เมนู

ปาสาทกรธัมมาทิบาลี



ว่าด้วยคุณสมบัติที่เป็นส่วนหนึ่งของลาภ



[207] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร
ความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ความเป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็น
วัตร ความเป็นผู้ถือทรงไตรจีวร ความเป็นพระธรรมกถึก ความเป็น
พระวินัยธร ความเป็นผู้มีพระพุทธพจน์อันได้สดับแล้วมาก ความเป็น
ผู้มั่นคง ความมีอากัปปสมบัติ ความมีบริวารสมบัติ ความเป็นผู้มีบริวาร
มาก ความเป็นกุลบุตร ความเป็นผู้มีผิวพรรณงาม ความเป็นผู้มีเจรจา
ไพเราะ ความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย นี้เป็นส่วนหนึ่ง
ของลาภ.

ว่าด้วยผู้ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสนา



[208] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเจริญปฐมฌานแม้ชั่วกาล
เพียงลัดนิ้วมือไซร้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตาม
คำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่น
แคว้นเปล่า ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มากซึ่งปฐมฌานนั้นเล่า.
[209] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เจริญทุติยฌานแม้ชั่วกาล
เพียงลัดนิ้วมือ... เจริญตติยฌาน.. . เจริญจตุตถฌาน... เจริญเมตตา
เจโตวิมุตติ... เจริญกรุณาเจโตวิมุตติ. . . เจริญมุทิตาเจโตวิมุตติ. . .
เจริญอุเบกขาเจโตวิมุตติ. .. พิจารณากายในกายอยู่ พึงเป็นผู้มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลก. . .
พิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย . . .พิจารณาจิตในจิตอยู่ . . .พิจารณา

ธรรมในธรรมทั้งหลาย ... ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความ
เพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่
เกิด เกิดขึ้น... ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ... ยังฉันทะ
ให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อ
ยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น . .. ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ
ความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฝือ เพื่อ
ความมีมาก เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ... เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธาน-
สังขาร... เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร... เจริญ
อิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร.. . เจริญอิทธิบาทที่ประ-
กอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร... เจริญสัทธินทรีย์.. . เจริญวิริยิน-
ทรีย์... เจริญสตินทรีย์.. . เจริญสมาธินทรีย์... เจริญปัญญินทรีย์...
เจริญสัทธาพละ.. . . เจริญวิริยพละ. . . เจริญสติพละ....เจริญสมาธิพละ
...เจริญปัญญาพละ...เจริญสติสัมโพชฌงค์...เจริญธัมมวิจยสัมโพช-
ฌงค์.. . เจริญวิริยสัมโพชฌงค์... เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
สัมโพชฌงค์ . . . เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์. . . เจริญอุเบกขาสัมโพฌงค์
... เจริญสัมมาทิฏฐิ ... เจริญสัมมาสังกัปปะ.... เจริญสัมมาวาจา...
เจริญสัมมากัมมันตะ... เจริญสัมมาอาชีวะ. . . เจริญสัมมาวายามะ....
เจริญสัมมาสติ ถ้าภิกษุเจริญสัมมาสมาธิแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือไซร้
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา

ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า จะป่วยกล่าว
ไปไยถึงผู้กระทำให้มากซึ่งสัมมาสมาธิเล่า.
[210] ภิกษุผู้มีความเข้าใจรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็ก
มีวรรณะดีหรือวรรณะทรามเข้า เธอครอบงำรูปเหล่านั้นเสียได้แล้ว มีความ
เข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้ เราเห็น ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรา
กล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติ
ตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า จะป่วยกล่าวไปไย
ถึงผู้กระทำให้มากซึ่งความเข้าใจนั้นเล่า.
[211] ภิกษุผู้มีความเข้าใจรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไม่มี
ประมาณ มีวรรณะดีหรือมีวรรณะทรามเข้า เธอครอบงำรูปเหล่านั้นเสีย
ได้แล้ว มีความเข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้ เราเห็น...
[212] ภิกษุผู้มีความเข้าใจอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็ก
มีวรรณะดีหรือวรรณะทราม เธอครอบงำรูปเหล่านั้นเสียได้แล้ว มีความ
เข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้ เราเห็น . . .
[213] ภิกษุผู้มีความเข้าใจอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไม่มี
ประมาณ มีวรรณะดีหรือมีวรรณะทรามเข้า เธอครอบงำรูปเหล่านั้นเสีย
ได้แล้ว มีความเข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้ เราเห็น...
[214] ภิกษุผู้มีความเข้าใจอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เขียว
มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีแสงเขียวเข้า เธอครอบงำรูปเหล่านั้น
เสียได้แล้ว มีความเข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้ เราเห็น. . .
[215] ภิกษุผู้มีความเข้าใจอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เหลือง
มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีแสงเหลืองเข้า เธอครอบงำรูปเหล่า

