เมนู

บทว่า ทหโร แปลว่า เด็กรุ่น. บทว่า ยุวา ได้แก่ ประกอบ
ด้วยความเป็นหนุ่ม. บทว่า สุสูกาฬเกโส แปลว่า มีผมดำสนิท
บทว่า ภเทฺรน โยพฺพเนน สมนฺนาคโต ความว่า บุคคลชื่อว่าเป็น
คนหนุ่ม เพราะประกอบด้วยความเป็นหนุ่มใด ท่านแสดงความเป็นหนุ่ม
นั้นว่า ภทฺรก กำลังเจริญ. บทว่า ปฐเมน วยสา ความว่า อายุ
33 ปี ชื่อว่าปฐมวัย ประกอบด้วยปฐมวัยนั้น. บทว่า ปณฺฑิโต
เถโรเตฺวว สงฺขํ คจฺฉติ ความว่า บุคคลนั้น คือเห็นปานนี้ นับว่า
เป็นบัณฑิตด้วย เป็นเถระด้วยแล. สมจริงดังที่ตรัสไว
ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ อหึสา สํยโม ทโม
สเว วนฺตมโล ธีโร โส เถโรติ ปวุจฺจติ
ผู้ใดมีสัจจะ เที่ยงธรรม ไม่เบียดเบียน สำรวม
ฝึกฝน ผู้นั้นแหละเป็นผู้คายกิเลสดุจธุลีแล้ว เป็น
ปราชญ์ เราเรียกว่าเถระ

จบอรรถกถาสูตรที่ 7

สูตรที่ 8



ว่าด้วยเหตุเป็นไปและไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชน



เป็นอันมาก



[284] 38. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด พวกโจรมีกำลัง
สมัยนั้น พระเจ้าแผ่นดินย่อมถอยกำลัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัย
เช่นนั้น พระเจ้าแผ่นดินย่อมไม่สะดวกที่จะเสด็จผ่านไป. เสด็จออกไป

หรือจะออกคำสั่งไปยังชนบทชายแดน ในสมัยเช่นนั้น แม้พวกพราหมณ์
และคฤหบดีก็ไม่สะดวกที่จะผ่านไป จะออกไป หรือเพื่อตรวจตราการงาน
ภายนอก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด พวกภิกษุ
เลวทรามมีกำลัง สมัยนั้น พวกภิกษุที่มีศีลเป็นที่รักย่อมถอยกำลัง ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น ภิกษุพวกที่มีศีลเป็นที่รัก เป็นผู้นิ่งเงียบ
ทีเดียว นั่งในท่ามกลางสงฆ์ หรือคบชนบทชายแดน ข้อนี้ย่อมเป็นไป
เพื่อมิใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อมิใช่สุขของชนมาก เพื่อความฉิบหาย
เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด พระเจ้าแผ่นดินมีกำลัง สมัยนั้น พวกโจร
ย่อมถอยกำลัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น พระเจ้าแผ่นดิน
ย่อมสะดวกที่จะเสด็จผ่านไป เสด็จออกไป หรือที่จะออกคำสั่งไปยัง
ชนบทชายแดน ในสมัยเช่นนั้น แม้พวกพราหมณ์และคฤหบดีย่อม
สะดวกที่จะไป ออกไป หรือตรวจการงานภายนอก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด พวกภิกษุที่มีศีลเป็นที่รัก. มีกำลัง สมัยนั้น
พวกภิกษุที่เลวทราม ย่อมถอยกำลัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น
พวกภิกษุที่เลวทราม เป็นผู้นิ่งเงียบทีเดียว นั่งในท่ามกลางสงฆ์ หรือ
ออกไปทางใดทางหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์ของชนมาก เพื่อสุขของชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
จบสูตรที่ 8

อรรถกถาสูตรที่ 8



ในสูตรที่ 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า โจรา พลวนฺโต โหนฺติ ความว่า พวกโจรพรักพร้อม
ด้วยพรรคพวก พรักพร้อมด้วยบริวาร พรักพร้อมด้วยสถานที่อยู่
พรักพร้อมด้วยพาหนะ. บทว่า ราชาโน ตสฺมึ สมเย ทุพฺพลา โหนฺติ
ความว่า ในสมัยนั้น ฝ่ายเจ้าทั้งหลาย เป็นฝ่ายอ่อนกำลัง เพราะไม่มี
สมบัติเหล่านั้น. บทว่า อติยาตุํ ความว่า เพื่อเที่ยวตรวจตราชนบท
ภายนอกแล้วประสงค์จะเข้าพระนครในขณะที่ต้องการ. บทว่า นิยฺยาตุํ
ความว่า ไม่มีความผาสุก ที่จะเสด็จออกไปไม่ว่าในปฐมยาม มัชฌิมยาน
หรือปัจฉิมยาม ด้วยมีพระดำรัสว่า พวกโจรปล้นย่ำยีชนบทจำจักป้องกัน
พวกมัน. จำเดิมแต่นั้น พวกโจรเที่ยวตีแย่งชิงผู้คน. บทว่า ปจฺจนฺติเม
วา ชนปเท อนุสญฺญาตุํ
ความว่า แม้จะปกครองชนบทชายแดน
เพื่อสร้างบ้านที่อยู่ สร้างสะพาน ขุดสระโบกขรณี และสร้างศาลา
เป็นต้น ก็ไม่สะดวก. บทว่า พฺราหฺมณคหปติกานํ ได้แก่ พวกพราหมณ์
และคฤหบดีทั้งหลายที่อยู่ภายในพระนคร. บทว่า พาหิรานิ วา กมฺมนฺตานิ
ได้แก่ งานสวนงานนานอกบ้าน.
บทว่า ปาปภิกฺขู พลวนฺโต โหนฺติ ความว่า พวกภิกษุชั่วเป็น
ฝ่ายมีกำลัง พรั่งพร้อมด้วยอุปัฏฐากชายหญิงเป็นอันมาก และได้พึ่งพิง
พระราชาและราชมหาอำมาตย์. บทว่า เปสลา ภิกฺขู ตสฺมึ สมเย
ทุพฺพลา โหนฺติ
ความว่า ในสมัยนั้น พวกภิกษุที่มีศีลเป็นที่รัก
(เรียบร้อย) เป็นที่อ่อนกำลัง เพราะไม่มีสมบัติเหล่านั้น. บทว่า
ตุณฺหีภูตา ตุณหีภูตา สงฺฆมชฺเฌ สงฺกสายนฺติ ความว่า เป็นผู้เงียบ