เมนู

อรรถกถาอมตวรรค1



บทว่า อมตนฺเต ภิกฺขเว ปริภุญฺชนฺต ความว่า ชนเหล่านั้น
ชื่อว่า ย่อมบริโภคพระนิพพานอันปราศจากมรณะ. ถามว่า ก็พระนิพพาน
เป็นโลกุตระ กายคตาสติเป็นโลกิยะ มิใช่หรือ ชนผู้บริโภคกายคตาสติ
นั้น ชื่อว่า บริโภคอมตะได้อย่างไร. ตอบว่า เพราะต้องเจริญกายคตาสติ
จึงจะบรรลุ (อมตนิพพาน). จริงอยู่ ผู้เจริญกายคตาสติย่อมบรรลุอมตะ
ไม่เจริญก็ไม่บรรลุ เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนั้น. พึงทราบเนื้อความ
ในบททั้งปวง โดยอุบายดังกล่าวนี้.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า วิรพธํ ในสูตรนี้ ได้แก่บกพร่องแล้ว คือ
ไม่บรรลุ. บทว่า อารทฺธํ ได้แก่ บริบูรณ์แล้ว. บทว่า ปมาทึสุ ได้แก่
เลินเล่อ. บทว่า ปมุฏฺฐํ แปลว่า หลงลืม ซ่านไป หรือหายไป. บทว่า
อาเสวิตํ แปลว่า ส้องเสพมาแต่ต้น. บทว่า ภาวิตํ แปลว่า เจริญแล้ว.
บทว่า พหุลีกตํ แปลว่า ทำบ่อย ๆ. บทว่า อนภิญฺญาตํ แปลว่า ไม่รู้
ด้วยญาตอภิญญา (รู้ยิ่งด้วยการรู้ ). บทว่า อปริญฺญาตํ แปลว่า ไม่
กำหนดรู้ด้วยญาตปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการรู้) นั้นแหละ. บทว่า
อสจฺฉิกตํ แปลว่า ไม่ทำให้ประจักษ์. บทว่า สจฺฉิกตํ แปลว่า ทำให้
ประจักษ์. คำที่เหลือทุกแห่งมีความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอมตวรรค
จบอรรถกถาเอกนิบาตประมาณ 1,000 สูตร ใน
มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย


1. บาลี ข้อ 235 - 246 วรรคนี้รวมอยู่ในปสาทกรธัมมาทิบาลี.