เมนู

เมตตา ฯลฯ เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วยกรุณา ฯลฯ เจริญสัทธิน-
ทรีย์อันสรหคตด้วยมุทิตา ฯลฯ เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วยอุเบกขา
. . . จริญวิริยินทรีย์. . . เจริญสตินทรีย์. . . เจริญสมาธินทรีย์ . . . เจริญ
ปัญญินทรีย์. . . เจริญสัทธาพละ. . . เจริญวิริยพละ. . . เจริญสติพละ. . .
เจริญสนมธิพละ. . . เจริญปัญญาพละ แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือไซร้
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา
ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า จะป่วย
กล่าวไปไยถึงผู้การทำให้มาก ซึ่งปัญญาพละอันสหรคตด้วยอุเบกขาเล่า.

ว่าด้วยอานิสงส์การเจริญกายคตาสติ



[225] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นไป
ในส่วนวิชชา ย่อมหยั่งลงในภายในของภิกษุนั้น เปรียบเหมือนมหา-
สมุทรอันผู้ใดผู้หนึ่งถูกต้องด้วยใจแล้ว แม่น้ำน้อยสายใดสายหนึ่งซึ่งไหล
ไปสู่สมุทร ย่อมหยั่งลงในภายในของผู้นั้นฉะนั้น.
[226] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งซึ่งบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อความสังเวชใหญ่ เป็นไปเพื่อประโยชน์
ใหญ่ เป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่ เป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ
เป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นไปเพื่อ
ทำให้แจ้งซึ่งผล คือวิชชาและวิมุตติ ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือกาย-
คตาสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลอบรมแล้ว กระทำ
ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
ใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อสติและ

สัมปชัญญะ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุข
ในปัจจุบัน ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือวิชชาและวิมุตติ.
[227] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกวิจารก็สงบ
ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้น ก็ถึงความเจริญบริบูรณ์ ธรรม
ข้อหนึ่งคืออะไร คือกายคตาสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อ
หนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ
แม้วิตกวิจารก็สงบ ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้น ก็ถึงความ
เจริญบริบูรณ์.
[228] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว
การทำให้มากแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย และ
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสียได้ ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ
กายคตาสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย
และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสียได้.
[229] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิด
ขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร
คือกายคตาสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศล-
ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง.

[230] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมละอวิชชาเสียได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ย่อมละ
อัสมิมานะเสียได้ อนุสัยย่อมถึงความเพิกถอน ย่อมละสังโยชน์เสียได้
ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือกายคตาสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรม
ข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว การทำให้มากแล้ว ย่อมละอวิชชาเสียได้
วิชชาย่อมเกิดขึ้น ย่อมละอัสมิมานะเสียได้ อนุสัยย่อมถึงความเพิกถอน
ย่อมละสังโยชน์เสียได้.
[231] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา ย่อมเป็นไป
เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือกายคตาสติ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว การทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่ออนุปาทาปริ-
นิพพาน.
[232] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีการแทงตลอดธาตุมากหลาย ย่อมมีการแทง
ตลอดธาตุต่าง ๆ ย่อมมีความแตกฉานในธาตุมากหลาย ธรรมข้อหนึ่ง
คืออะไร คือกายคตาสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล
บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีการแทงตลอดธาตุมากหลาย
ย่อมมีการแทงตลอดธาตุต่าง ๆ ย่อมมีความแตกฉานในธาตุมากหลาย
[233] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไป
เพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ย่อม

เป็นไปเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือกายคตาสติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำสกทา-
คามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อ
ทำอรหัตผลให้แจ้ง.
[234] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ
แห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก ย่อม
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
ลึกซึ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง ย่อมเป็นไปเพื่อความ
เป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา ย่อม
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาว่องไว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
เร็ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็น
ผู้มีปัญญาแล่น ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคม ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือกายคตาสติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา. . . ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
ชำแรกกิเลส.
[235] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดไม่บริโภคกายคตาสติ
ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมไม่บริโภคอมตะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใด
บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมบริโภคอมตะ.