นั้นเสียได้แล้ว มีความเข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้ เราเห็น . . .
[216] ภิกษุผู้มีความเข้าใจอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่แดง
มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีแสงแดงเข้า เธอครอบงำรูปเหล่านั้น
เสียได้แล้ว มีความเข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้ เราเห็น . . .
[217] ภิกษุผู้มีความเข้าใจอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ขาว
สีขาว เปรียบด้วยของชาว มีแสงขาวเข้า เธอครอบงำรูปเหล่านั้นเสีย
ได้แล้ว มีความเข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้ เราเห็น . . . ภิกษุผู้มีรูป ย่อม
เห็นรูปทั้งหลาย . . .
[218] ภิกษุผู้มีความเข้าใจอรูปภายใน ย่อมเห็นรูปภายนอก
... ภิกษุย่อมเป็นผู้น้อมใจไปว่างามเท่านั้น...
[219] ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยมนสิการว่า
อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับ
ปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่ใส่ใจซึ่งสัญญาต่าง ๆ อยู่. . . .
[220] ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
แล้ว ได้บรรลุวิญญาณัญจาตนฌาน โดยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด. . .
[221] ภิกษุก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง
แล้ว ได้บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยมนสิการว่า สิ่งอะไรไม่มี. . .
[222] ภิกษุก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง
แล้ว ได้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน...
[223] ภิกษุก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญายตนฌาน โดยประการ
ทั้งปวงแล้ว ได้บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ . . .

[224] ดูก่อนทั้งหลาย ถ้าภิกษุเจริญปฐวีกสิณแม้ชั่วกาลเพียง
ลัดนิ้วมือไซร้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่าอยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของ
พระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่าก็จะ
ป่วยกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มากซึ่งปฐวีกสิณนั้นเล่า ถ้าภิกษุเจริญ
อาโปกสิณ . . . เจริญเตโชกสิณ . . . เจริญวาโยกสิณ. . . เจริญนีลกสิณ.. .
เจริญปีตกสิณ. . . เจริญโลหิตกสิณ. . . เจริญโอทาตกสิณ. . . เจริญ
อากาสกสิณ. . . เจริญวิญาณกสิณ. . . เจริญอสุภสัญญา. . เจริญมรณ-
สัญญา. . . เจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา. . . เจริญสัพพโลเกอนภิรตสัญญา. . .
เจริญอนิจจสัญญา . . . เจริญอนิจเจทุกขสัญญา... เจริญทุกเธอนัตตสัญญา...
เจริญปหานสัญญา. . . เจริญวิราคสัญญา . . . เจริญนิโรธสัญญา . . เจริญ
อนิจจสัญญา. . .เจริญอนัตตสัญญา. . . เจริญมรณสัญญา . . .เจริญอาหาเร-
ปฏิกูลสัญญา... เจริญสัพพโลเกอนภิรตสัญญา. . . เจริญอัฏฐิกสัญญา. . .
เจริญปุฬุวกสัญญา. . . เจริญวินีลกสัญญา . . . เจริญวิจฉิททกสัญญ. . .
เจริญอุทธุมาตกสัญญา . . . เจริญพุทธานุสสติ . . . เจริญธัมมานุสสติ . . .
เจริญสังฆานุสสติ . . . เจริญอานาปานสติ . . . เจริญมรณสติ . . . เจริญ
เทวตานุสสติ. . . เจริญอานาปานสติ . . . เจริญมรณสคิ. . . เจริญกายคตาสติ
. . . เจริญอุปสมานุสสติ.. . เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วยปฐมฌาน. . .
เจริญวิริยินทรีย์. . .เจริญสตินทรีย์. . .เจริญสมาธินทรีย์. . . เจริญปัญญิน-
ทรีย์. . . เจริญสัทธาพละ . . . เจริญวิริยพละ . . . เจริญสติพละ. . . เจริญ
สมาธิพละ.. .. เจริญปัญญาพละ. . . เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วยทุติย-
ฌาน ฯลฯ เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วยตติยฌาน ฯลฯ เจริญสัทธิน-
ทรีย์อันสหรคตด้วยจตุตถฌาน ฯ ล ฯ เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วย

เมตตา ฯลฯ เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วยกรุณา ฯลฯ เจริญสัทธิน-
ทรีย์อันสรหคตด้วยมุทิตา ฯลฯ เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วยอุเบกขา
. . . จริญวิริยินทรีย์. . . เจริญสตินทรีย์. . . เจริญสมาธินทรีย์ . . . เจริญ
ปัญญินทรีย์. . . เจริญสัทธาพละ. . . เจริญวิริยพละ. . . เจริญสติพละ. . .
เจริญสนมธิพละ. . . เจริญปัญญาพละ แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือไซร้
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา
ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า จะป่วย
กล่าวไปไยถึงผู้การทำให้มาก ซึ่งปัญญาพละอันสหรคตด้วยอุเบกขาเล่า.

ว่าด้วยอานิสงส์การเจริญกายคตาสติ



[225] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นไป
ในส่วนวิชชา ย่อมหยั่งลงในภายในของภิกษุนั้น เปรียบเหมือนมหา-
สมุทรอันผู้ใดผู้หนึ่งถูกต้องด้วยใจแล้ว แม่น้ำน้อยสายใดสายหนึ่งซึ่งไหล
ไปสู่สมุทร ย่อมหยั่งลงในภายในของผู้นั้นฉะนั้น.
[226] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งซึ่งบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อความสังเวชใหญ่ เป็นไปเพื่อประโยชน์
ใหญ่ เป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่ เป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ
เป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นไปเพื่อ
ทำให้แจ้งซึ่งผล คือวิชชาและวิมุตติ ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือกาย-
คตาสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลอบรมแล้ว กระทำ
ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
ใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อสติและ