบัญญัติโอสารณียกรรมแก่อุปสัมปทาเปกขะผู้ปฏิบัติถูกระเบียบ.
ทรงบัญญัตินิสสารณียกรรมในเพราะปฏิบัติไม่ถูกระเบียบเป็นต้น .
ทรงบัญญัติอุปสัมปทา 8 อย่าง คือ 1. เอหิภิกษุอุปสัมปทา
2. สรณคมนอุปสัมปทา 3. โอวาทอุปสัมปทา 4. ปัญหาพยากรณ-
อุปสัมปทา 5. ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา 6. ครุธรรมอุปสัมปทา
7. อุภโตสังเฆอุปสัมปทา 8. ทูเตนอุปสัมปทา.
ทรงบัญญัติกรรมซึ่งประกอบด้วยชานะ 9 อย่างนี้ว่า ญัตติกรรม
ย่อมถึงฐานะ 9 ดังนี้. ทรงบัญญัติญัตติทุติยกรรม ซึ่งประกอบด้วยฐานะ
7 อย่างนี้ว่า ญัตติทุติยกรรมย่อมถึงฐานะ 7 ดังนี้ . ทรงบัญญัติญัตติ-
จตุตถกรรมซึ่งประกอบด้วยฐานะ 7 เหมือนกันอย่างนี้ว่า ญัตติจตุตถ-

กรรมย่อมถึงฐานะ 7 ดังนี้ .
เมื่อยังมิได้ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ก่อน พระองค์ทรงบัญญัติสิกขาบท
มีปฐมปาราชิกเป็นต้น ชื่อว่าปฐมบัญญัติ. เมื่อทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว
ทรงบัญญัติเพิ่มสิกขาบทเหล่านั้นแหละ ชื่อว่าอนุบัญญัติ.
ทรงบัญญัติสัมมุขาวินัย ซึ่งประกอบด้วยความพร้อมหน้า 4 อย่างนี้
คือ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าสงฆ์
ความพร้อมหน้าบุคคล. ทรงบัญญัติสติวินัย เพื่อมิให้โจทพระขีณาสพ
ผู้มีสติไพบูลย์. ทรงบัญญัติอมุฬหวินัยสำหรับ ภิกษุบ้า. ทรงบัญญัติปฏิญ-
ญาตกรณะ เพื่อไม่ปรับอาบัติแก่ภิกษุที่ถูกโจทโดยไม่ปฏิญญา. ทรงบัญญัติ
เยภุยยสิกา เพื่อระงับอธิกรณ์ โดยถือความเห็นของพวกธรรมวาทีที่มาก
กว่า. ทรงบัญญัติตัสสปาปิยสิกา เพื่อข่มบุคคลมีบาปมาก. ทรงบัญญัติ
ติณวัตถารกะ เพื่อระงับอาบัติที่เหลือลง นอกจากอาบัติที่มีโทษหนักและ
ที่เกี่ยวข้องคฤหัสถ์ แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติ เพราะประพฤติเรื่องไม่สมควร
แก่สมณเพศเป็นอันมาก เช่นทะเลาะกันเป็นต้น .
บทว่า ราคสฺส ภิกฺขเว อภิญฺญาย ความว่า เพื่อรู้ชัด คือทำ
ให้ประจักษ์ ซึ่งราคะที่เป็นไปในกามคุณ 5 นั่นแล. บทว่า ปริญฺญาย
ได้แก่ เพื่อกำหนดรู้. บทว่า ปริกฺขยาย ได้แก่ เพื่อถึงความสิ้นสุด.
บทว่า ปหานาย ได้แก่ เพื่อละ. บทว่า ขยวยาย ได้แก่ เพื่อถึง
ความสิ้นไปเสื่อมไป. บทว่า วิราคาย ได้แก่ เพื่อคลายกำหนัด. บทว่า
นิโรธาย ได้แก่ เพื่อดับ. บทว่า จาคาย ได้แก่ เพื่อสละ. บทว่า
ปฏินิสฺสคฺคาย ได้แก่ เพื่อสละคืน.
บทว่า ถมฺภสฺส ได้แก่ ความกระด้าง เพราะอำนาจความโกรธและ

มานะ. บทว่า สารมฺภสฺส ได้แก่ ความแข่งดี มีลักษณะทำเกินกว่า
เหตุ. บทว่า มานสฺส ได้แก่ มานะ 9 อย่าง. บทว่า อติมานสฺส
ได้แก่ ถือตัวสำคัญว่าเหนือเขา (ดูหมิ่นท่าน). บทว่า มทสฺส ได้แก่
ความเมาคืออาการเมา. บทว่า ปมาทสฺส ได้แก่ ปราศจากสติ หรือ
ปล่อยใจไปในกามคุณ 5. บทที่เหลือในที่ทุกแห่ง ง่ายทั้งนั้นแล.
จบมโนรถปูรณี
อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต