เมนู

ด้วยความไม่ประมาท กล่าวคือความไม่อยู่ปราศจากสติ. บทว่า โพธิ
ได้แก่จตุมรรคญาณและสัพพัญญุตญาณ. ด้วยว่า ผู้ที่มัวเมาประมาท
ไม่อาจบรรลุจตุมรรคญาณและสัพพัญญุตญาณนั้นได้ เพราะเหตุดังนี้นั้น
พระองค์จึงตรัสว่า อปฺปมาทาธิคตา โพธิ ดังนี้ . บทว่า อนุตฺตโร
โยคกฺเขโม
ความว่า มิใช่แต่ปัญญาเครื่องตรัสรู้อย่างเดียวเท่านั้น แม้
ธรรมอันปลอดจากเครื่องผูกอันยอดเยี่ยม กล่าวคืออรหัตผล นิพพาน
เราก็ได้บรรลุด้วยความไม่ประมาทนั่นแล. บัดนี้ เมื่อจะทรงให้ภิกษุสงฆ์
ยึดถือในคุณที่พระองค์ได้มา จึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า ตุมฺเห เจปิ ภิกฺขเว
เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺสตฺถาย ความว่า เพื่อประโยชน์
แก่ผลอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันใด อธิบายว่า เป็นผู้ใคร่เพื่อจะ
เข้าถึงผลอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันใดอยู่. บทว่า ตทนุตฺตรํ ได้แก่
ผลอันยอดเยี่ยมนั้น. บทว่า พฺรหฺมจริยปริโยสานํ ได้แก่อริยผลซึ่งเป็น
ที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์. บทว่า อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ความว่า ทำให้
ประจักษ์ด้วยปัญญาอันยิ่ง คือด้วยปัญญาอันสูงสุด. บทว่า อุปสมฺปชฺช
วิหริสฺสถ
ความว่า จักได้เฉพาะคือบรรลุอยู่. บทว่า ตสฺมา ความว่า
เพราะธรรมดาความเพียรอย่างไม่ท้อถอยนี้ มีอุปการะมาก ให้สำเร็จ
ประโยชน์แล้ว.
จบอรรถกถาสูตรที่ 5

สูตรที่ 6



ว่าด้วยความพอใจและความหน่ายในธรรมอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์


[252] 6. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดา 2 อย่างนี้ 2 อย่างเป็น