[236] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่บริโภค
แล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่บริโภคแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหล่น กาย-
คตาสติอันชนเหล่าใดบริโภคแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นบริโภคแล้ว.
[237] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติของชนเหล่าใดเสื่อม
แล้ว อมตะของชนเหล่านั้นชื่อว่าเสื่อมแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาย-
คตาสติของชนเหล่าใดไม่เสื่อมแล้ว อมตะของชนเหล่านั้น ชื่อว่าไม่เสื่อม
แล้ว.
[238] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดเบื่อแล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเบื่อแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายสตาสติอัน
ชนเหล่าใดชอบใจแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นชอบใจแล้ว.
[239] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดประมาทกายคตาสติ
ชนเหล่านั้นชื่อว่าประมาทอมตะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดไม่
ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ประมาทอมตะ.
[240] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดหลงลืม
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นหลงลืม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอัน
ชนเหล่าใดไม่หลงลืม อมตุชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่หลงลืม.
[241] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ส้อง
เสพแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ส้องเสพแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
กายคตาสติอันชนเหล่าใดส้องเสพแล้ว อมติชื่อว่าอันชนเหล่านั้นส้องเสพ
แล้ว.
[242] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่เจริญ
แล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่เจริญแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาย-

คตาสติอันชนเหล่าใดเจริญแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเจริญแล้ว.
[243] ดูก่อนภิกษุทั่งหลาย กายคตาสติอัน ชนเหล่าใดไม่ทำให้
มากแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ทำให้มากแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
กายคตาสติอันชนเหล่าใดทำให้มากแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นทำให้
มากแล้ว .
[244] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่รู้ด้วย
ปัญญาอันยิ่ง อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง อมตะชื่อว่า
อันชนเหล่านั้นรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง.
[245] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่กำหนด
รู้แล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่กำหนดรู้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
กายคตาสติอันชนเหล่าใดกำหนดรู้แล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นกำหนด
รู้แล้ว.
[246] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ทำให้
แจ้งแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ทำให้แจ้งแล้ว ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดทำให้แจ้งแล้ว อมตะชื่อว่าอันชน
เหล่านั้นทำให้แจ้งแล้ว.
เอกนิบาต 1,000 สูตร จบบริบูรณ์

อรรถกถาปสาท1กรธัมมาทิบาลี



อรรถกถาปสาท2กรธรรมวรรค



คำว่า อทฺธํ ในบทเป็นต้น ว่า อทฺธมิทํ นี้เป็นชื่อของส่วนหนึ่ง ๆ
ท่านอธิบายว่า นี้เป็นลาภแน่แท้ คือ นี้เป็นส่วนหนึ่ง ๆ ของลาภ.
บทว่า ยทิทํ อารญฺญกตฺตํ คือ ความเป็นผู้อยู่ป่าส่วนหนึ่งใด. อธิบาย
ว่า ชื่อว่าความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นส่วนหนึ่งของลาภ คือ ภิกษุผู้อยู่ป่าอาจ
ได้ลาภ เพราะเป็นผู้บำเพ็ญได้อย่างแท้จริง. ก็ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตรคิดว่า
เราจัก กระทำสิ่งที่สมควรแก่การอยู่ป่าของตัวเรา จึงไม่การทำกรรมที่ชื่อว่า
ลามก. เมื่อเป็นเช่นนั้น มหาชนก็จะเกิดความเคารพต่อท่านว่า ภิกษุนี้
ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ย่อมทำการบูชาด้วยปัจจัยทั้ง 4. เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้อยู่ป่าเป็น
วัตรนี้ เป็นลาภแน่แท้ ดังนี้. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แหละ.
ก็คามเป็นผู้ได้สดับฟังมาก ชื่อว่า พาหุสัจจะ ในสูตรนี้. บทว่า
ถารเรยฺยํ ได้แก่ ความเป็นผู้ถึงความมั่นคง เพราะเป็นผู้บวชนาน.
บทว่า อากปฺปสมฺปทา ได้แก่ ความถึงพร้อมด้วยมารยาทมีการครอง
จีวรเป็นต้น . ความเป็นผู้มีบริวารสะอาด ชื่อว่า ปริวารสัมปทา ความ
ถึงพร้อมด้วยบริวาร. ความเป็นกุลบุตร ชื่อว่า กุลปุตติ (บุตรคนมี
ตระกูล). ความเป็นผู้มีรูปร่างดี ชื่อว่า วัณณโปกขรตา. ความเปล่ง
ถ้อยคำไพเราะ ชื่อว่า กัลยาณวากกรณตา. ความถึงพร้อมด้วยความ
ไม่มีโรค ชื่อว่า อัปปาพาธตา. ก็ภิกษุผู้ไม่มีโรค ย่อมบำเพ็ญวาสธุระ

1. บาลีข้อ 207-246. 2. บาลีข้อ 207.